การเสนอทฤษฎี “เหลือง แดง” ร่วมกันเพื่อจัดการ “ส้ม” ดำเนินไปอย่างท้าทาย

ไม่เพียงแต่ท้าทายต่อการดำรงอยู่ของ “เหลือง” อย่าง นายสุเทพ เทือกสุบรรณ หากแต่ยังท้าทายต่อการดำรงอยู่ของ “แดง“ อย่าง นายสมบัติ บุญงามอนงค์

แม้ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ จะพ้นจาก “มลทินมัวหมอง” เรื่อง “โรงพัก”

แต่การแยกตัวออกจากความสัมพันธ์เดิมที่ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ เคยมีก็มิได้หมายความมิได้ดำรงอยู่อย่างเป็น “แดง”

แดงแบบ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ ก็ไม่ต่างไปจาก นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ภาพของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ต้องเปรียบเทียบกับ นายสมบัติ บุญงามอนงค์

สังคมเมื่อเอ่ยนามและกล่าวถึงบทบาทของ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ มักจะเกิดนัยประหวัดไปยังบทบาทและภาพ นายจตุพร พรหมพันธุ์

ทั้งๆ ที่ 2 คนนี้ได้ “แยกกัน” ไปสร้าง “ดาวคนละดวง” ชัดเจน

ในที่สุดแล้ววิถีแห่งการเป็นแดงแบบ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็ต่างจากแบบ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และรวมถึง นายสมบัติ บุญงามอนงค์

ไม่เหมือนกัน แต่ก็มิได้หันไปหาแบบ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

แท้จริงแล้ว ยุทธการ “ก้าวข้ามความขัดแย้ง” สะท้อน “ความเป็นจริงอะไร”

สะท้อนความเป็นจริงแห่งความพยายามโดยพรรคเพื่อไทยในการที่จะตัดพรรคก้าวไกลออกไปจากสมการและพันธมิตรทางการเมือง

เป็นการก้าวข้ามพรรคก้าวไกลอย่างเด่นชัด

แถลงการณ์ของ “รัฐบาลพิเศษ” และการอภิปรายของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว แสดงออกถึงรากฐานการตัดสินใจได้ เป็นอย่างดี

เป็นเรื่องของ “เพื่อไทย” กับ “ก้าวไกล”

มีความพยายามเสนอแนวทาง “เหลือง” จับมือ “แดง” เพื่อจัดการกับ “ส้ม” ออกมา

แต่ความพยายามทั้งหมดก็เสมอเป็นเพียง “วาทกรรม” ในทางการเมืองที่ดำเนินไปบนวิถีเดียวกันกับวาทกรรมที่ว่า “ปิดสวิตช์สว. ปิดสวิตช์ 3 ป.”

“ความเป็นจริง” ต่างหากคือ “คำตอบ” สุดท้าย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน