การปรากฏขึ้นผ่าน “เวทีมิสแกรนด์” กำลังกลายเป็น “ปรากฏการณ์” ในทางสังคม

ไม่ว่าจะสัมผัสผ่าน “ปฏิกิริยา” ของ นายแทนคุณ จิตต์อิสระ ไม่ว่าจะสัมผัสผ่าน “ปฏิริยา” ของ นายไพบูลย์ นิติตะวัน

แม้กระทั่ง “ปฏิกิริยา” จาก นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว

ทำไมสายตาที่มองไปยัง พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส จึงเป็นความชื่นชม ทำไมสายตาที่มองไปยัง นายพริษฐ์ วัชรสินธุ จึงเป็นความชื่นชม

“ปรากฏการณ์” นี้สะท้อนแนวโน้มในทาง “ความคิด”

ถามว่าความหงุดหงิดที่ปลิวว่อนอยู่จนกลายเป็น “อารมณ์” เกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบได้เลยว่า เพราะท่าทีและท่วงทำนองการตั้ง “คำถาม” ของบรรดา “มิส” ทั้งหลายแผกต่างไปจากเวที “นางงาม” โดยทั่วไป

มิได้เป็นคำถามในแบบ “หน่อมแน้ม” ไร้สาระ








Advertisement

ตรงกันข้าม อัดแน่นไปด้วยประเด็นในทางสังคม การเมืองเริ่มตั้งแต่ปัญหาความเหลื่อมล้ำไต่ระดับไปจนถึงปมแห่ง “รัฐประหาร”

เป็นไปได้อย่างไร รากฐานมาจากที่ใด

อาการ “ช็อก” ของสังคมก็เช่นเดียวกับกรณีของเยาวชนคนรุ่นใหม่ในปี 2563

การก่อตัวของ “เยาวชนปลดแอก” การประสานขานรับของ “แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม” ไปจนถึงขบวนการ “โบขาว”

กลายเป็น “โรคระบาด” ใหม่ในทาง “การเมือง”

กระจายออกจากบนถนนราชดำเนินไปอยู่ที่แยกราชประสงค์ แยกปทุมวัน แยกลาดพร้าว แยกอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และบนสะพานชมัยมรุเชฐ

จาก “ราษฎร 2563” มาถึง “มิสแกรนด์ 2566”

ทั้งหมดนี้คือการเกิดขึ้นและการแพร่กระจายของความคิดใหม่ ของคนรุ่นใหม่

มิได้อยู่แต่เพียง นักเรียน นิสิต นักศึกษา หากแต่เมล็ดพันธุ์เหล่านี้ได้หว่านลงไปในความรู้สึกของสังคมแม้กระทั่งในแวดวง “นางงาม”

เน้นความสวยอันทรงค่า ซึ่งมาพร้อมกับการเมือง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน