มข.ระดมนักวิจัยยกระดับโอท็อปอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) สถาบันแม่ข่ายดำเนินงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำโดยเจ้าหน้าที่ นักประสานงานความร่วมมืออุตสาหกรรม ลงพื้นที่ติดตามและประเมินผลโครงการ “การยกระดับคุณภาพ มาตรฐานและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ปลาส้ม ส้มปลาตองหรือส้มปลาตัวเพื่อการจำหน่ายเชิงพาณิชย์” ผลงานการวิจัยของ ผศ.คณิต วิชิตพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยี มข. หัวหน้าโครงการ และคณะ ในกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน (Tech transfer to community) โดยมีตัวแทนจากกลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น คณะผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม ที่สุขศาลาบ้าน หนองผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น

ผศ.คณิต หัวหน้าโครงการกล่าวว่า โครงการเริ่มต้นจากอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ได้สำรวจ ประเมินศักยภาพและความต้องการของชุมชน พบว่ากลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านผือ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ภูมิประเทศที่อยู่ติดกับเขื่อนอุบลรัตน์ ทำให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา และทำประมง น้ำจืด และประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ นอกฤดูกาลทำนา อาทิ การ ปลูกผัก การทอผ้า และการรับจ้างทั่วไป

โดยสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ชุมชน (โอท็อป) ที่เป็นที่รู้จักและมีวางขายในท้องถิ่นและชุมชน ใกล้เคียง คือ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาน้ำจืด ที่สำคัญได้แก่ ปลาส้มส้มปลาตอง ส้มปลาตัว และปลาตากแห้ง

จากการสำรวจข้อมูลสถานภาพและศักยภาพของชุมชน ตลอดจนความต้องการในการพัฒนาภายใต้โครงการจ้างงานประชาชนที่ ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะที่ 2 โดยการดำเนินงานของคณะเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบประเด็นปัญหาที่สำคัญในการพัฒนาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของชุมชนคือ ยังขาดองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ เหมาะสมในการผลิตสินค้า การควบคุมคุณภาพ มาตรฐาน และ ความปลอดภัยของสินค้า ขาดองค์ความรู้ในการออกแบบและพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมทั้งแนวทางในการจำหน่ายและการขยายช่องทาง การตลาด

ด้วยข้อมูลดังกล่าว อุทยานวิทยาศาสตร์ฯ จึงเชื่อมโยงมายัง คณะเทคโนโลยี ซึ่งนักวิจัยมีความรู้และประสบการณ์ในการทำงานวิจัยด้านปลาส้มมาร่วมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี นอกจากนี้ ยังมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ด้านการพัฒนาและออกแบบ บรรจุภัณฑ์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดจากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มาร่วมเป็นทีมในการถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์ ให้กับชุมชนเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสินค้าในชุมชนต่อไป








Advertisement

ทั้งนี้ กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยี สู่ชุมชน เป็นกิจกรรมในแผนงานการส่งเสริมการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจท้องถิ่นในภูมิภาคด้วยองค์ความรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม โดยกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ผ่านกลไกการดำเนินงานของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

“มุ่งยกระดับผู้ประกอบการในภูมิภาค ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรค โควิด-19 นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมฐานนวัตกรรมของประเทศไทย ต่อไป”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน