นโยบายของ 8 พรรคร่วมตั้งรัฐบาลหากบูรณาการร่วมกันได้จะลดความสำคัญของนโยบายระดับกระทรวง ที่ผ่านมาจะจัดสรรปันส่วนระดับรัฐมนตรี เช่น พรรค ก. ได้กระทรวงนี้ เป็นหน้าที่ของพรรค ก. ที่จะร่างนโยบายของกระทรวงนี้ ใครจองตรงไหนก็ทำตามหน้าที่ของตัวเอง แต่หากเกิดปัญหาไปสะดุดนู้นสะดุดนี้ไม่กลมเกลียวกันในคณะรัฐมนตรีจะขยับยาก

ตอนนี้ไม่ต้องไปคุยว่าใครจะไปอยู่กระทรวงไหน แต่ให้ไปคุยกันให้จบระหว่างพรรคก่อน ฟอร์มเป็นทีมรัฐบาลชุดใหม่ จะทำให้ ราบรื่นขึ้นในอนาคต

ทั้ง 8 พรรคควรทำงานเป็นทีม ขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน จะต้องมีคำหลักที่ใช้กับทุกกระทรวง คือ across the board คุยให้ชัดเจนก่อนที่จะแบ่งเค้ก นโยบายเห็นพ้องต้องกัน ใครจะขับเคลื่อนนโยบายนี้ คนที่เหมาะกับกระทรวงนั้นๆ ก็มาบวกคะแนน คิดสะระตะ เช่น หากใครมาดูกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่ดูเรื่องกระจายอำนาจอย่างเดียว ต้องกางดูว่าต้องทำอะไรบ้าง อาจมีเจ้ากระทรวง และมีผู้ช่วยเพื่อมาเสริมกัน หรือเป็นทีมย่อยลงไปอีก จะเกิดความกลมเกลียวกันในระดับกระทรวงอีก

ทั้ง 8 พรรคควรทำงานเป็นทีม ขับเคลื่อนไปในแนวทางเดียวกัน จะต้องมีคำหลักที่ใช้กับทุกกระทรวง คือ across the board คุยให้ชัดเจนก่อนที่จะแบ่งเค้ก

ที่ผ่านมาเห็นเจ้ากระทรวงกับรัฐมนตรีช่วยมีการแบ่งงานไม่เหมาะกับคนเท่าที่ควร หมายความว่า รัฐมนตรีเอาชิ้นปลามันไป คนที่เป็นรัฐมนตรีช่วยก็อึ้งๆ ไป ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ หลักการสร้างทีม สร้างทิศทาง สร้างนโยบายร่วมที่ใช้ได้ในหลายๆ กระทรวง ใครเหมาะสมกับใคร หากเป็นกระทรวงใหญ่ควรมีทีมย่อม

เชื่อว่า 8 พรรคกำลังคุยกันอยู่ และอยากให้ทำอย่างต่อเนื่อง ทำการบ้านหนักๆ ศึกษานโยบายเจาะลึกในรายละเอียดให้มากขึ้น เพื่อเตรียมแผนบริหารจัดการ แน่นอนว่านอกจากต้องเลือกคนที่มีประสบการณ์ มีวิสัยทัศน์แล้ว เราต้องเลือกคนที่มีจิตอาสา อยากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มาด้วยความตั้งใจ จิตมุ่งมั่น เปิดหูเปิดตาให้กว้าง แต่ละทีมต้องมีฝ่ายหนุนกับฝ่ายค้านในทีมเดียวกัน

หากทั้ง 8 พรรคนี้ทำสำเร็จ อย่าลืมว่าต้องมีอุปสรรค คำว่า ขันติ อดทน เพียรพยายาม เปิดกว้าง ยอมให้มีความยืดหยุ่นด้วย

ขอเป็นกำลังใจให้รัฐบาลชุดใหม่ และใช้หลัก โยนิโสมนสิการ คือ การคิดอย่างแยบยล และอุปายะ คือ มีอุบายที่ชาญฉลาด จะช่วยหลบหลีกอุปสรรคไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ








Advertisement

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน