ยุบสภาเมื่อไหร่ยังไม่ชัด แต่วันเลือกตั้งชัดแล้ว

เป็นวันอาทิตย์ที่ 7 พ.ค. 2566 ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเปิดเผยต่อสื่อมวลชนหลังเสร็จสิ้นการประชุม ครม.วันอังคารที่ผ่านมา

ในที่ประชุม ครม. นายวิษณุ เครืองาม รองนายกฯ ฝ่ายเนติบริกร ชี้แจงไทม์ไลน์การเลือกตั้ง และการเป็นรัฐบาลรักษาการว่า อะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้บ้าง ตามที่กำหนดในรัฐธรรมนูญมาตรา 169

ยกตัวอย่าง เช่น ยังสามารถแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการได้ แต่ต้องขอความเห็นจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.

เงินเพิ่มเติมช่วยเหลือโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังทำได้หากอนุมัติวงเงินงบประมาณก่อนวันยุบสภา

แต่จะอนุมัติโครงการใดที่ก่อให้ เกิดผลผูกพันต่อรัฐบาลหน้าไม่ได้ เว้นแต่อยู่ในรายการงบประมาณ ซึ่งก็ต้องไปดูว่าเรื่องอะไรบ้างอยู่ในรายการงบประมาณ

ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ แจ้งต่อที่ประชุม ครม.แค่คร่าวๆ ว่า กำหนดยุบสภาจะมีขึ้นภายในเดือนหน้า มี.ค.

หากนับจากวันนี้อีก 5-6 วันก็จะเข้าสู่เดือนมี.ค. ส่วนวัน ว. เวลา น. แบบเป๊ะๆ นายกฯ ไม่ได้ยืนยัน แค่แย้มว่าน่าจะอยู่ราวต้นเดือนมี.ค.








Advertisement

เพื่อให้กรอบเวลาการเลือกตั้งเป็นไปตามที่ กกต.ประกาศเบื้องต้นตรงกับวันอาทิตย์ 7 พ.ค.

อ้างจากคำให้สัมภาษณ์ของนายวิษณุ ก่อนหน้านี้ การยุบสภาจะไม่เกิดขึ้นปุบปับเดือนก.พ.นี้แน่นอน เนื่องจาก กกต.ยัง แบ่งเขตไม่เสร็จเรียบร้อย ทั้งยังต้องให้เวลาพรรคการเมืองทำไพรมารีโหวต

โดยเฉพาะพรรคขนาดเล็กที่ไม่รู้ จะทำอย่างไร หากแบ่งเขตยังไม่แล้วเสร็จ แตกต่างจากพรรคขนาดใหญ่ที่มีประสบการณ์มาตั้งแต่ปี 2562 รวมไปถึงการตั้งสาขาพรรค

ดังนั้น หากจะให้ความสะดวกกับพรรคขนาดเล็กต้องเว้นช่องให้ตั้งหลักเตรียมตัว 1-2 สัปดาห์ก่อนยุบสภา แต่หากไม่เห็นแก่พรรคเล็กจะยุบสภา วันที่ 1 มี.ค.นี้เลยก็ทำได้ เพราะถึงอย่างไรพรรคใหญ่ก็ได้เปรียบ

แต่หลายคนเชื่อว่าพล.อ.ประยุทธ์ ที่เคยติดหนี้บุญคุณพรรคเล็กไว้ในการ จัดตั้งรัฐบาลปี 62 คงไม่ใจไม้ไส้ระกำ กับพรรคเล็กเหล่านั้น

สรุปเบื้องต้นก็คือ 7 พ.ค. เป็นวันถูกโฉลกกับการเลือกตั้งเหมือนที่นายวิษณุ เคยพูดไว้ ส่วนวันยุบสภาแล้วถูกโฉลกกับพรรคการเมือง โดยเฉพาะพรรค ขนาดเล็ก ประเมินกันว่า

วันที่ 8-10 มี.ค. น่าจะเข้าล็อกมากที่สุด

มันฯ มือเสือ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน