ในการแถลงข่าวแนวทางการแก้หนี้นอกระบบ รัฐบาลประกาศให้ “การแก้ไขหนี้นอกระบบ” เป็นวาระชาติ โดยมีการประเมินว่า หนี้นอกระบบของไทยอาจมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 50,000 ล้านบาท

มองว่าปัญหาหนี้นอกระบบเป็นภาพสะท้อนของ ปมปัญหาที่ซับซ้อนทางด้านสังคม คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของภาคครัวเรือน เพราะโดยทั่วไปลูกหนี้ที่มีการกู้ยืม จากแหล่งเงินนอกระบบนั้น มักจะถูกคิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า 15% ที่กฎหมายกำหนด และอาจต้องเผชิญกับปัญหาความรุนแรงจากการทวงหนี้ของเจ้าหนี้ ดังนั้น หากมองจากมุมของลูกหนี้แล้ว การกู้ยืมนอกระบบน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากที่ลูกหนี้ได้พยายามใช้วิธีอื่นๆ มาแล้ว

เป้าหมายสำคัญของการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบก็คือ การทำให้หนี้นอกระบบกลับเข้ามาอยู่ในระบบ ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลงก็จะทำให้ครัวเรือนปลดภาระหนี้ก้อนนั้นได้เร็วขึ้น

ทั้งนี้ หากย้อนกลับไปทบทวน “มาตรการแก้ปัญหาหนี้ ครัวเรือนอย่างยั่งยืน” ของธปท. ในช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีการ เตรียมหลักเกณฑ์เพื่อดูแลและช่วยในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ของกลุ่มลูกหนี้นอกระบบด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะหลักเกณฑ์ Risk-based pricing (RBP) สำหรับสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน และสินเชื่อนาโนไฟแนนซ์ที่จะเริ่มเปิดรับ ผู้สมัครเข้าร่วมทดสอบใน Sandbox ในช่วงไตรมาสที่ 2/2567

ขณะที่ประเด็นสำคัญของแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบของภาครัฐ จะอยู่ที่กระบวนการตรวจสอบและยืนยันสถานะของทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ รวมไปถึงการจูงใจให้เจ้าหนี้มาร่วมแก้ปัญหาให้กับลูกหนี้

นอกจากนี้ การแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือนให้ได้อย่างยั่งยืนคงต้องย้อนกลับไปดูแลปัญหาที่ต้นตอในระดับครัวเรือน โดยเฉพาะในด้านรายได้ ความรู้และวินัยทางการเงิน รวมถึงคงต้องดำเนินการเพิ่มเติมในอีกหลายๆ ส่วน โดยเฉพาะหนี้สินภาคครัวเรือนที่อยู่ในระบบ

ประเมินว่า ยอดคงค้างหนี้ครัวเรือนอาจขยับขึ้นไปที่กรอบ 16.4-16.5 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2566 คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90-91% ต่อจีดีพี เทียบกับระดับ ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 15.9 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 91.4% ต่อจีดีพี

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด








Advertisement

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน