FootNote : พลังนักศึกษา พลังของ คนรุ่นใหม่ พลังที่ ประยุทธ์ คสช. มองข้าม

เมื่อกระหึ่มแห่งเสียง “ออกไป ออกไป” ปรากฏขึ้นไม่ว่าจะที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ว่าจะที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไม่ว่าจะที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หลายคนนึกชม พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ที่ดำรงตำแหน่งด้วยระยะเวลาอันสั้น ๆ แล้วก็หวนกลับไปเป็น “องคมนตรี
เหมือนกับ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อปี 2518
เพราะไม่อยากเป็นเหมือน พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ เมื่อปี 2523 เพราะไม่อยากเป็นเหมือน พล.อ.สุจินดา คราประยูร เมื่อปี 2534
สะท้อนให้เห็นว่า พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ไม่เพียงศึกษาจากอดีต
ไม่ว่าของ พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ หรือ พล.อ.สุจินดา คราประยูร
และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นายสัญญา ธรรมศักดิ์

บรรดานายทหารที่เข้ามาอยู่ในแวดวงการเมืองมักมองเห็นแต่อำนาจที่อยู่ในมือ แต่มองไม่เห็นว่าเมื่อประสบเข้ากับสถานการณ์หลังการเลือกตั้ง ตนเองจะวางไม้วางมืออย่างไร
พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ อาจประสบกับการถูกกดดันจากนายทหารด้วยกันเพื่อเปิดทางให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์
พล.อ.สุจินดา คราประยูร หนักหนาสาหัสกว่าหลายเท่า
ไม่เพียงแต่ปะทะเข้ากับปฏิกิริยาอันมาจากนักการเมือง พรรคการเมือง หากยังประสบเข้ากับฤทธิ์เดชทางการเมืองจากทาหรด้วยกัน อย่างเจ็บปวด
ไม่ว่าจะชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ไม่ว่าจะชื่อ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ์ และยิ่งมองไปยังบุคคลที่อยู่เบื้องหลังนายทหารทั้ง 2 คนยิ่งชวนให้หนาวจนถึงขั้วหัวใจ
นั่นคือบทเรียนในอดีต อดีตที่ไม่ห่างไกลเท่าใดนัก

มาถึงยุคหลังรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 อำนาจอันจัดวางเอาไว้อาจทำให้มั่นใจเป็นอย่างสูงว่าจะสามารถยึดกุมเอาไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
เพราะนักการเมืองและพรรคการเมืองก็ถูกทำลายอย่างเป็นระบบ เป็นกระบวนการ
ตั้งแต่พรรคไทยรักไทยกระทั่งพรรคอนาคตใหม่
แต่ปัจจัยหนึ่งซึ่งคสช.ไม่ได้คาดคิดมาก่อนกลับเป็นพลังของ “คนรุ่นใหม่” พลังของนักเรียน นิสิต นักศึกษา
เสียงตะโกน “ออกไป ออกไป” จึงดังมาจาก “พลังนักศึกษา” นี้
นี่ย่อมเป็นพลังที่ระบอบรัฐประหาร ระบอบคสช. และพรรคการเมืองในเครือข่ายนึกไม่ถึง
นึกไม่ถึงว่าจะปรากฏ นึกไม่ถึงว่าจะจัดการอย่างไร

กดติดตามไลน์ ข่าวสด official account ได้ที่นี่
เพิ่มเพื่อน

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน