ถานการณ์ “สภาล่ม” กำลังสะท้อนให้เห็น “แนวโน้ม” ใหม่ในการต่อสู้ทางการเมือง

อาจมีจุดเริ่มต้นใน “ที่ประชุมรัฐสภา” อาจอยู่บนพื้นฐานแห่ง “ปริมาณ” ของสส.ที่ปรากฏและอยู่ในรัฐสภา ต่อกรกันตามกระสวนแบบเก่า

ไม่ว่าจะเป็นยุค นายชวน หลีกภัย ไม่ว่าจะเป็นยุค นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

มือและจำนวนของมือในที่ “ประชุม” อาจเป็นปัจจัยชี้ขาด แต่ผลและความต่อเนื่องก็ย้ายออกจากพื้นที่ “รัฐสภา” เข้าไปอยู่ใน “พื้นที่” ใหม่

กลายเป็นพื้นที่ “ออนไลน์” หรือ “โซเชี่ยลมีเดีย”

ามว่า “อาวุธ” ที่แต่ละฝ่ายงัดเข้ามาสัประยุทธ์กันหลังสถานการณ์ “สภาล่ม” คืออะไร

อย่างแรกที่สุดคือ การใช้เวทีในการแถลง ชี้แจง ตอบโต้ เปิดโปง ไม่ว่าจะมาจากพรรครัฐบาลที่นำโดยพรรคเพื่อไทย พรรคภูมิใจไทย

และพรรคก้าวไกลก็จัดกระบวนสวนกลับ








Advertisement

กระนั้น ที่คึกคักและดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบ เป็นกระบวนการกลับเป็นพื้นที่ “ออนไลน์” อันถือว่าเป็น “สื่อใหม่” สื่ออิเล็กทรอนิกส์

นี่ย่อมเป็นเวลาแห่ง “ดิจิทัล ฟุตพรินต์” อันทรงความหมาย

ม่ว่าแถลงจาก นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ กับ นายภราดร ปริศนานันทกุล คึกคัก

เป็นความคึกคักอย่างมีลำหักลำโค่น สะท้อนความจัดเจน มากด้วยปฏิภาณไหวพริบในทางการเมืองครบถ้วนบริบูรณ์น่ายกย่อง

แต่พลันที่ “ดิจิทัล ฟุตพรินต์” ปรากฏ ก็ต้องนะจังงัง

เป็นความนะจังงังจาก “ความเห็น” ของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ ไม่ว่าจะเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ไม่ว่าจะเป็น นายภูมิธรรม เวชยชัย

ยิ่งเมื่อ #สภาล่ม ติดเทรนด์ยอดนิยม ยิ่ง ต้อง “เงียบ”

ระสวนอันสำแดงผ่านยุทธการ “สภาล่ม” เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม จึงน่าศึกษาวิเคราะห์

มองเห็นการจัดวางแต่ละจังหวะก้าวอย่างเป็น “ระบบ” ไม่ว่าในที่ “ประชุม” สภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่านอกที่ประชุมล้วนมีการตระเตรียม

นี่ย่อมเป็น “บทเรียน” แหลมคมต่อพรรค เพื่อไทย

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน