ด้วยเล็งเห็นพลังของคนรุ่นใหม่ คิทแคท จัด “KITKASE Challenge 2023 by KitKat” เปิดโอกาสให้นิสิตและนักศึกษารวมพลังระเบิดไอเดียสร้างสรรค์ ออกแบบซองบรรจุภัณฑ์คิทแคท รับเงินรางวัลรวมกว่า 180,000 บาท โดยทีมผู้ชนะจะได้รับโอกาสเข้าร่วมโปรแกรม Nesternship ส่วนหนึ่งของโครงการ “Nestle needs YOUth” ที่สนับสนุนและเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่มีโอกาสในการทำงาน รวมทั้งเตรียมความพร้อมกลุ่มเยาวชนให้มีทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน

ทีม Calico cat นิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ ประกอบด้วย น.ส.สุพิชฌาย์ ตันกันยา น.ส.อตินุช มนัสศิริเพ็ญ และ น.ส.อันดา ปัญญามี รองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ได้แก่ ทีม Triple Smash จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และรองชนะเลิศ อันดับสอง ทีม NMB35 จากมหาวิทยาลัยรังสิต

น.ส.สุพิชฌาย์ ตันกายา ตัวแทนจากทีม Calico Cat นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการโฆษณาและการสื่อสารตราสินค้า คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมผู้ชนะ กล่าวว่าได้รับประสบการณ์ที่ดี นำความรู้ด้านการทำแผนการตลาดที่เรียนจากใน ห้องเรียนและความรู้ด้านการออกแบบทำกราฟิกมาคิด วางแผน และบูรณาการออกมาเป็นแคมเปญใหญ่ เห็นถึงความสำคัญของการทำงานแบบทีมเวิร์กเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตาม ที่ตั้งใจไว้ รวมทั้งได้รับคำแนะนำจากมืออาชีพที่สะท้อนหลักการทำงานในชีวิตจริงและโลกการทำงานเพื่อนำไปปรับใช้สำหรับการทำงาน ในอนาคต

รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง ทีม Triple Smash จากคณะมัณฑนศิลป์ สาขาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นำเสนอผลงานออกแบบในสไตล์ comic และล้อไปกับสโลแกนของแบรนด์คือ “คิดจะพักคิดถึงคิทแคท” ทีม Triple Smash เผยว่าความท้าทายสำคัญในการทำผลงานครั้งนี้คือการทำแผนการตลาด เพราะไม่ได้เรียนมาโดยตรง ดังนั้นประสบการณ์ที่ได้รับจากการมาประกวดนอกจากความคิดเห็นจากคณะกรรมการแล้ว ยังได้มุมมองและแนวคิดทางการตลาดที่ทำให้เห็นถึงวิธีการและกระบวนการวางแผนทางการตลาดเพื่อสื่อสารออกไปถึงผู้บริโภคโดยตรง อีกทั้งยังได้เห็นผลงานของเพื่อนๆ ในทีมอื่นที่นำมาปรับใช้ในการสร้างผลงานของตัวเองในโอกาสต่อไป รวมทั้งเรียนรู้การทำงานร่วมกัน และพัฒนาทักษะทางด้านงานการตลาดอีกด้วย








Advertisement

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ทีม NMB35 จากคณะศิลปกรรม วิทยาลัยการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยรังสิต โดย น.ส.ภัณฑิรา สอนดิษฐ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 กล่าวว่าเป็นงานประกวดใหญ่จึงชวนเพื่อนๆ มาร่วมทีมเพื่อทำงานในสเกลที่ใหญ่ขึ้น และเป็นการเรียนรู้ประสบการณ์นอกห้องเรียน ด้านนาย ณัฐพงษ์ ศรีเกวิน อีกหนึ่งสมาชิกของทีม กล่าวเสริมว่า “สิ่งสำคัญที่ได้รับจากการเข้าร่วมโครงการคือการทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนๆ ทำให้ได้พัฒนาระบบการทำงานและเปิดมุมมองในแง่มุมต่างๆ ที่มากไปกว่าศาสตร์ของการออกแบบ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน