ระบบไพรมารีโหวตกำลังจะเป็น “หินลองทอง” อันทรงความหมาย ยิ่งในทางการเมือง

ไม่เพียงแต่ต่อ “รัฐธรรมนูญ”

หากยังสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับกฎหมาย”ลูก”ไม่ว่าจะเป็นพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.

ความหมายก็คือ “ปฏิบัติ” ได้จริงหรือไม่

ความหมายที่ทรงความหมายยิ่งกว่านั้นก็คือ “ปฏิบัติ”ได้อย่างฉับพลันทันใดอย่างที่มีอยู่ในบทบัญญัติหรือไม่

คำถามนี้มิได้ท้าทายต่อ “ปาฎิหาริย์” แห่ง”กฎหมาย”

ตรงกันข้าม ท้าทายระหว่าง “เจตนา” กับ “ผล”ว่าดำเนินไปอย่างเป็นเอกภาพมากน้อยเพียงใด

ถามว่าเจตนารมณ์ของ”ไพรมารีโหวต”คืออะไร ตอบได้เลยว่าต้อง การพัฒนาพรรคการเมือง








Advertisement

ต้องการให้ยึดโยงอยู่กับประชาชนในพื้นที่

นั่นก็คือ ประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกพรรคมีสิทธิมีส่วนในการกำหนดตัวผู้สมัคร มิใช่ว่าจะเป็นคำสั่งอันมาจาก “เจ้าของพรรค” อย่างที่เคยเป็น

นั่นก็คือ เกณฑ์ชี้ขาดว่าเป็นอำนาจของสมาชิกพรรคอย่าง น้อย 100 คนเป็นผู้กำหนด

เรื่องนี้ไม่เป็นปัญหากับพรรคการเมืองเก่า พรรคการเมืองใหญ่ ปัญหากลับอยู่กับพรรคการเมืองใหม่ พรรคการเมืองขนาดเล็ก

เพราะต้องมีฐานสมาชิกพรรคในขอบเขตทั่วประเทศอย่างน้อยจังหวัดละ 100 คน

คำถามก็คือ จะหาสมาชิกมาได้อย่างไรในเวลาอันสั้น

คำเตือนจากพรรคประชาธิปัตย์ คำเตือนจากพรรคเพื่อไทย จึงสะท้อนความเป็นจริงของสังคมประเทศไทย

2 พรรคนี้สามารถทำได้เพียงแต่มีการคลายล็อก

แต่พรรคอันแวดล้อมอยู่โดยรอบศูนย์กลางแห่งอำนาจอย่างที่เรียกว่า “พรรคคสช.”จะสามารถทำได้หรือไม่ หากเวลาแห่งการคลายล็อคทอดยาวออกไป

“ปาฎิหาริย์” แห่ง”กฎหมาย”จึงเริ่มส่งสัญญาณ

เหมือนที่เคยทำมาก่อนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 53/2560

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน