ทำไม “อดีตส.ส.”ที่เคยร่วมกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส่วนใหญ่ จึงไม่เข้าร่วมกับพรรครวมพลังประชาชาติไทย

แม้กระทั่ง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ ก็วางเฉย

ทั้งๆที่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ อยู่บ้านเดียวกันกับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ และดำรงอยู่ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิมวลมหาประชาชนเพื่อการปฏิรูปประเทศ

ยิ่งกว่านั้น นายชุมพล จุลใส ซึ่งเคยถือปืนคุ้มกัน นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ก็ยังไม่ยอมออกจากพรรคประชาธิปัตย์

จะมีก็แต่คนในตระกูล “เทือกสุบรรณ”เท่านั้น

ความสงสัยนี้จึงรวมศูนย์ไปยังความจริงจังของพรรครวมพลังประชาชาติไทย

คำถามก็คือ “แกนนำ” ระดับ นายถาวร เสนเนียม ระดับ นายวิทยา แก้วภราดัย ระดับ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย จะเลือกทิศทางใด

คำตอบเด่นชัดยิ่งว่า เลือกพรรรคประชาธิปัตย์








Advertisement

“แกนนำ” บางคนในพื้นที่กทม.เด็ดเดี่ยวมากยิ่งกว่า 3 คนที่เอ่ยนามมาแล้ว

หลายคนเลือกไปทาง “พรรคพลังประชารัฐ”

อาจเพราะไม่แน่ใจในความโดดเด่นของพรรครวมพลังประชาชาติไทยที่มี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ผนึกตัวรวมพลังกับ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์

เกรงว่าจะซ้ำรอยกับความล้มเหลวของ “พรรคมหาชน”

เพราะว่าพรรคมหาชนมี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ขณะที่พรรครวมพลังประชาชาติไทยมี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ครอบเหนือ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ อีกทอดหนึ่ง

ผลก็คือ พรรคมหาชน ได้ส.ส.มาเพียง 2 คน ไม่ก่อมรรคผลอะไรเลยในทางการเมือง

แล้วชะตากรรมพรรครวมพลังประชาชาติไทยจะเป็นอย่างไร

เท่ากับสะท้อนให้เห็นว่า “แกนนำ” ระดับหัวกะทิที่เคยร่วมเคลื่อนไหวกับกปปส.มีทิศทาง 2 ทิศทาง

1 เชื่อว่าพรรคประชาธิปัตย์เหนือกว่า 1 เชื่อว่าพรรคพลังประชารัฐ หนักแน่นและจริงจังกว่าพรรครวมพลังประชาชาติไทย

ความหมายจึงหมายความว่าไม่เชื่อน้ำยาของ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ

จึงตรึงอยู่กับ “ประชาธิปัตย์” จึงเหไปทาง “พลังประชารัฐ”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน