การปรากฏขึ้นของ “99 นักเศรษฐศาสตร์” สะท้อนมิติ “ใหม่” ของการเคลื่อนไหว

คนจำนวนหนึ่งเกิดนัยประหวัดไปยังการเคลื่อนไหวของ 100 นักวิชาการที่พร้อมใจกัน “ถวายฎีกา” ในยุคปลายของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

เป็น “สัญญาณ” และเป็นการ “เตือน” ในทางการเมือง

เตือนให้รู้ว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อยู่ในตำแหน่งนานเกินไป และเตือนให้ตระหนักว่าจำเป็นต้องมีนายกรัฐมนตรีจาก “การเลือกตั้ง”

เมื่อปี 2531 เป็นเช่นนั้น ในปี 2566 ก็เป็นเช่นนี้

ถามว่าบทบาทของ “99 นักเศรษฐศาสตร์” สมคบคิดกับพรรคการเมืองหรือไม่

หากมองจากบรรยากาศในยุคคสช. หากมองจากบรรยากาศในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็อาจก่อให้เกิดความไขว้เขว คิดว่าเป็นเช่นนั้น

แต่เมื่อพิจารณาลงไปภายใน “รายละเอียด”








Advertisement

ต้องยอมรับว่า แต่ละ “รายชื่อ” มีความน่าสนใจ บางคนเป็นถึงอดีต “ผู้ว่าการ” ธนาคารแห่งประเทศไทย บางคนเป็นถึง “คณบดี” คณะเศรษฐศาสตร์

ล้วนมากด้วย “เกียรติภูมิ” มากด้วยคนเคารพ มั่นใจ

น่าสังเกตต่อ “ท่าที” และกระบวนการในการ “ตอบโต้” จากปีกทางด้าน “รัฐบาล”

เด่นชัดอย่างยิ่งว่า ยังคงอาศัยความจัดเจนในแบบของปฏิบัติการ “ไอโอ” ด้านข่าวสาร ยังคงเป็นท่วงทำนองในการตอบโต้ทางการเมือง

ทั้งๆ ที่ “แถลงการณ์” มาจาก “นักเศรษฐศาสตร์”

มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะต้องใช้ “วิธีวิทยา” ที่อิงอยู่กับ “หลักเศรษฐศาสตร์” ในการอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจถึงเหตุผลแห่งโครงการ

จะใช้ “อารมณ์” มาแทน “หลักวิชาการ” คงไม่เกิดประโยชน์

การมองและผลักให้การต่อต้านไม่เห็นด้วยเป็นกระแสทางการเมืองจึงน่าเป็นห่วง

เพราะหากเห็นว่า “99 นักเศรษฐศาสตร์” เป็นพวกเดียวกันกับบางพรรคการเมือง ก็จะเท่ากับไปเพิ่มและขยาย “แนวร่วม” ให้กับพรรคการเมืองนั้น

จำเป็นต้องมีความหนักแน่น จำเป็นต้องยึดกุม “หลัก”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน