“สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี” (ธงชัย ธัมมธโช) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ เป็นพระนักการศึกษา และยังเป็นที่รู้จักของบรรดาคณะศรัทธาลูกศิษย์ลูกหาในฐานะ พระเกจิอาจารย์ ได้รับอาราธนานิมนต์ไปร่วมพิธีพุทธาภิเษกเทวาภิเษกวัตถุมงคลแทบทุกงานทั่วประเทศ

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าคณะใหญ่หนกลาง, ผู้ช่วย เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร ฯลฯ

ทั้งนี้ “สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี” ได้กล่าวถึงทฤษฎี “บวก” ว่า ปัจจุบันนี้เราต้องตื่นตัวกับการพัฒนาให้เหมาะสมกับปัจจุบันกาล ในวันนี้อยากจะฝากบอกถึงนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม.ยุคใหม่ ได้ใช้ทฤษฎี “บวก” คือ

คือ บ้าน บ้านที่มีชาวบ้าน มีคนอาศัย สืบสานวัฒนธรรม ศาสนา และซึมซับ คำสอนจากพระสงฆ์ เป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุนให้พระพุทธศาสนาได้ยั่งยืนยาวนาน

คือ วัด วัดที่มีพระสงฆ์ ผู้ที่ศึกษา พระธรรม เพื่อเผยแผ่หลักพุทธศาสนาให้ชาวบ้านได้เข้าใจถึงการดำรงชีวิตอย่างสงบ เป็นสุข เข้าวัดแล้วมีความสบายใจ สบายกาย ร่มรื่น ร่มเย็น

คือ กทม. เป็นเมืองหลวง ที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง และวัด ชุมชนทุกชุมชนในกทม. ก็ขึ้นอยู่กับวัด








Advertisement

‘บวก’ ระหว่างกทม. กับวัดต่างๆ ในกทม. ชุมชนทุกชุมชนต้องอยู่กับวัด เช่น โรงเรียนก็อยู่กับวัด วัดเป็นศูนย์กลางของประชาชนในทุกที่ทุกแห่ง แต่ผู้บริหารดูแลท้องถิ่นในกรุงเทพฯ คือ สำนักงานเขต ถ้า 2 อย่างนี้มารวมเป็นหนึ่งเดียว ด้วยความสามัคคี “สุขา สังฆัสสะ สามัคคี” ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ นำมาซึ่งความสุขมาให้กับประชาชนและชุมชนท้องถิ่น

“ขอบิณฑบาตท่าน ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ให้นำเขตเดินเข้าไปสู่วัด ซึ่งในกรุงเทพ มหานคร มีวัดอยู่หลายอย่าง อาทิ พระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และ พระอารามราษฎร์ ซึ่งชุมชนส่วนใหญ่ ที่น่าเป็นห่วงคือพระอารามราษฎร์ บางแห่ง บางจุดก็ยังเป็นสลัม เป็นชุมชนแออัด ด้วยประชากร ตรงนี้ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของคำว่าบวก คือ อยากให้กทม. มีจิตอาสาเข้าไปช่วยเหลือ พระอารามเหล่านี้ เช่น การแนะนำทำความสะอาด แนะนำเรื่องถังขยะ แนะนำเรื่องสถานที่ให้เป็นที่สัปปายะของชุมชน ซึ่งในวัดนั้นก็มีโรงเรียนและโรงเรียนนั้นก็เป็นโรงเรียนของกทม.และกทม. ก็อาศัยที่วัดในการเปิดโรงเรียน ที่เรียกกันว่าโรงเรียนกทม. มีทั้งหมด 437 โรงเรียน ตรงนี้ กทม.ก็ต้องพัฒนาการศึกษาด้วย”

สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนีกล่าวต่ออีกว่า ชุมชนบางแห่งอาจจะแข็งแรงกว่าวัด แต่บางแห่งวัดอาจจะแข็งแรงกว่าชุมชนแต่ถ้ารวมกันก็จะเป็นประโยชน์ด้วยกัน แกนกลางคือราชการ ซึ่งความหมายของคำว่าบวกนี้ ก็คือกทม. เข้ามาเป็นแกนกลางก็จะทำให้เกิดการพัฒนาต่อยอดได้เป็นอย่างดีในคำว่าบวก ถึงอยากให้ใช้ทฤษฎีบวกเป็นตัวขับเคลื่อน แต่ละเขตแต่ละวัดให้เจริญรุ่งเรือง

“คำว่า ‘บวร’ คือ บ้าน-วัด-โรงเรียน และบ้าน-วัด-ราชการ ก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ภายใต้ตัว ‘ก’ คือ กรุงเทพมหานคร จึงชื่อว่า ‘บวก’

“อาตมาขอบิณฑบาตตรงๆ ว่า ต้องการให้ กทม. ช่วยเข็นเขตเข้าวัด ด้วยเหตุผลว่าไม่ใช่เป็นการประชาสัมพันธ์ หรือชวนเชิญ ทางกทม. ก็ต้องทำเชิงรุกเลย ให้เขตทุกเขตส่งจิตอาสา เขตใครเขตมัน ร่วมกับโรงเรียนหรือราชการ โดยให้กทม. เป็นแกนกลาง เชื่อว่าภายในหนึ่งปีชุมชนและวัด ต้องเปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมืออย่างชัดเจน กทม. เป็นเมืองที่สวยงามน่าอยู่ นั่นก็หมายถึงปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ มีสุขอนามัยที่ดีขึ้น ปราศจากสิ่งเสพติดทั้งหลาย ซึ่งก็เป็น หน้าที่หลักของ กทม. อยู่แล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของวัด แต่วัดเป็นสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของประชาชน ถ้าท่านไม่ช่วยศูนย์กลาง ตรงนี้ ก็ไม่สามารถจะกระทบออกไปสู่ประชาชนได้”

ในแต่ละเขตไม่เหมือนกัน ก็ขึ้นอยู่กับเขตแต่ละพื้นที่ร่วมกับวัดและชุมชนช่วยกันพิจารณา ความเหมาะสมของพื้นที่ตัวเอง เรียกว่าสนองความต้องการของชุมชนด้วยกันเอง ซึ่งอาจจะเหมือนกันบ้างไม่เหมือนกันบ้าง แต่นัยยะของความร่มเย็นยึดเป็นที่ตั้ง

กทม.ยังสามารถนำทฤษฎีของคำว่าบวก ไปใช้กับชุมชนและศาสนาอื่นได้ไม่ว่าจะเป็นอิสลาม และศาสนาคริสต์ ได้เช่นกัน เช่น “บ้าน วัดหรือศาสนสถาน และกทม. จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและพัฒนา เป็นประโยชน์ต่อชุมชน ประชาชนอย่างแท้จริง กทม.ยุคใหม่ ภายใต้คำว่า ‘บวก’

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน