คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

สงคราม ข่าวสาร – เครื่องบ่งชี้อย่างสำคัญของสถานการณ์วันที่ 15 ตุลาคม คือสถานการณ์อะไร

หลายคนอาจให้ความสนใจไปยังการทวงคืน “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ประสานกับการเคลื่อนขบวน ยาวเหยียดไปยังบริเวณหน้าทำเนียบรัฐบาล

นั่นเป็นยุทธการของ “คณะราษฎร 2563”

แต่ในท่ามกลางการเคลื่อนไหวในทางการเมืองเช่นนั้น เงาสะท้อนอันเด่นชัดหนึ่งคือการยืนยันให้เห็นบทบาทของ “สื่อเก่า” การยืนยันให้เห็นบทบาทของ “สื่อใหม่”

ชัยชนะอย่างเด่นชัดเป็นของ”สื่อใหม่”

คําว่า “สื่อใหม่” ในที่นี้มีความหมายอย่างเด่นชัดคือ สื่อ “ออนไลน์” ผ่านอินเตอร์เน็ต

ต้องยอมรับว่า ท่วงท่าและการเคลื่อนไหวผ่านกระบวนการ “สื่อใหม่” ไม่เพียงมีความพร้อมมากกว่า หากแต่ยังดำเนินไปด้วยความร้อนแรงเป็นอย่างมาก

พลันที่เกิดประดิษฐกรรม “สมาร์ตโฟน” ขึ้นมา

ไม่เพียงแต่ดำรงอยู่ในฐานะ “โทรศัพท์” หากแต่ยังดำรงอยู่ในฐานะ “กล้องถ่ายรูป” ยิ่งกว่านั้นยังดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นวิทยุกระจายเสียง เป็นโทรทัศน์ชัดเจน สดใส

สิ่งเหล่านี้เพียงหยิบ”สมาร์ตโฟน”ขึ้นเท่านั้นเอง

ทุกการเคลื่อนไหวเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ปรากฏ ณ เบื้องหน้าด้วยความรวดเร็ว ฉับไว

ไม่ว่าจะเป็นเมื่อหน่วยคอมมานโดบุกเข้ารวบตัว ไผ่ ดาวดิน พร้อมกับ แอมมี่ บอททอมบลูส์ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อหน่วยเทศกิจเคลื่อนเข้ารื้อเต็นท์อย่างทรงประสิทธิภาพ

ยิ่งการเคลื่อนขบวนบนถนนราชดำเนินยิ่งแจ่มกระจ่าง

คล้อยหลังการประกาศสลายการชุมนุมของ นายอานนท์ นำภา ในตอน 02.00 น.อีก 2 ชั่วโมงต่อมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างเข้มก็ตามมาใน 04.00 น.

ทั้งหมดนี้เห็นได้ผ่าน “ไลฟ์สด” ไม่ใช่พาดหัวหนังสือพิมพ์

เสร็จวันที่ 14 ตุลาคม ยังมีสถานการณ์ระทึกใจในวันที่ 15 ตุลาคมตามมา

ในเมื่อ นายอานนท์ นำภา ประกาศนัดหมายการชุมนุมที่ราชประสงค์ ขณะที่ในอีก 2 ชั่วโมงก็ถูกรวบตัวพร้อมกับแกนนำคนอื่นๆ เดินไปบนเส้นทางเดียวกับ ไผ่ ดาวดิน

แล้ว 16.00 น.ที่ราชประสงค์วันที่ 15 ตุลาคมจะเป็นอย่างไร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน