คอลัมน์ วิเคราะห์การเมือง

คำมั่น สัญญา – เด่นชัดว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา กำลังซ้ำรอยสถานการณ์วันที่ 24 กันยายน

บทบาทและความหมายของสถานการณ์วันที่ 24 กันยายน เริ่มต้นขึ้นจากการที่ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐได้เสนอให้มีการจัดตั้ง “คณะกรรมาธิการ”

ทั้งๆ ที่ควรเข้าสู่กระบวนการ “รับ” หรือ “ไม่รับ”

ด้วยความเชื่อมั่นในฐานกำลังของ “มือ” ที่มีอยู่ในรัฐสภา เมื่อประสาน ส.ส.พรรคพลังประชารัฐเข้ากับ 250 ส.ว.ก็จะสามารถทำอะไรก็ได้ในทางการเมือง

เหมือนกับนั่นคือ “ชัยชนะ” แต่เป็นชัยชนะที่มี “ปัญหา”

ถามว่าอะไรคือปัญหาอย่างแหลมคมจากชัยชนะเมื่อวันที่ 24 กันยายน ที่ผ่านมา

หากมองแต่ด้านของชัยชนะก็ต้องยอมรับว่ารัฐบาลสามารถบรรลุเป้าหมายในการเตะถ่วงหน่วงเวลาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ออกไปได้

อย่างน้อยก็จากเวลา 45 วันของคณะกรรมาธิการ

แต่จากกลยุทธ์ทางการเมืองเช่นนี้ของรัฐบาล ไม่เพียงแต่เปิดโฉมหน้าที่เป็นจริงของรัฐบาลออกมาอย่างล่อนจ้อน หากแต่ยังสร้างความไม่ไว้วางใจ ภายในหมู่พันธมิตร

แม้จะต้อง “จำยอม” ร่วมรัฐบาลกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ตาม

แล้วสถานการณ์ล่าสุดในที่ประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ 26-27 ตุลาคมเป็นอย่างไร

รัฐบาลสามารถอาศัยพื้นที่ของการประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญโดยการออกโรงของ ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ และบางส่วนของ 250 ส.ว.ในการฟอกขาว

ผลักภาระของปัญหาไปให้กับฝ่ายตรงกันข้าม

ไม่ว่าฝ่ายตรงกันข้ามจะชื่อว่าพรรคเพื่อไทย พรรคก้าวไกล พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ พรรคพลังปวงชนไทย

ขณะที่มีคำสัญญามากมายจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หากมองในแง่ของการซื้อเวลา ต่ออายุ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ถือเป็นชัยชนะ

กระนั้น ภายในคำมั่นสัญญามากมายในเรื่องของรัฐธรรมนูญ ในเรื่องของปรองดองสมานฉันท์ ก็ดำรงอยู่อย่างตลบอบอวลภายในสังคม

ประเด็นร้อนจะอยู่ที่มีการลงมือ “ทำ” ตาม คำสัญญาหรือไม่ และอย่างไร

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน