วันที่ 13 พ.ย. นายวันชัย สอนศิริ ส.ว. โพสต์ข้อความ “เมื่อส.ส.ถูกแย่ง ส.ว.ก็ถูกแบ่ง” ระบุ การเมืองเป็นโค้งสุดท้าย ใครจะอยู่พรรคไหน ใครจะเป็นฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต้องเก็งสถานการณ์ ประเมินเสียง ประเมินกำลังกันให้ดี ที่เห็นคนนั้นจะเข้าพรรคนั้นพรรคนี้ถึงเวลาจริงๆ อาจไม่ใช่ ประเภทซุ่มเงียบและรอเสียบตอนท้ายยัง มีอีกมาก รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดว่ารัฐบาลจะ อยู่ได้หรือไม่ได้อยู่ที่เสียงของส.ส.เกินครึ่งของสภา ผู้แทนฯเป็นสำคัญ การย้ายพรรคจึงเป็นเรื่องของการ จัดทัพ การจะดำรงอยู่เมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้วเท่านั้น

การจะเข้าเป็นนายกฯ และเป็นรัฐบาลได้ต้องใช้ เสียงของทั้ง ส.ส.และ ส.ว.เกินครึ่งของรัฐสภาคือ 375 เสียงขึ้นไป ปรากฏการณ์ส.ส.ย้ายพรรคจึงเป็นภาพลวงตาในเบื้องต้น แต่ฉากหลังการจะเป็นรัฐบาลได้ส.ว. 250 เสียงยังมีส่วนสำคัญในการโหวตนายกฯ เมื่อส.ส. ถูกแย่งแบ่งพรรค วันนั้นส.ว.จะไม่ถูกแบ่งหรือ และการโหวตนายกฯคราวหน้าคงไม่เหมือนครั้งที่ผ่านมา ความเป็นปึกแผ่นแน่นหนา พลังบารมีของผู้มีอำนาจแต่ ละคนก็ไม่เหมือนเก่า ที่มาที่ไปของ ส.ว.แต่ละคนก็ ไม่เหมือนกัน

ส.ส.กำลังย้ายพรรคกันอยู่ขณะนี้ ส่วนใหญ่เป็น ส.ส.ในพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน แม้มีพรรคใหม่อย่างรวมไทยสร้างชาติก็หน้าเก่าเหล้าขวดเดียวกัน ที่จะหนักหนาสาหัสก็ประชาธิปัตย์ ที่พองโตก็ภูมิใจไทย ไหลไป ไหลมาก็พวกเดียวกัน จะทำให้พลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์และรวมไทยสร้างชาติ แบ่งกัน แยกกันแล้วเล็กลง ไม่มีพลังเหมือนเก่า ยิ่งผู้มีอำนาจแตกกันแล้วแยกกันเดินจริงๆ ตามข่าวยิ่งจะไปกันใหญ่ เมื่อส.ส.ถูกแย่ง ส.ว.ก็คงถูกแบ่ง ส่วนใครจะได้เป็นรัฐบาลจริงหรือไม่ คงไม่ได้อยู่ที่บารมีหรืออำนาจใครมากกว่าใคร เพราะอำนาจวันนั้นเกิดขึ้นจากการโหวตของประชาชน และส.ว.คงต้องฟังเสียงประชาชนเป็นสำคัญ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน