คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

กระสวน ต่อสู้ จากดินแดง ถึงนางเลิ้ง แตกกิ่ง สาขา

คําประกาศเปลี่ยนชื่อ “แยกนางเลิ้ง” ให้มี คำว่า “ดินแดง” เพิ่มเข้ามา น่าศึกษา

แม้ว่าอักษรสีแดงเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า “ดินแดง” จะโยกเยกโย้เย้เป็นลายมือของเด็กๆ แต่ก็ทรงความหมายอย่างแหลมคมยิ่งในทางการเมือง

เพราะเท่ากับ “แยกนางเลิ้ง” คือสาขาของ “ดินแดง”

คำถามก็คือ แล้วปัจจัยอะไรในทางการเมืองจากการเคลื่อนไหวในพื้นที่สามเหลี่ยม “ดินแดง” ติดกับกรมทหารราบที่ 1 จึงได้กลายเป็นความบันดาลใจ

คำตอบย่อมอยู่ที่การยืนหยัดและต่อสู้

ไม่เพียงแต่เยาวรุ่นที่ “นางเลิ้ง” หาก นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก็เคยสรุปอย่างรวบรัด








Advertisement

ในฐานะนักเคลื่อนไหวที่มีประสบการณ์ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ไม่เห็นด้วยกับวิธีการที่เหลื่อมซ้อนกับ “ความรุนแรง”

แต่ก็ประทับใจเป็นอย่างสูงในรากฐานการ เกิดขึ้น

เพราะการเคลื่อนไหวที่ “ดินแดง” ไม่ปรากฏว่าใครเป็น “แกนนำ” นำการต่อสู้ ไม่เคยมีการนัดหมายอย่างเป็นทางการ แต่ทุกๆ เย็นพวกเขาก็ไปรวมตัวกันโดยอัตโนมัติ

ตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม กระทั่งปลายเดือนกันยายน

แท้จริงแล้ว การแปร “แยกนางเลิ้ง” ให้มีสภาพเหมือนกับ “ดินแดง” มิได้เหนือความคาดหมาย

เพราะจากการเข้มแข็งดุดันของ “หน่วยควบคุม ฝูงชน” ทำให้มวลชนกระจายออกไปยังอนุสาวรีย์ชัย สมรภูมิ และราชปรารภ รวมถึงซอกซอยต่างๆ ในดินแดง

ความเข้มแข็งดุดันนี้สัมผัสจากปฏิบัติการที่ “นางเลิ้ง”ด้วย

ระยะแรกๆ การเคลื่อนไหวของ “ทะลุฟ้า” ก็ยังมิได้ติดใจอะไรมากนัก แต่เมื่อมาคราใดก็ดุดันครานั้นในที่สุดพวกเขาก็ก่อรูปความคิดเหมือน “ดินแดง”

ท่าทีของ “ควบคุมฝูงชน” นั้นเอง คือ “คำตอบ”

รูปการเคลื่อนไหวของ “ดินแดง” และ “นางเลิ้ง” มิใช่เพิ่งเกิดขึ้น หากแต่เป็นพัฒนาการ

หากดูจากรูปการพัฒนาของ “เยาวชนปลดแอก” มาเป็น “รีเดม” ก็จะได้คำอธิบาย เพราะในที่สุดนี่คือการเคลื่อนไหวที่ไม่มีแกนนำ ไม่มีการปราศรัย

เป้าหมายเพื่อ “ป่วน” และ “กวน” แล้วก็หลบหนีไปเท่านั้น

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน