ได้รับความนิยมสูง‘เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่แจ้ง-วัดประดู่’‘เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน’คกก.วัดดอนยายหอม-สร้าง“ถ้าหากว่า ในขณะใดที่เขามีใจเหนื่อยหน่ายท้อแท้ไม่เอาไหน ขี้เกียจศึกษาเล่าเรียน ประโยชน์ตนก็ไม่เอาเรื่อง ประโยชน์ส่วนรวมก็ไม่เอาไหน ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามบุญตามกรรม ใน ขณะนั้นกายของเขาเป็นมนุษย์ แต่ใจของเขาเป็นเปรต” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา

“หลวงปู่แจ้ง ปุณยจันโท” อดีตเจ้าอาวาสวัดประดู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม วัตถุมงคลเป็นเครื่องรางเสียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนเหรียญสร้างขึ้นก่อนปี พ.ศ.2500 โดยเหรียญรุ่นนี้ นับเป็นเหรียญรุ่นแรก เพราะช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่เคยมีการจัดสร้างแต่อย่างใด แต่ได้พระเกจิอาจารย์ที่ โด่งดังในสมัยนั้นร่วมปลุกเสกมากมาย สร้างด้วยเนื้อทองเหลืองเพียงอย่างเดียว

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่แบบมีหูในตัว ด้านหน้าเป็นรูปเหมือน มีอักขระภาษาไทยเขียนว่า หลวงพ่อแจ้ง วัดประดู่ ด้านหลังมีอักขระยันต์ บนสุดมีตัวอุณาโลม หลังจัดสร้างแล้วเสร็จ ปรากฏว่าได้รับความนิยม ถึงแม้จะเป็นเหรียญตายก็ตาม

“เหรียญหันข้างหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม” เป็นเหรียญยอดนิยมโดดเด่นเป็นที่รู้จัก จัดสร้างขึ้น พ.ศ.2513 ในวาระที่อายุครบ 80 ปี วันที่ 16 ก.ย.2513 โดยคณะกรรมการวัด ขออนุญาตจัดสร้างที่ระลึก เหรียญมีขนาดสูง 5 เซนติเมตร และกว้าง 3.5 เซนติเมตร กำหนดให้มีเอกลักษณ์ตรงที่รูปเหมือน จะไม่ใช่หน้าตรงเหมือนรุ่นก่อน แต่จะใช้รูปเหมือนหันข้างแทน

ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วง ด้านหน้าเหรียญตรงกลางเป็นรูปเหมือนหลวงพ่อเงินหันข้าง ขอบเหรียญใหญ่และหน้า มีตัวหนังสือคำว่า “หลวงพ่อเงิน ๘๐” อยู่ด้านล่าง ด้านบนมียันต์ขอมอ่านว่า “อะ สัง วิ สุ โร อุ สะ พุ ภะ” โดยนี่คือคาถามงคลเก้าที่ย่อเอามาแล้ว ด้านหลังเหรียญ จะมีชุดยันต์ “นะ ทรหด” อยู่ตรงกลาง ด้านล่างมีหนังสือแถวตรงว่า “พระราชธรรมาภรณ์” และล่างสุดเป็นหนังสือแถวโค้ง “๒๐ มีนาคม ๒๕๑๓” คือ วันที่ปลุกเสกเหรียญ ส่วนพื้นด้านหลังจะมีจุดไข่ปลาจำนวนมาก

“หลวงปู่ดูลย์ อตุโล” วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ พระวิปัสสนาจารย์ ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธา วัตถุมงคลที่สร้าง เป็นที่นิยมและแสวงหามาตั้งแต่อดีตเรื่อยมาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะ “เหรียญที่ระลึก 90 ปี หลวงปู่ดูลย์” จัดสร้างเมื่อปี 2520 ลักษณะเป็นเหรียญทองแดง รูปไข่ ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ดูลย์ครึ่งองค์ หันด้านข้าง เขียนข้อความด้านล่างว่า “พระรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)” ด้านหลังเหรียญ เป็นรูปเครื่องอัฐบริขารอยู่ตรงกลาง ด้านบนเขียนข้อความว่า “วัดบูรพาราม สุรินทร์” ด้านล่างเขียนว่า “ครบรอบ ๙๐ ปี” เหรียญรุ่นนี้ หลวงปู่ดูลย์จัดสร้างทั้งหมด 3 เนื้อ คือ เนื้อทองคำ, เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหา

พ.ศ.2555 พระราชสุทธิโสภณ (ประทวน ปภากโร) ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท (ปัจจุบัน เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดชัยนาท) และเจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท จัดสร้าง “เหรียญมหาปราบหลวงปู่ศุขรุ่นแรก” เพื่อแจกญาติโยมที่ร่วมงานทำบุญคล้ายวันมรณภาพหลวงปู่ศุข วันที่ 23 ธ.ค.2555

ลักษณะเหรียญรูปทรงคล้ายสมอเรือหรือน้ำเต้า มีหูห่วง จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน และเนื้อทองแดง ด้านหน้าเหรียญ มีขอบ ตรงกลางเป็นรูปนูนหลวงปู่ศุขยืนถือไม้เท้าอยู่กลางยันต์ 108 ด้านล่างมีรูปโบและอักษรไทย เขียนคำว่า “พระครูวิมลคุณากร (หลวงปู่ศุข) วัดปากคลองมะขามเฒ่า ๒๕๕๕”…l ด้านหลัง ตรงกลางมีอักขระขอมเป็นวงกลม มียันต์มหาปราบและหนุมาน 8 กร ปรากฏอยู่ รอบวงกลมยังมียันต์และอักขระขอมจำนวนมาก ใต้หูห่วงมีอักษรไทย เขียนคำว่า “มหาปราบ” จัดเป็นเหรียญยอดนิยมอีกเหรียญหนึ่งของชาวเมืองชัยนาท

“พระธัมมวิตักโกภิกขุ” หรือ “พระยานรรัตนราชมานิต” วงการพระเครื่องเรียกขานนามท่านด้วยความเคารพว่า “เจ้าคุณนรฯ” ท่านเป็นข้าราชสำนัก ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต จึงได้บวชถวายเป็นพระราชกุศลตลอดชีวิต สำหรับเหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรก สร้างขึ้นในงานทำบุญฉลองอายุครบ 70 ปี เมื่อปี พ.ศ.2510

ลักษณะเป็นเหรียญหลังเต่า มีหู ด้านหน้าเหรียญ เป็นรูปเหมือนท่านครึ่งองค์หันหน้าตรง มีเส้นขนแมวในหูเหรียญ ดวงตาคมชัด สันเหรียญมีร่องรอยการตัด ใต้รูปเหมือนเขียนคำว่า “ธมฺมวิตกฺโกภิกขุ ๗๐” ด้านหลังเหรียญ ไม่มีขอบ ตรงกลางเป็นยันต์คมชัด พบว่ามี 2 แบบคือ แบบบล็อกเคลื่อนกับบล็อกไม่เคลื่อน ปัจจุบัน เหรียญรูปเหมือนเจ้าคุณนรฯ รุ่นแรก เป็นที่ต้องการของ นักสะสมพระเครื่องอย่างมาก

“หลวงพ่อซวง อภโย” วัดชีปะขาว หรือวัดชีผ้าขาว ต.พระงาม อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี พระเกจิอาจารย์ ชื่อดัง ท่านสร้างวัตถุมงคลไว้หลายประเภท แต่ละประเภทมีจำนวนสร้างน้อย จึงค่อนข้างหายาก แต่ที่ถือว่าเป็นสุดยอด คือ “พระปรอท” ท่านจัดสร้างพระปรอท ประมาณปี พ.ศ.2498 ตามตำรับโบราณที่ศึกษามาและยังปลุกเสกเดี่ยวเพิ่มเติม จึงเข้มขลังทรงพุทธาคม

พระปรอท หลวงพ่อซวง มีขนาดเล็ก ลักษณะเหมือนกลีบบัวหรือหยดน้ำ มีพิมพ์เดียวเท่านั้น ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปในท่านั่งสมาธิเต็มองค์ เหนืออาสนะบัวคว่ำบัวหงาย ด้านหลังเรียบ ไม่มีอักขระใดๆ สร้างประมาณ 200 องค์เท่านั้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะอยู่กับผู้ที่ คุ้นเคย ญาติโยมละแวกวัดในกิจนิมนต์ต่างๆ ปัจจุบันพระปรอท วัดชีปะขาว ถือเป็นสุดยอดวัตถุมงคลที่หายาก

อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน