คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

ภายในการเคลื่อนไหวเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ” สะท้อนอะไรทางการเมือง

ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเห็นจากอดีตประธานสภาหลังยุคเดือนพฤษภาคม 2535 ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเห็นจากอดีตนายกรัฐมนตรีที่ประสบวิกฤตต้มยำกุ้งเดือนพฤศจิกายน 2540

ล้วนสัมพันธ์กับข้อเสนอว่าด้วย “รัฐบาลแห่งชาติ” ทั้งสิ้น

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ภายในข้อเสนอและความเรียกร้องต้องการต่อ “รัฐบาลแห่งชาติ” นั้นล้วน มองข้ามโอกาสและทางเลือกเดิมไปหมดสิ้น

นั่นก็คือ ไม่มีชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

เหตุใดชื่อของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงถูกมองข้ามไปโดยเจตนา








Advertisement

ความน่าสนใจอยู่ตรงที่มีการฉวยโอกาสจากภาพของ คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ มาขยายผลเพื่อสร้าง มโนภาพในทางการเมืองอย่างค่อนข้างวิลิศมาหรา

มองเห็นการร่วมมือระหว่างพรรคพลังประชารัฐกับพรรคเพื่อไทย

แต่ภายในความพยายามต่อจิ๊กซอว์ทางการเมือง ในแนวทางเช่นนี้ก็ไม่มีภาพของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็น “นายกรัฐมนตรี”

หากแต่เป็นคนอื่นซึ่งมิใช่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

 

ทุกการเคลื่อนไหวเรื่อง “รัฐบาลแห่งชาติ” สะท้อนอารมณ์ “ร่วม” ทางสังคม

เป็นอารมณ์ “ร่วม” ที่มีบทสรุปอย่างแจ่มชัดและตรงกันต่อสถานะและความเชื่อถือต่อ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ว่าน้อยลงเป็นลำดับ น้อยลงและน้อยลง

น้อยลงกระทั่งกลายเป็นอาการเข็ดอย่างเต็มพิกัด

นั่นก็เพราะประสิทธิภาพการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่หลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 กระทั่ง หลังการเลือกตั้งเมื่อเดือนมีนาคม 2562 ไม่มีจุดเด่น

เวลา 6 ปีเศษจึงเป็น “คำตอบ” ได้เป็นอย่างดี

 

สถานะของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงสัมพันธ์ กับวันที่ 14 ตุลาคม

การรวมศูนย์ข้อเรียกร้องให้การเคลื่อนไหวในวันที่ 14 ตุลาคม เป็นการขับไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกจากตำแหน่งจึงสอดรับกับอุณหภูมิในทางสังคม

เพียงแต่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะยอมรับ หรือไม่เท่านั้นเอง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน