สนิทตูบ

เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.ราชนา เรดดี จากมหาวิทยาลัยดุ๊ก สหรัฐอเมริกา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเด็กก่อนวัยเรียนกับสุนัข โดยให้เด็กแต่ละคนจากกลุ่มเด็กที่ร่วมวิจัย 97 คน อายุระหว่าง 2-3 ขวบ เข้าไปในห้องที่มีสุนัขอยู่ในคอกกั้นแบ่งส่วนเล่น จากนั้นเฝ้าดูพฤติกรรมของเด็กว่าจะทำอย่างไรเมื่อสุนัขไม่แสดงปฏิกิริยาว่าต้องการของเล่นหรือขนม อาทิ สุนัขพยายามดันคอกกั้นเพื่อออกมาหยิบของเล่นหรือของกิน สุนัขส่งเสียงร้องหงิงๆ หรือทำท่าทางขุดพื้นหวังจะออกจากคอกกั้น

ปรากฏว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบซ้ำ 236 ครั้ง เด็กๆ เลือกที่จะช่วยเหลือหยิบสิ่งของให้สุนัข และเมื่อสุนัขไม่แสดงท่าทีอยากได้ของเล่น-ของกิน มีเด็กร้อยละ 26 ที่เลือกจะหยิบยื่นสิ่งของให้สุนัขก่อน

ขณะที่การทดสอบอีกรอบซึ่งเด็กๆ จะอยู่ในห้องกับผู้ปกครองที่กำลังยุ่งกับการอ่านหนังสือหรือคุยโทรศัพท์ จากนั้นเจ้าหน้าที่จะแกล้งทำของเล่นหรือของกินสำหรับสุนัขหล่นพื้นใกล้ๆ เด็กก่อนเดินออกจากห้อง และแอบดูท่าทีตอบสนองของเด็กว่าจะทำอย่างไรกับของที่หล่น พบว่าเด็กที่มีสุนัขในบ้าน หยิบสิ่งของให้สุนัขในห้องมากถึงร้อยละ 60 เทียบกับร้อยละ 40 ของเด็กที่บ้านไม่ได้เลี้ยงสุนัข แต่ก็หยิบของดังกล่าวให้สุนัขในห้อง

ผู้เชี่ยวชาญอธิบายว่านิสัยการช่วยเหลือเผื่อแผ่ ผู้อื่นเป็นสิ่งที่มนุษย์มีติดตัวมาตั้งแต่อายุยังน้อยมากๆ และการแสดงออกในลักษณะเดียวกันกับสุนัขยิ่งตอกย้ำท่าทางดีใจของเด็กส่วนใหญ่เวลาเห็นสุนัข ครั้งแรก รวมถึงคำกล่าวที่ว่าสุนัขเป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสุนัขที่มีมาอย่างยาวนานหลายพันปีได้เป็น อย่างดีด้วย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน