ธุรกิจค้าปลีกมีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นต่อเนื่องในปี 2566 คาดว่ามูลค่าตลาดจะเติบโตราว 10% จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและการฟื้นตัวของการบริโภค โดย คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.7 ล้านล้านบาท โดยกลุ่ม Store-base retailing จะกลับมามีมูลค่าเท่าก่อนช่วงโรคระบาดในปี 2567 ส่วน Non-store retailing ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

ครึ่งแรกของปี 2566 ธุรกิจค้าปลีกสามารถเพิ่มยอดขายจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และคาดการณ์ว่านักท่องเที่ยวจีนจะเข้ามาในประเทศมากขึ้นในครึ่งหลังของปี 2566

อย่างไรก็ดี มีปัจจัยที่ยังต้องระวัง เช่น ราคาสินค้าและหนี้ ภาคครัวเรือนที่ยังอยู่ในระดับสูง ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังมีความเปราะบาง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ทำให้ต้นทุนด้านการเงินเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มที่มีระดับการกู้ยืมสูง การอ่อนค่าของ เงินบาทที่กระทบกลุ่มสินค้านำเข้า

การเติบโตของอี-คอมเมิร์ซ ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่องและยังมีแนวโน้มแข่งขันรุนแรง แม้จะมีการชะลอตัวลงหลังจากผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตใกล้เคียงกับก่อนช่วงโรคระบาด

อย่างไรก็ดี พฤติกรรมของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงมาเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เนื่องจากมีความสะดวกสบาย โดยเฉพาะกลุ่ม Marketplace retailers ที่มีสินค้าที่หลากหลายจากผู้ขายหลายราย ทำให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบราคาและบริการของแต่ละร้านค้า

ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง (Buy Now Pay Later (BNPL)) เข้ามามีบทบาทสำคัญในธุรกิจค้าปลีก โดยเฉพาะในกลุ่มการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัว อาจนำ BNPL มาเป็นอีกหนึ่งช่องทางการชำระเงินเพื่อซื้อสินค้า หนุนให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เพื่อเพิ่มยอดขายของร้านค้า

ทั้งนี้ กลุ่มค้าปลีกที่ฟื้นตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ยังคงเป็นหมวดร้านค้าสินค้าจำเป็น เช่น CVS และซูเปอร์มาร์เก็ต (โดยมูลค่าตลาดฟื้นกลับมาในระดับก่อนโควิด-19 แล้ว) กลุ่มธุรกิจ เฮลท์แอนด์บิวตี้ ได้รับอานิสงส์จากกระแสรักษาสุขภาพเชิงป้องกัน และ โฮมแอนด์การ์เด้น ที่เติบโต โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการรีโนเวตที่อยู่อาศัย/ร้านค้า/ร้านอาหาร และดีพาร์ตเมนต์สโตร์ ที่มีปัจจัยหนุนจากการฟื้นตัวของตลาดนักท่องเที่ยว

กลุ่มที่ฟื้นตัวแต่ยังมีข้อจำกัด เช่น ไฮเปอร์มาร์เก็ต เนื่องจากเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรง รวมถึงลูกค้าหลักเป็นที่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้ ปานกลางลงมา ซึ่งมีข้อจำกัดด้านกำลังซื้อที่อาจฟื้นตัวได้ช้า








Advertisement

กลุ่มที่ฟื้นตัวช้า ได้แก่ สินค้าแฟชั่น เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย และเผชิญปัญหาด้านความยั่งยืน

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน