ฉะเชิงเทรา – สมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ธนาคารน้ำใต้ดิน หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า” อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เป็นโมเดลความสำเร็จของการบริหารจัดการน้ำเกิดจากแนวความคิดของกลุ่มเกษตรกร ต้องการแก้ปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นรูปธรรม จากโจทย์สำคัญที่ต้องซื้อน้ำมาใช้ในกระบวนการเลี้ยงหมูเป็นอาชีพหลักของเกษตรกรในหมู่บ้านและยังจำเป็นต่อการปลูกพืชที่เป็นอาชีพเสริม รวมถึงใช้ในการอุปโภคบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาหมู่บ้านประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง กระทบต่อรายได้ของเกษตรกร ระดมความคิดเสาะหาวิธีที่จะกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเลี้ยงสุกร ปลูกพืช ให้ได้ตลอดทั้งปี จึงเป็นแนวคิดการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ตามหลักของสถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ นำโดยหลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ตั้งแต่ปี 2564

ด้านนายภักดี ไทยสยาม ประธานกรรมการ บริษัท หมู่บ้านเกษตรกรรมหนองหว้า จำกัด เผยถึงธนาคารน้ำใต้ดิน จากบ่อที่ประดิษฐ์ขึ้นมา ทำเป็นรูปแบบนวัตกรรมทางธรรมชาติ หลักการการนำน้ำฝนลงไปเก็บไว้ที่ใต้ดิน จัดการน้ำที่ไหลอยู่บนผิวดินให้ลงไปเก็บไว้ใต้ดิน เชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายธนาคารน้ำ ร่วมกับแหล่งน้ำที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ วิธีทำที่ง่ายไม่ชับซ้อน นำความรู้พื้นฐานการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ ธรณีวิทยา สังคม ชุมชน ธรรมชาติ ทิศทางการไหลของน้ำ การหมุนของโลก ถอดเป็นบทเรียนและประยุกต์เป็นระบบธนาคารน้ำใต้ดิน ทั้งระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิดและแบบเปิด

สำหรับระบบธนาคารน้ำใต้ดินแบบปิด ด้วยระบบปิดคลองระบายน้ำไร้ท่อ ใช้แก้ไขปัญหาการระบายน้ำ น้ำเน่า เสียทั้งในครัวเรือน พื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะแก้ปัญหาน้ำท่วมขังบริเวณไหล่ถนน ถนนไม่ทรุด ทำให้ถนนกว้างขึ้นประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น ลดการไหลบ่าของน้ำ จัดทำในจุดพื้นที่น้ำขัง และริมถนนในโครงการ วิธีนี้จะไม่สามารถนำน้ำขึ้นมาใช้ได้โดยตรง แต่เป็นวิธีการเก็บน้ำลงสู่ใต้ดิน ชาวชุมชนช่วยกันขุดบ่อและรางระบายน้ำในชั้นดินอ่อน ระดับ 1.5-3 เมตร แต่ไม่ถึงชั้นดินเหนียว นำยางรถยนต์ ขวดน้ำ วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ เติมลงไปในพื้นที่บ่อและรางระบายน้ำ ป้องกันขอบบ่อพังทลาย ติดตั้งท่อ PVC เป็นท่อระบายอากาศ เติมหินลงไปจนกว่าจะเต็มบ่อเหลือไว้ 30 เซนติเมตร ปูด้วยผ้าไนลอน นำหินกรวดขนาดเล็กมาเทปิดทับด้านบนให้เต็ม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน