จักรวาลทัศน์ฝ่ายเถรวาท (ไทย) – เมื่อกล่าวถึงสัญลักษณ์ของจักรวาลวิทยาของนิกายตันตระยาน กับสัญลักษณ์ของจักรวาลทัศน์ ฝ่ายเถรวาท ก็ดูจะเป็นเรื่องเดียวกัน มีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดยเฉพาะคือในส่วนของฐานแห่งศูนย์กลางของจักรวาลที่ตันตระยานแสดงระดับของฐานเป็นที่อยู่ของสัตว์หรืออมนุษย์ เป็น 4 ชั้น (ที่กล่าวแล้ว) ส่วนเถรวาทไทยแสดงระดับของฐานเป็นที่อยู่ของสัตว์หรืออมนุษย์ในแดนหิมพานต์ และให้อมนุษย์สำคัญคือ พวกอสูรอยู่ใต้ศูนย์กลางของจักรวาล

รูปแบบของจักรวาลวิทยาและจักรวาลทัศน์ทางสถาปัตยกรรมก็มีลักษณะคล้ายกัน

รูปแบบซองหรือป้อมของตันตระยานในภูฏาน ก็ปรากฏกำแพง 4 เหลี่ยมใหญ่ล้อมรอบเปรียบดั่งกำแพงจักรวาล ภายในศูนย์กลางก็คือเขาพระสุเมรุที่สูงตระหง่าน ทางเข้าของซองก็จะปรากฏเหล่ารักษาโลกคือท้าวกุเวร วิรุณปักษ์ พระยม และท้าวทฏรฐ

เช่นเดียวกับสถาปัตยกรรมที่เรียกว่า วัดมหาธาตุในเมืองหลักของไทยที่มีกำแพงแก้วล้อมสี่ทิศ เป็นดั่งกำแพงจักรวาล มีพระวิหารหลวงขนาดใหญ่เปรียบดั่งเขาพระสุเมรุ มีพระอุโบสถอยู่ด้านทิศใต้เปรียบดั่งแผ่นดินชมพูทวีป อันมีทั้งสุข ทุกข์ ของมนุษย์ในแดนนั้น อันจะเป็นสถานที่ที่จะมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติขึ้น

ข้อสังเกตงานสถาปัตยกรรมที่ไม่ใช่งานทางศาสนาของประเทศไทยที่เอาคติของจักรวาลวิทยามาประกอบก็คือ อาคารรัฐสภาที่กำหนดรูปแบบของห้องประชุมรัฐสภา โดยกำหนดให้ห้องประชุมฝ่ายสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์ ใช้ชื่อว่า ห้องประชุมสุริยันและห้องประชุมฝ่ายวุฒิสมาชิกเป็นสัญลักษณ์ของพระจันทร์หรือว่า ห้องประชุมจันทรา มีอาคารทรงแปลกที่เรียกว่า สัปปายคารทรงสถูปเป็นดั่งเขาพระสุเมรุ

เป็นศูนย์กลาง เป็นการยืนยันของความเชื่อในทาง จักรวาลทางพุทธศาสนามาแสดงออกเป็น รูปธรรมทางสถาปัตยกรรม

ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน