การเมืองภายในพลังประชารัฐ – ทําไม นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ต้องอำลาจาก “รองนายกรัฐมนตรี”

การอำลาของ “กลุ่ม 4 กุมาร” ไม่ว่าจะเป็น นายอุตตม สาวนายน ไม่ว่าจะเป็น นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ไม่ว่าจะเป็น นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ เป็นเรื่องที่เข้าใจได้

เพราะว่ามีความไม่พอใจเกิดขึ้นในพรรคพลังประชารัฐ

เมื่อไม่พอใจจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค จากตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค จากตำแหน่งเลขาธิการพรรค ก็รุกไล่ไปจนถึงตำแหน่งรัฐมนตรีที่ได้ในโควตาพรรค

แต่ทำไมต้องโยงไปถึง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จากมุมของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

กลุ่มที่เรียกว่า “กลุ่มสามมิตร” อันแสดงบทบาทอย่างคึกคักในการเดินสายนับแต่เมื่อเดือนเมษายน 2561 เป็นต้นมาไม่ควรมองข้าม

คล้ายกับว่า “สามมิตร” มีรากฐานมาจาก “ไทยซัมมิท”

อาจใช่แต่ที่สำคัญก็คือ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ยอมรับว่าประกอบด้วย 3 ส.สำคัญ 1 คือ ส-สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ 1 คือ ส.-สมศักดิ์ เทพสุทิน และ 1 คือ ส-สมคิด จาตุศรีพิทักษ์

แต่แล้ววันนี้ก็เหลือเพียง ส สมศักดิ์ กับ ส สุริยะ

สัมพันธ์ระหว่าง “กลุ่มสามมิตร” เดิมมีความลึกซึ้ง แนบแน่นเป็นอย่างสูง

เป็นความลึกซึ้งตั้งแต่ยุคที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ ตลอดจน นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เคยอยู่ร่วมกันในพรรคไทยรักไทย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นถึง “เลขาธิการพรรค”

ดังนั้น การที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ จะมาร่วมมือกันกับ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ และ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เพื่อสร้างพรรคพลังประชารัฐจึงมิได้เหนือความคาดหมาย

คำถามอยู่ที่ว่าเมื่อร่วมแล้วทำไมถึงได้แตกกัน

การต่อสู้ภายในพรรคพลังประชารัฐทำให้ “กลุ่มสามมิตร” ต้องแตกกระจาย

แตกกระจายถึงขนาดกลุ่ม นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รุกไล่กดดันกลุ่มของ นายอุตตม สาวนายน พ้นไปจากตำแหน่ง

แตกกระจายจนกระทบถึง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน