FootNote:ยุทธศาสตร์ ‘การชุมนุม’ การเมือง ราชดำเนิน อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

ไม่ว่าการนัดชุมนุมของ ฟรียูธ เยาวชนปลดแอก บนถนนราชดำเนิน ไม่ว่าการนัดชุมนุมของ ทนายอานนท์ นำภา บริเวณหน้ากองบัญชา การกองทัพบก

เหมือนกับเป็นเรื่องประเภท”กลอนพาไป” แต่ทุกจังหวะก้าวล้วนมีเป้าหมายในทาง”ยุทธศาสตร์”

ถามว่าทำไมต้องเป็น “ถนนราชดำเนิน”

ถามว่าทำไมต้องเป็นพื้นที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบก

ดูเผินๆเหมือนกับเป็นเรื่องซึ่งเกี่ยวเนื่องและสัมพันธ์กัน

หากไม่มีนายทหารระดับพันเอกซึ่งเคยเป็นรองโฆษกกองทัพบก โพสต์ข้อความหมิ่นหยามประณามการชุมนุมบนถนนราชดำเนินว่าเป็น “ม็อบมุ้งมิ้ง”

ก็คงไม่เกิดปรากฏการณ์ที่ ทนายอานนท์ นำภา นำมาอ้างเป็นเหตุผลในการนัดชุมนุมบริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบกเกิดขึ้น








Advertisement

ทั้งหมดนี้จึงดำเนินไปในลักษณะ”ขนม”พอสมกับ”น้ำยา”

ไม่ว่ามูลฐานในทางความคิดของฟรียูธ เยาวชนปลดแอกจะเป็นอย่างไร แต่การเลือกจุดนัดพบเป็นถนนราชดำเนิน ทั้งยังเป็น ณ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย มีความหมาย

เป็นความหมายว่าโดยพื้นฐาน ฟรียูธ เยาวชนปลดแอกก็ได้แรง ดาลใจในทางความคิดมาจาก”คณะราษฎร”

เป็นความหมายว่านับแต่รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา พื้นที่ของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยถือว่าเป็นพื้นที่ต้องห้ามอย่างสิ้นเชิง

การเข้าไปจัดกิจกรรมด้วยจำนวนมวลชนมากกว่า 2,000 คนที่มีอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นฉากหลังจึงเป็นครั้งแรก

ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นครั้งแรกของการชุมนุมในยุคหลังสถานการณ์โควิด ยังเป็นครั้งแรกของการชุมนุมมวลชนจำนวนมากกว่า 2,000 ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน

อย่าได้แปลกใจหากการชุมนุมของฟรียูธ เยาวชนปลดแอก ก็ก่อให้เกิดความต่อเนื่องตามมาอย่างคึกคัก

ไม่ว่าการชุมนุมเมื่อวันเสาร์ที่ 18 ไม่ว่าการชุมนุมเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 ล้วนเกิดขึ้นบนถนนราชดำเนินทั้งสิ้น

เพียงแต่วันแรกอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เพียงแต่วันที่สองอยู่ที่บริเวณหน้ากองบัญชาการกองทัพบก อยู่ระหว่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยกับทำเนียบรัฐบาล

นี่คือการขยับและการช่วงชิงในเชิง”พื้นที่”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน