ชำแหละ 250 สว. – จับตาหนุนสืบอำนาจ

จับตาหนุนสืบอำนาจ หลังเห็นโฉมหน้าสมาชิกวุฒิสภา (..) 250 คน มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมามากมาย โดยเฉพาะเป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะกรรมการสรรหาสมาชิกวุฒิสภาที่มีพล..ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะรองหัวหน้าคสช. เป็นประธาน ไม่มีการเปิดเผยรายชื่อกรรมการและกระบวนการสรรหา

นักวิชาการและอดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) มีความเห็นดังนี้

ธนพร ศรียากูล

นายกสมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จับตาหนุนสืบอำนาจ

 

..ชุดนี้น่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์หนักกว่าสภาก่อนหน้านี้ ที่ถูกวิจารณ์ว่าเป็นสภาเครือญาติ รอบนี้ที่ผมบอกว่าหนักกว่า เพราะเห็นจากรายชื่อแล้วเรียกได้ว่าเป็นสภาดับเบิลเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายหมายถึงความสัมพันธ์ในลักษณะที่ทำให้เกิด วิกฤตในประเทศมากว่า 10 ปี จึงบอกได้ว่าเป็นสภาที่มี ความหนักหน่วงกว่าสภาเครือญาติ เพราะเครือข่ายคือคนกลุ่มเดียวกัน ที่ร่วมกันดำเนินการทางการเมืองในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่ามีบทบาทมาก

ส่วนข้อวิจารณ์ที่บอกว่าส..เป็นเครื่องมือในการสืบทอดอำนาจ ของคสช. คงปฏิเสธเรื่องนี้ไม่ ได้ เพราะเป็น รูปแบบมาตรฐาน ที่พอหลังการรัฐประหาร เมื่อร่างรัฐธรรมนูญเสร็จ เลือกตั้งส.. ก็จะตั้งส.. ซึ่งแน่นอนว่า จะเลือกเครือข่ายบุคคลที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดเข้ามา ตั้งแต่ในประเทศไทยมีการปฏิวัติ รัฐประหาร ก็เป็นแบบนี้ มาตลอด

หากคิดกันเพียงว่า เวลาทำงานต้องเลือกคนสนิท มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมาทำงานเพื่อให้เกิดความราบรื่น ผมเห็น ว่าวิธีคิดแบบนี้เป็นการทำร้ายประเทศ เราบอกว่าเห็นแก่เครือข่าย แต่ไม่เคยตั้งคำถามว่าประเทศชาติได้อะไรจากเครือข่ายเหล่านี้ ทำให้บ้านเมืองติดหล่ม ซึ่งในโลกปัจจุบันไม่ควรเกิดขึ้นอีกแล้ว

การเกิดขึ้นของส..ที่ผมขอเรียกว่าสภาเครือข่ายในครั้งนี้ ถือว่าเกิดขึ้นผิดเวลา เพราะตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเห็นแก่ความสัมพันธ์เชิงเครือข่ายแบบนี้

ส่วนวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี จะช่วยทำงานแก้ไขปัญหาให้ประเทศได้หรือไม่ ผมก็อยากให้ดูว่าที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)ขับเคลื่อนงานอะไรได้บ้าง ผมไม่เห็นว่ามีอะไรที่จับต้องได้ และวันนี้เท่าที่ดูอายุเฉลี่ย ของส..ชุดนี้ ต้องพูดตามตรงว่าสูงมาก จึงรู้สึกเป็นห่วง เรื่องโลกทัศน์ว่าอาจมีกรอบความคิดที่เก่า ไม่น่าจะทัน สังคมโลก

ผมมองว่าหน้าที่ส..ชุดนี้คงมีหน้าที่หลักแค่เลือกนายกฯ ส่วนหน้าที่อื่นอย่าคาดหวัง

ผมอยากให้การโหวตเลือกนายกฯ ส..ทั้งหมดพากันงด ออกเสียง แล้วให้ส..ทำหน้าที่ เพราะส..มาจากการ เลือกตั้ง หากทำได้เชื่อว่าจะช่วยสร้างความรู้สึกที่ดีแก่ประชาชนได้มากขึ้น

ประชาชนจะได้มีความหวังว่าอย่างน้อยส..ก็ไว้วางใจต่อเสียงชาวบ้าน

นันทวัฒน์ บรมานันท์

อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

จับตาหนุนสืบอำนาจ 

เมื่อได้เห็นรายชื่อส..แล้วกลับรู้สึกเฉย เพราะตัวเองเป็นนักวิชาการ จึงคาดหวังว่าจะได้เห็นนักวิชาการเข้ามามากกว่านี้ เนื่องจากส..มีหน้าที่สำคัญหลายประการ และต้องอาศัยคนที่มีความรู้ความจัดเจนทางด้านวิชาการต่างๆ บ้าง แต่เท่าที่ดูเห็นรายชื่อนักวิชาการน้อยมาก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งส.. ต้องดูด้านกฎหมายด้วย คนที่เป็นนักกฎหมายจากสายวิชาการ น้อยมาก และส่วนใหญ่จะเป็นคนที่ มาจากสนช. ปฏิเสธไม่ได้ว่าส.. หน้าที่หนึ่งคือตรวจพิจารณากฎหมายที่ส่งมาจากสภาผู้แทนราษฎร ฉะนั้น น่าจะเป็นนักกฎหมายที่ระดับสูงๆ หน่อย ที่พอจะช่วยได้

ส่วนเสียงวิจารณ์เรื่องสืบทอดอำนาจคสช.นั้น ยังดูรายชื่อและปูมหลังของแต่ละคนได้ไม่ละเอียดนัก บางคนไม่รู้จัก บางคนเคยเห็นชื่อเป็นคนในแวดวงการเมือง แต่เป็นการเมืองที่มาจากการ แต่งตั้งเป็นส่วนใหญ่ จึงไม่แน่ใจว่าปูมหลังแต่ละคนเป็นอย่างไร

บางคนเป็นข้าราชการระดับสูง ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้ว่าข้าราชการระดับสูงจะต้องมีจำนวนหนึ่ง แต่อีกจำนวนหนึ่งน่าจะมีตัวแทนจากภาคประชาชนบ้าง คงต้องให้มีการจัดกลุ่มออกมาให้ชัดเจน เช่น กลุ่มภาคประชาชน กลุ่มภาคการเมืองแท้ๆ กลุ่มภาคการเมืองท้องถิ่น กลุ่มอดีตข้าราชการพลเรือน กลุ่มอดีตข้าราชการทหาร อดีตตุลาการ อดีตอัยการ นักกฎหมายในมหาวิทยาลัย นักกฎหมายภาครัฐ จึงจะประเมินได้ว่าเป็นนักกฎหมายจริงๆ เท่าไหร่

เพราะส..จริงๆ แล้วทำหน้าที่กลั่นกรองกฎหมาย และเกี่ยวกับการแต่งตั้งบุคคลเข้าสู่ตำแหน่ง ฉะนั้นคุณสมบัติควรจะต้องมีความหลากหลาย และมาจากหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น จากภาคประชาชนแท้ๆไม่แน่ใจว่ามีหรือไม่ เพราะอย่างน้อยๆ ก็เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยประเภทหนึ่ง

ส่วนการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองที่จะเกิดขึ้นโดยการทำงานของส..นั้น ไม่ทราบเหมือนกัน คงต้องดูว่าแต่ละคน จะเข้ามาทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพแค่ไหน เพราะเป็นเรื่องคุณสมบัติของแต่ละบุคคลจะไปเหมารวมว่าเป็นตัวส..ทั้งหมดไม่ได้

สำหรับการโหวตเลือกนายกฯนั้นอยากฝากว่า ขอให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นตัวแทนประชาชนที่แท้จริง ขอให้ดูว่าคนที่เลือกเข้ามาเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถ เพียงพอที่จะแก้ปัญหาที่หมักหมมมาเป็นเวลานานของประเทศไทยที่ไม่เคยแก้ได้เสียที จะเห็นได้ว่าเมื่อปี 2557 ก็บอกว่ามีปัญหา เมื่อทำงานมา 4-5 ปี วันนี้ก็ยังบอกว่ามีปัญหา

ฉะนั้นส..น่าจะดูคนที่เข้ามาแก้ปัญหาให้กับประเทศชาติได้อย่างจริงๆ เสียที

อังคณา นีละไพจิตร

กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

จับตาหนุนสืบอำนาจ 

สำหรับหน้าตาของส..ชุดนี้ เข้าใจว่ามาจากกระบวนการสรรหาที่เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ แต่ที่มีการวิจารณ์กันคงเป็นเรื่องที่ว่าไม่มีสัดส่วนของภาคส่วนต่างๆ ที่เหมาะสมมากกว่า

อีกส่วนก็เป็นหน้าที่ของคสช.ที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจในการคัดเลือกกรรมการในการสรรหาส.. แต่ท้ายที่สุดก็เป็นหัวหน้าคสช.ที่จะเป็นคนเลือกอยู่ดี ถามว่าผิดหรือไม่นั้นก็คงไม่ผิด เพราะกระบวนการเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

ที่มีเสียงวิจารณ์กันมากเพราะคนคงเห็นว่าที่ผ่านมาเรามีทั้งส..สรรหา และส..ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งมีคนจากหลายภาคส่วนทั้งข้าราชการ อดีตข้าราชการ หรือแม้กระทั่งนักธุรกิจ และส..มีหน้าที่กรองกฎหมายจึงต้องมีความหลากหลาย แต่มาวันนี้ มีการสรรหาเลยทำให้คนมองว่าขาดความหลากหลายในสายอาชีพ

ส่วนที่มีวิจารณ์ว่าเป็นชุดที่สืบทอดอำนาจคสช. คงเป็นไป ตามนั้น เพราะเห็นสื่อมวลชนพยายามสอบถามพล..ประวิตร ท่านก็ตอบว่าทุกอย่างเป็นไปตามกฎหมาย

ถ้าเช่นนี้ขอเสนอให้มีการแก้กฎหมาย เพื่อที่ว่าจะได้มีวิธีการสรรหาส..ที่มีความหลากหลายมากขึ้น เพราะการทำหน้าที่ของส..ต้องมีความรอบคอบทุกด้าน ถ้าได้ส..มาจากภาคส่วนอย่างแท้จริง เชื่อว่าน่าจะพิจารณากฎหมายได้อย่างรอบด้าน

ส่วนวาระของส.. 5 ปี ถ้าไปดูหน้าที่ตามกฎหมาย บางครั้งส..จะต้องพิจารณาบางเรื่องร่วมกับส..ด้วย จึงต้องมีความรอบด้านจริงๆ แต่อยากให้โอกาส ส..ชุดนี้ก่อน ดูการทำหน้าที่ไปสักพักก่อน

อีกอย่างส..ที่ได้มาครั้งนี้ก็ต้องทำหน้าที่เพื่อพิสูจน์ตัวเองด้วย ขอให้รับรู้ไว้ว่าเป็นการทำหน้าที่ที่ต้องอิสระ โปร่งใส เพื่อที่จะขจัดคำครหาเสียงวิพากษ์วิจารณ์การได้มาเป็นส..

อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำแนวทางการเลือกนายกฯ ของส.. อย่างที่บอกว่าส..ก็ต้องทำหน้าที่เพื่อพิสูจน์ตัวเอง ลบคำครหาการได้มาเป็นส..ครั้งนี้

..ต้องทำหน้าที่อย่างอิสระ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกนายกฯ หรือพิจารณากฎหมาย อื่นๆ เพื่อเรียกความเชื่อมั่นให้ประชาชนเห็น

เอกพันธุ์ ปิณฑวณิช

ผอ.สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล

จับตาหนุนสืบอำนาจ 

การสรรหาส..ที่มีพล..ประวิตร เป็นประธานคณะกรรมการสรรหาปิดลับมาตั้งแต่ต้น ไม่มีใครทราบกระบวนการสมัคร หลักเกณฑ์การคัดเลือก ไม่เคยมีใครทราบว่า 400 รายชื่อที่สมัครส..มีใครบ้าง จนได้รับการคัดเลือกและประกาศผลออกมา

ภาพรวมก็เป็นไปตามที่คาดหมายกันว่า เต็มไปด้วยบุคคลที่ใกล้ชิดเคยทำงานร่วมกับคสช. ไม่ว่าจะเป็น รัฐมนตรี สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) คนในครอบครัวคสช. จึงไม่แปลกใจเมื่อทราบทั้ง 250 รายชื่อ

ตามหลักการแล้ว การออกแบบที่มาของส.. จะต้องสอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ ซึ่งหากมีอำนาจมากเช่นการแต่งตั้งถอดถอนเป็นคุณเป็นโทษในทางการเมือง ก็ยิ่งต้องกำหนดให้มาจากการเลือกตั้ง เพื่อให้มีความชอบธรรมในการใช้อำนาจซึ่งยึดโยงกับประชาชน

หากให้อำนาจหน้าที่น้อยแค่กลั่นกรองกฎหมาย ที่มาของสภาสูงอาจมาจากการเลือกตั้งทางอ้อม สรรหา หรือแต่งตั้งก็ได้

แต่รัฐธรรมนูญปี 2560 กลับหัวกลับหาง ให้อำนาจส..แต่งตั้งสูงมาก โดยเฉพาะการลงมติเลือกนายกฯร่วมกับส.. ทว่ากำหนดให้ที่มาของส..มาจากการแต่งตั้งโดยคสช.

เป็นที่รับรู้กันดีว่า 250 ..แต่งตั้งนั้นถูกออกแบบให้เอื้อต่อการสืบทอดอำนาจของคสช. หลังการเลือกตั้ง การที่ยังคาดหวังกันว่า ส.. 250 คน จะลงมติเลือกนายกฯอย่างอิสระ ไม่เลือกพล..ประยุทธ์ แคนดิเดตนายกฯที่แต่งตั้งมานั้น ถือเป็นเรื่องดีที่ ต้องมีความหวังกัน แต่ส่วน ตัวไม่ได้คาดหวัง เพราะกระบวนการที่วางกลไกไว้ผ่านรัฐธรรมนูญปี 2560 นั้น มีภารกิจชัดเจนเพื่อการสืบทอดอำนาจ

การจะเรียกร้องให้ส..ลงมติอย่างอิสระ หรือฟังเสียงส..ในสภาล่าง ซึ่งมาจากการเลือกตั้งนั้น คงเป็นไปได้ยาก เพราะเราไม่อาจรู้ว่า คุณค่าพื้นฐานของมนุษย์ซึ่งจะตัดสินใจโดยอิสระ โดยยึดถือคุณธรรม หลักความเสมอภาค หลักประชาธิปไตย ในตัวส..แต่ละคนเป็นอย่างไร และการจะบอกให้ส..ซึ่งมีความนิยมชมชอบ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ แวดวงคสช. ไม่ให้สืบทอดอำนาจ เขาคงไม่ฟัง

สิ่งเดียวที่จะหวังได้จึงอยู่ที่สภาล่าง บรรดานักการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเป็นส.. ซึ่งสะท้อนความต้องการของประชาชนมาแล้วว่าต้องการอะไร คะแนนส่วนใหญ่ตกอยู่กับพรรคการเมืองที่หาเสียงว่า จะต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.

ถ้าแต่ละพรรคการเมืองยึดถือคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประชาชนตอนหาเสียง การต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ก็จะเป็นไปได้ ประชาชนจึงต้องช่วยกันทวงสัญญาที่ย้อนกลับไปตอนที่นักการเมืองหาเสียงไว้

ถึงแม้ตอนนี้ดูจะมีหลายเงื่อนไขในการเจรจา แต่ประชา ธิปไตยมีความหลากหลาย พรรคการเมืองสามารถมาร่วมกันต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคสช.ได้ โดยที่ไม่เสียจุดยืนในการไปร่วมกับอีกฝ่ายเป็นรัฐบาลก็ได้ เพียงแต่ทำให้การเลือกนายกฯนั้นจบที่สภาล่าง

ตามหลักการของระบอบประชาธิปไตย หากสภาล่าง ทำหน้าที่อย่างเต็มที่แล้ว สภาสูงจะลงมติเลือกใครเป็นนายกฯก็ไม่สำคัญ สังคมจะรับทราบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นได้ทันที

หากส..ฝืนเสียงข้างมากของสภาล่าง เลือกลงมติสืบทอดอำนาจ รัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือเสียงปริ่มน้ำที่เกิดขึ้นก็จะอยู่ได้ไม่เกิน 6 เดือน ถึง 1 ปี

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน