พญานาคแบ่งออกเป็น 4 ตระกูลใหญ่คือ ตระกูลวิรูปักษ์ พญานาคตระกูลสีทอง เอราปถ ตระกูลสีเขียว ฉัพพยาปุตตะ ตระกูลสีรุ้ง และพญานาคกัณหาโคตะมะ ตระกูลสีดำ

พญานาคเกี้ยว 4 ตระกูลนี้ ที่วัด มรุกขนคร ต.ดอนนางหงส์ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม บริเวณฐานพระธาตุมรุกข นคร ซึ่งเป็นพระธาตุผู้ที่เกิดวันพุธกลางคืน

ที่วัดพระพุทธบาทเวินปลา ต.เวินพระบาท อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม ทางลงรอยพระพุทธบาทกลางน้ำโขง จะพบพญานาค 4 ตระกูลนี้ ปกปักรักษาองค์พระธาตุและรอยพระพุทธบาท ซึ่งทั้ง 2 แห่งหลวงปู่ คำพันธ์ พระเกจิชื่อดังสองฝั่งโขง ท่านเดินทางไปขณะดำรงธาตุขันธ์

พญานาคทั้ง 4 ตระกูลที่กล่าวมา เป็นส่วนหนึ่งในตำนาน เชื่อว่าน่าจะมีวงศ์วานว่านเครือมากกว่านี้อย่างแน่นอน ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นตระกูลที่มีอำนาจ และฤทธานุภาพและถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน

หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิชื่อดังวัดพระธาตุมหาชัย อ.ปลาปาก จ.นครพนม เล่าว่า ตระกูลพญานาคมีความใกล้ชิดกับพระพุทธองค์และพระพุทธศาสนา มาแต่โบราณกาล

“หากมีพิธีกรรมอันใดอยู่ใกล้ต้นน้ำลำธาร ให้อัญเชิญบอกกล่าวแก่เหล่าพญานาค เชื่อว่าพิธีกรรมนั้น จะศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก” พระเกจิชื่อดังได้ระบุไว้

ทั้งนี้ ชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพุทธศิลป์และการท่องเที่ยว จ.นครพนม จัดสร้างเครื่องราง พญานาค 4 ตระกูล

เพื่อจัดหารายได้สมทบชมรมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพุทธศิลป์ฯ นำไปช่วยเหลือสาธารณกุศลใน จ.นครพนม เพื่อระลึกถึงพญานาคทุกตระกูล สืบสานประวัติความเป็นมา เผยแพร่บารมีหลวงปู่คำพันธ์ รวมทั้งพญานาคทุกตนในเขตแม่น้ำโขง และพระธาตุทั้ง 8 ของ จ.นครพนม

จัดสร้างเป็นเนื้อเงิน 15 เนื้อเมฆสิทธิ์ 200 เนื้อทองเหลือง 2,565 และเนื้อทองแดง 2,565

ส่วนบนของเครื่องรางรุ่นนี้ มีพญานาคเกี้ยว 4 ตน เกี้ยวขดกันเป็นรูปวงกลม ส่วนด้านล่างตอกเลขกำกับไว้ใต้ฐาน

พญานาคเกี้ยว 4 ตระกูลที่จัดสร้างสืบเนื่องจากหลวงปู่คำพันธ์อนุญาตให้พระเทพมงคลเมธี เจ้าคณะจังหวัดนครพนม

ผ่านพิธีปลุกเสกในงานพิธีพุทธาภิเษกปลียอดทองคำพระธาตุพนม วันเสาร์ที่ 19 ก.ย.2563 ที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

สอบถามโทร.08-1494-0291, 06-1297-9171

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน