ปัญหาอันเกิดขึ้นใน “คณะกรรมาธิการความมั่นคงฯ” มากด้วยความแหลมคม

เป็นความแหลมคมเมื่อมีการพิจารณาแนวทางในการปรับลด “ด่าน” และ “ฐานปฏิบัติการ” ที่ตั้งอยู่ในชุมชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

เน้นในเรื่อง “ชุมชน” มิได้เน้นในพื้นที่ “ร้อนแรง” ทางทหาร

มีการส่งหนังสือถึงกองทัพบก ถึงกระทรวงมหาดไทย ถึงสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ถึงกระทรวงคมนาคม ถึงกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน

“ตัวแทน” ที่ส่งเข้ามาน่าตื่นตาตื่นใจ

รรยากาศภายในที่ประชุมเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ของคณะกรรมาธิการน่าตื่นตาตื่นใจ

เพราะว่าหนังสือจาก “ปลัดกระทรวงมหาดไทย” ส่งระดับ “นายอำเภอ” จากอำเภอหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

ผบ.ตร. ส่ง “รองผู้บัญชาการตำรวจภูธร ภาค 9”

อธิบดีกรมทางหลวง ส่ง “วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ สำนักบริหารบำรุงทาง” อธิบดีกรมทางหลวงชนบท ส่ง “ผู้อำนวยการ กรมแผนงาน”

เก้าอี้จาก “กอ.รมน.” ว่าง ไม่ส่งใครมา

ต้องยอมรับว่า กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) มีความซับซ้อน

ซับซ้อนเพราะว่าตำแหน่ง “ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน” (ผอ.รมน.) เป็นของ “นายกรัฐมนตรี” โดยตำแหน่ง

ขณะที่ “รองผอ.รมน.” คือ “ผบ.ทบ.”

เมื่อผู้บัญชาการทหารบกทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมาธิการว่า “ไม่สะดวก” จึงส่งผลต่อเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ส่วนหน้าในพื้นที่กองทัพภาคที่ 4 โดยตรง

หรือว่านี่จะเป็น “ปฏิกิริยา” หรือว่านี่จะเป็นการ “ทดสอบ” หยั่งเชิง

ม้นายอำเภอจากมหาดไทยจะสำคัญ แม้วิศวกรจากกระทรวงคมนาคมจะสำคัญ

แต่ก็ต้องยอมรับด่านที่ตั้งอยู่ในชุมชนตลอดพื้นที่3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และในพื้นที่บางอำเภอของสงขลามีรวม ทั้งสิ้น 1,887 จุด

ตรงนี้แหละที่ “กอ.รมน.” มีบทบาทและความหมายเป็นอย่างสูง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน