เมื่อ ‘มนุษย์’ ไม่สมบูรณ์แบบ เราจะเรียนรู้ความผิดพลาดอย่างไร?

ทุกท่านคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า “ผิดเป็นครู” กันใช่ไหมครับ ถึงกระนั้นคนเราก็มักไม่ชอบและกลัวความผิดพลาด จึงพยายามคิดหาวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

แต่เมื่อความผิดพลาดเกิดขึ้น จิตใจแบบไหนที่พร้อมจะรับการสั่งสอนจากความผิดพลาดนั้น

ในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ประจำประเทศไทย (IYF) ผมจึงมีโอกาสไปบรรยาย ศึกษาดูงาน และแบ่งปันความรู้ และทัศนคติในการทำงานเพื่อพัฒนาเยาวชนมากมาย ในทั้งในประเทศไทย และอีกหลายๆ ประเทศทั่วโลก

ปีที่แล้วผมและสมาชิกจากมูลนิธิฯ เข้าร่วมกิจกรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเดินทางกลับประเทศไทย เราต้องแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่สนามบินนานาชาตินาริตะ ประเทศญี่ปุ่น ในประเทศญี่ปุ่นเองก็มีศูนย์ของมูลนิธิฯ อยู่หลายแห่ง ผมได้ติดต่ออาจารย์ “ชอง คู ชอล” ซึ่งเป็นผู้ดูแลศูนย์ฯ ประจำกรุงโตเกียว แต่เพราะความผิดพลาดของผม ทำให้แจ้งกำหนดการเดินทางผิด ซึ่งควรจะเป็นวันที่ 11 ต.ค. 2560 แต่ผมกลับแจ้งว่าผมจะถึงสนามบินนาริตะในวันที่ 10 ต.ค.25 60

ผมทราบถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นภายหลัง ในวันที่ 10 “อาจารย์ชอง” เดินทางไปรอรับผมที่สถานบิน โดยต้องรอและเดินตามหาผมเป็นเวลากว่า 3 ชั่วโมง และเมื่อรวมเวลาเดินทางด้วย เท่ากับว่าวันนั้นเขาต้องเสียเวลาถึง 4 ชั่วโมงด้วยกัน ในขณะเดียวกัน ชุดปลาดิบที่เตรียมไว้ต้อนรับเราก็ต้องให้คนอื่นทานแทนทั้งหมด

ผมและอาจารย์ซองไม่ได้สนิมสนมกันมากเท่าไรนัก รู้จักกันผ่านการเจอหน้ากันตามงานของมูลนิธิฯ เป็นครั้งคราว แทบไม่เคยมีโอกาสได้ทำความรู้จักกันแบบจริงๆ จังๆ สักครั้ง

ทุกท่านคงเข้าใจ “ความรู้สึกผิด” ที่เกิดขึ้นกับผมได้ใช่ไหมครับ แม้ว่าผมจะเป็นรุ่นพี่ที่อาวุโสกว่า และมีประสบการณ์มากกว่าเขา แต่เพราะ “ความผิดพลาด” ที่เกิดขึ้น ผมจึงได้กล่าวขอโทษและขอบคุณเขาจากที่ใจจริงเมื่อได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น

เพราะความเป็นรุ่นพี่ ผมอาจจะวางตัวเหนือกว่าเขา และเพราะเราไม่คุ้นชินกันมาก่อน เราอาจจะห่างเหินเและเป็นทางการต่อกัน แต่ผ่านทางความผิดพลาดปรากฏออกมาที่ครั้งนี้

ผมเรียนรู้ว่า “ความผิดพลาด” ไม่ใช่เป็นเรื่องไม่ดีเสมอไปครับ “ความผิดพลาด” ครั้งนี้ ทำให้ผมกลับรู้สึกขอบคุณมากที่จิตใจของผมสามารถอยู่ใต้เขาได้ ทำให้ช่วงเวลาในญี่ปุ่นนั้น จิตใจของผมและ “อาจารย์ชอง” ได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันมากๆ ด้วย

ลองคิดตามนะครับ ถ้าหากเราแบ่งจิตใจคนออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ “ฉันถูกต้องเสมอ” ต่อมาเป็น “ในเมื่อคนอื่นบอกให้ฉันทำ ฉันจะทำก็ได้” และสุดท้ายคือ “ฉันอาจจะเป็นฝ่ายผิดก็ได้” แล้วผู้อ่านคิดว่า “ผิดเป็นครู” ใช้ได้กับจิตใจแบบไหนครับ?

ประเภทแรกคือ “คนที่คิดว่าตนถูกต้องเสมอ” จะทำทุกอย่างตามที่อยากทำ ไม่ฟังเสียงคนอื่น นั่นเป็นเพราะไม่เคยรับรู้ถึงข้อบกพร่องของตัวเองอย่างแท้จริง จึงได้แต่ทำตามแบบที่ตัวเองอยากทำเท่านั้น

คนประเภทนี้ถือเป็นคนที่โชคร้ายมากๆ เพราะ ไม่สามารถยอมรับความผิดพลาดของตัวเองที่เกิดขึ้นได้ จึงรับการเปลี่ยนแปลงไม่ได้
แบบต่อมาก็คือ “คนที่คนอื่นบอกให้ทำ จึงลงมือทำอย่างเสียไม่ได้” เพราะไม่อยากขัดแย้ง แม้ว่าจะไม่คิดว่าตนเองมีความผิดพลาดอะไรเลย แต่ก็แค่ทำอะไรไหลไปตามคนรอบข้างเท่านั้น จึงไม่เกิดความเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและยืนยาว

สุดท้ายคือ “คนที่คิดว่าตนอาจเป็นฝ่ายผิดก็ได้” ซึ่งคนประเภทนี้สามารถได้รับการเปลี่ยนแปลงครับ เพราะแม้จะมีความคิดเห็นของตัวเอง แต่ลองยอมทิ้งความคิดของตัวเอง แล้วรับความคิดเห็นของคนอื่นดู จิตใจประเภทที่สามนี้จะเรียนรู้ ยอมรับในคุณค่าคนอื่นได้เสมอ

หลายครั้งเราเชื่อว่า “ความสมบูรณ์แบบ” จะนำไปสู่สิ่งที่ดีที่สุด

แต่หากเราไม่เคยผิดพลาดมาก่อน เราจะเข้าใจถึงจิตใจของคนรอบข้างที่ทำผิดพลาดได้อย่างไร หากเราไม่เคยต้องการความช่วยเหลือ เราจะรู้สึกขอบคุณจากจิตใจได้อย่างไร เมื่อมีมือยื่นเข้ามาช่วยเรา
ถ้าไม่เกิด “ความผิดพลาด” ในสนามบิน ผมคงมีจิตใจที่มีความมั่นอกมั่นใจในสถานะของตัวเองมาก และคงไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดกับ “อาจารย์ชอง” แบบนี้ ซึ่งทำให้ผมเห็นชัดเจนว่าไม่มีอะไรในโลกที่จะเกิดความสุข หรือความสมบูรณ์แบบจากการอยู่แบบเดี่ยวๆ ได้ครับ

ผมเชื่อว่า “ธรรมชาติของมนุษย์” นั้นไม่ได้สมบูรณ์แบบ จึงมีพื้นที่ว่างมากมายในจิตใจที่จะรับความช่วยเหลือ การตักเตือน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาได้อย่างไร้ขีดจำกัดครับ


ดร.(กิตติมศักดิ์) ฮักเชิล คิม
ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ ประจำประเทศไทย
[email protected]

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน