นายนิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ พร้อมทั้งคณะทำงาน จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ประชุมหารือกับสภาวิศวกร เพื่อยกร่างการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ต่อเนื่อง 5 ปี) พ.ศ.2567 ให้สอดคล้อง เชื่อมโยงกับแนวทางการรับรองหลักสูตรของสภาวิศวกร เป็นการเฉพาะภายใต้โครงการพัฒนา “นักวิศวกรรมปฏิบัติการ” ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.)

นายนิติเปิดเผยว่า ตามที่ ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้นำคณะผู้บริหารจากประเทศไทย เข้าพบผู้บริหารสถาบันเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ National Institute of Technology : NIT (KOSEN) ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13-17 มิ.ย.2566 นั้น เพื่อขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องในการผลิตและกำลังคนอาชีวะสมรรถนะสูง ให้เป็น “นักวิศวกรรมปฏิบัติการ” ที่มีศักยภาพในการพัฒนาและเพิ่มผลิตภาพในงานอุตสาหกรรมที่ ใช้นวัตกรรมขั้นสูง สำหรับอุตสาหกรรม New growth Engine ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และมีศักยภาพในการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

สอศ.นี้จึงได้นำบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จากสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ (สมอ.) ประชุมกับสภาวิศวกร ประกอบด้วย รศ.ดร.ปิยะบุตร วานิชพงษ์พันธุ์ นายกสภาวิศวกร, นายกิตติพงษ์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์ อุปนายก, ผศ.พิศิษฐ์ แสง-ชูโต เลขาธิการ, รศ.ดร.สุธา ขาวเธียร เหรัญญิก และรับผิดขอบงานด้านการศึกษา ดร.ณรงค์ ทัศนนิพันธ์ กรรมการสภาวิศกร

นายกิตติพงษ์ อุปนายกสภาวิศวกร กล่าวว่า สภาวิศวกรยินดีสนับสนุน สอศ.ในการขับเคลื่อนการผลิต “นักวิศวกรรมปฏิบัติการ” หรือ “ผู้ช่วยวิศวกร” แต่ด้วยขอจำกัดของข้อกฎหมายใน พ.ร.ฐ.ที่กำหนดให้การออกใบประกอบวิชาชีพวิศวกร ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่อาจต้องใช้ช่องทางอื่น อาทิ การแก้ไขกฎระเบียบการออกใบอนุญาตประเภทภาคีพิเศษ ซึ่งทำได้ง่ายกว่าการแก้ไขกฎหมาย ซึ่งคงต้องร่วมกันวิเคราะห์เพื่อหาทางออกต่อไป

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน