หน้าจอโยงโอซีดี

เจ๊าะแจ๊ะวิทยาศาสตร์

ดร.เจสัน นากาตา หัวหน้าคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก ในสหรัฐอเมริกา ศึกษาผลกระทบของพฤติกรรมติดวิดีโอเกมหรือติดรายการโทรทัศน์ของเด็กในวัยประถมศึกษา อายุ 9-10 ขวบ จำนวน 9,204 คน โดยสอบถามเด็กแต่ละคนว่าใช้เวลาเล่นวิดีโอเกมหรือดูโทรทัศน์วันละกี่ชั่วโมง พบว่าเด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาหน้าจอเกือบ 4 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาเรียนคอมพิวเตอร์หรือวิชาที่ต้องใช้อุปกรณ์หน้าจอ

จากนั้น 2 ปีต่อมาสอบถามผู้ปกครองของเด็กๆ ที่ร่วมการวิจัยเพื่อตรวจ สอบว่ามีเด็กกี่คนที่ถูกวินิจฉัยว่าเป็น “โรคย้ำคิดย้ำทำ” (โอซีดี-Obsessive Compulsive Disorder) โรคของคนที่มีความกังวล และความไม่มั่นใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นผลให้ต้องทำกิจกรรมนั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมา หรือมีภาวะเสี่ยงเป็นโอซีดี พบว่าเด็กที่เข้าข่ายป่วยเป็นโอซีดีมี 405 คน คิดเป็นร้อยละ 4.4 โดยเด็กกลุ่มนี้มีพฤติกรรมเล่นวิดีโอเกมหรือดูโทรทัศน์มากกว่าเพื่อนๆ ที่ร่วมวิจัย บ่งชี้ได้ว่าการเสพติดอุปกรณ์หน้าจอเพิ่มความเสี่ยงให้เด็กมีภาวะโอซีดี แม้อุปกรณ์หน้าจอจะมีประโยชน์ในด้านการศึกษา แต่การใช้งานมากและบ่อยเกินไป ส่งผลให้เด็กเสพติดโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถควบคุมการใช้งานได้นั่นเอง

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน