รายงานพิเศษ – ทางออกบิ๊กตู่ ลาออกยุบสภา?

รายงานพิเศษ ทางออกบิ๊กตู่ – ท่ามกลางวิกฤตที่รุมเร้า ทั้งเรื่องความขัดแย้ง การเมือง และเศรษฐกิจ จนเกิดเสียงเรียกร้องให้ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรียุบสภาลาออก

หากข้อเรียกร้องดังกล่าวถูกเมินเฉยขณะที่สถานการณ์มีแนวโน้มบานปลาย

นอกจากยุบสภา ลาออก แล้ว ยังมีทางออกใดบ้างเพื่อหยุดวิกฤตที่จะลุกลาม

วิโรจน์อาลี

คณะรัฐศาสตร์ มธ.

นายกฯคงมองว่าตัวเองมีความจำเป็นต่อชาติบ้านเมืองหากลาออกฝ่ายอื่นเข้ามาก็ไม่มีใครคุมได้แต่ประชาชนมองว่าสุกงอมแล้วทั้งปมเผด็จการความบิดเบี้ยวถูกสั่งสมมาตลอดทั้งเรื่องการเมืองรัฐธรรมนูญเศรษฐกิจเป็นแรงกดดันที่อันตรายและผลักให้คนออกมา

ที่นายกฯ เคยชูเรื่องความมั่นคง วันนี้ไม่ใช่ประเด็น แต่เป็นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องประชาธิปไตย เวลาของนายกฯ เหลือน้อยเต็มที แต่จะคลี่คลายแบบไหนนั้นบ้านเราการคลี่คลายตามกระบวนการไม่ค่อยเกิดขึ้น

ถ้าหันไปทางรัฐประหาร รอบนี้ไม่ใช่ทางออกของสังคม ประเด็นนายกฯคนนอกก็ถูกปฏิเสธ หรือจะยุบสภาใช้กระบวนการปกติ แก้ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยก็จะผ่อนแรงกดดันรัฐบาลได้ แต่ปัญหาคือไม่มีออปชั่นให้เลือก

การปรับครม.ครั้งใหญ่ หรือยกเครื่องทีมเศรษฐกิจจะลดแรงกดดันได้ถ้าที่ผ่านมาทำเพื่อตอบสนองปัญหา กลับปรับเพื่อแก้ปัญหาในรัฐบาล ไม่ได้ปรับเพื่อบ้านเมือง แต่พยายามแบกพวกเดียวกัน พอเจอแรงกดดันทางการเมืองก็ทิ้งทันทีอย่างกรณีของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ หรือกรณี นายปรีดี ดาวฉาย การปรับครม.จึงไม่ช่วยแล้ว และไม่สร้างความเชื่อมั่น

วันนี้ทุกคนรู้แล้วว่าปัญหาไม่ได้อยู่ที่การวางตัวบุคคลแต่ปัญหาใหญ่อยู่ที่ตัวนายกฯเองไม่มีภาวะผู้นำไม่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารองค์ความรู้หรือทำความเข้าใจปัญหาจะเห็นว่าไม่ว่าเปลี่ยนใครแนวนโยบายหลักๆยังเหมือนเดิมมาตรการชิมช้อปใช้บัตรคนจนไม่สามารถแก้ปัญหาได้ยิ่งมาเจอโควิดยิ่งแก้ไม่ได้โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ

หากผ่อนหนักเบาตั้งแต่เลือกตั้งจะลดแรงกดดันได้ แต่มาถึงจุดที่นายกฯ พยายามผูกทุกอย่างเข้ามาไว้ในมือตัวเอง เช่นการตั้ง ศบค.ก็ยึดอำนาจทุกอย่างกลับมาที่ตัวเองศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจก็เช่นกัน

ที่บอกการลาออกจะกระทบต่อการแก้รัฐธรรมนูญ ก็ต้องกำหนดไทม์ไลน์ให้ชัดเจน ตั้งเงื่อนไขว่าถ้าตั้งส...แล้วอีก 1-2 เดือนข้างหน้าจะยุบสภาเพื่อเลือกตั้ง โดยที่ส...ยังทำหน้าที่ต่อ

นายกฯ ต้องถอย ทางออกอื่นไม่น่าจะมี หรือถ้าตื่นมาพรุ่งนี้นายกฯ ทำทุกอย่างที่ควรทำ ลงไปคุยกับม็อบ ดูแลคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดมากที่สุด ไม่ใช่คุยกับนายทุนก่อนถ้าแก้ให้ได้ภายใน 2-3 สัปดาห์อาจรอด

วันนี้แรงกดดันมากจนมองว่าที่ขออยู่ต่อคงไม่ได้ เพราะเริ่มเห็นการขยับของส..ที่ไปร่วมลงชื่อในญัตติฝ่ายค้านแม้จะถอนชื่อแต่ก็เห็นแรงกระเพื่อมเกิดขึ้นแล้ว

เดชรัตสุขกำเนิด

นักวิชาการเศรษฐศาสตร์

รัฐบาลคงไม่เลือกการลาออก ยุบสภา แต่ถ้าถามว่าสุกงอมหรือไม่คงมองไปที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นลำดับแรกมากกว่า เพราะถ้ายุบสภาหรือลาออกภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็น อยู่นี้สุดท้ายคนที่จะเข้ามาก็อาจเป็นคนเดิมหรือคนในสายเดิมเพราะส..ยังคงอยู่ จึงไม่คิดว่าสุกงอมในทางเลือกระดับต้นๆ น่าจะเป็นทางเลือกลำดับหลังมากกว่า

ในทางตรงกันข้ามถ้าทางเลือกนี้จะเกิดขึ้นอาจเกิดในทางกลับกันคือฝ่ายมีอำนาจอยากรักษารัฐธรรมนูญไว้เลยยอมสละรัฐบาลชั่วคราวเพื่อยืดการแก้ไขรัฐธรรมนูญและอาจมีเรื่องที่เขาเห็นว่าควบคุมไม่ได้จึงเชื่อว่าเขาจะผ่อนกระแสโดยให้แก้รัฐธรรมนูญเพียงแต่จะมากหรือน้อยและถึงยอมแก้แต่ใช้เวลานานกระแสกดดันยุบสภาลาออกก็อาจหนักขึ้น

แต่เนื่องจากเข้าสู่กระบวนการแก้ไขแล้ว จึงคิดว่านายกฯต้องหาทางแก้ปัญหาหลักๆ 3 เรื่องเรื่องแรกปัญหาเศรษฐกิจถ้าแก้ไม่ได้เศรษฐกิจจะเป็นปัญหาหนักเรื่องที่สองปัญหาทางการเมืองแม้จะเริ่มเข้าสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้วแต่ปัญหาทางการเมืองความขัดแย้งต่างๆยังดำรงอยู่

สุดท้ายผลกระทบของแต่ละกลุ่มทั้งนักเรียนนักศึกษาข้อเสนอประชาชนจังหวัดต่างๆถ้าแก้ไม่ได้แม้จะไม่มีเรื่องรัฐธรรมนูญใหม่แรงกดดันให้ยุบสภาลาออกก็อาจดังขึ้น

ก็วนกลับมาจุดเดิม ฝ่ายมีอำนาจรัฐคิดว่ารัฐธรรมนูญถูกแก้ กลไกที่เคยได้เปรียบอาจลดลง หาคนอื่นมาทำแทนรัฐบาล แทนนายกฯ ก็อาจเป็นไปได้ ส่วนนายกฯ ก็ไม่มีทางเลือกอื่นมากนักนอกจากทำงานให้ดีกว่าที่เป็นอยู่

ส่วนทางออกด้วยการยกเครื่องทีมเศรษฐกิจชุดใหม่ นายกฯคงยังหาไม่ได้ ถ้าหาได้ก็อาจแก้ปัญหาไม่ได้มากนักเพราะยังมีข้อติดขัดอยู่หลายส่วน ชุดเดิมที่ออกไปก็มีความเป็นทีมอยู่แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง คราวนี้ความเป็นทีมน้อยลงน่าจะแก้ปัญหาอะไรได้ยากขึ้น และถ้าปรับแล้วแก้เรื่องเศรษฐกิจไม่ได้ แม้จะผ่อนด้วยการแก้รัฐธรรมนูญแล้วกระแสยุบสภาหรือให้ลาออกก็อาจกลับมาใหม่

ส่วนกระแสข่าวปฏิวัติ รัฐประหาร ถ้ามีก็คงจบจริง จบในความหมายที่ว่าอนาคตของประเทศก็จบ เพราะตอนนี้สิ่งที่เราต้องการคือการเปิดรับนักท่องเที่ยว การลงทุนต่างๆ ให้กลับมา จึงคิดว่าไม่น่าจะมีความคิดการทำรัฐประหารขึ้นอย่างจริงจัง ยกเว้นคนที่คิดสั้นมากจริงๆ เชื่อว่าเป็นลักษณะการพูดขู่ แต่คิดว่าไม่ค่อยมีใครกลัวคำขู่นี้สักเท่าไร

ยังมองว่า การแก้รัฐธรรมนูญที่ต้นเหตุน่าจะเป็นทางเลือกที่รอมชอมกันได้ในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินว่าจะมีใครมาเป็น ส... และจะมีการแก้ไขลักษณะไหน

ฐิติพลภักดีวานิช

คณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.อุบลราชธานี

การลาออกไม่ได้ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้น แต่ต้องพูดเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ การยกเลิกอำนาจส..โหวตเลือกนายกฯถ้ายกเลิกเรื่องเหล่านี้ได้จะถือเป็นการเปิดทางให้มีระบบมีความเป็นธรรมและเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น

ดังนั้น นายกฯ ลาออก แล้วอำนาจส..ยังอยู่แบบเดิมก็ไม่ใช่ทางออกที่ดี อาจโหวตนายกฯกลับมาก็เป็นได้ จึงไม่ใช่การแก้ปัญหาจริง แต่การแก้ปัญหาจริงๆ ในปัจจุบันคือต้องแก้รัฐธรรมนูญ เพื่อไม่ให้ส..มีอำนาจใดๆ และตราบใดที่ส..มาจากการเลือกของคสช.ทุกอย่างก็คงเหมือนเดิม

ถ้าไม่ลาออกแต่ปรับครม.ในส่วนทีมเศรษฐกิจก็ไม่ถือเป็นการแก้ปัญหาได้จริงเพราะตอนนี้นายกฯก็ดูทีมเศรษฐกิจอยู่ทุกวันนี้เราไม่ได้แต่งตั้งรัฐมนตรีตามความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆแต่อยู่ที่ว่านายกฯจะเลือกใครอยู่ที่ความสัมพันธ์และโควตาพรรค

การให้ลาออกและยุบสภาตอนนี้ แล้วยังอยู่กับรัฐธรรมนูญฉบับเดิมก็ไม่ได้เอื้อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ดังนั้น จึงต้องแก้รัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะบทเฉพาะกาลยกเลิกอำนาจส.. มาตรา 272 ถ้ายกเลิกมาตรานี้แล้วลาออกก็ยังสามารถเลือกตั้งใหม่ได้และจะเป็นเกณฑ์ที่ยุติธรรมมากกว่าและหลายพรรคมีโอกาสเป็นนายกฯมากกว่าพลังประชารัฐ

ถ้าลาออกและยุบสภาตอนนี้ก็เป็นแค่เกมรูปแบบเดิม เพราะ ส..ยังอยู่ ถึงจะเลือกตั้งไปก็เป็นการใช้งบประมาณโดยไร้เหตุด้วย การลาออกหรือยุบสภาไม่ใช่ทางออกเดียวในการแก้ปัญหาได้ แต่การลาออกที่เป็นทางออกที่ดีของประเทศและเป็นประชาธิปไตยก็ต่อเมื่อให้มีการแก้รัฐธรรมนูญและยกเลิกอำนาจส..

แต่ ณ ตอนนี้ ถ้าพล..ประยุทธ์ยังอยู่แล้วไม่แก้รัฐธรรมนูญในสิ่งที่คนส่วนใหญ่อยากให้แก้ไม่ใช่ทำแค่เป็นพิธีกรรมเท่านั้นหมายความว่าต้องแก้ให้รัฐธรรมนูญเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นด้วยซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็จะเป็นเรื่องที่ดี

ส่วนรัฐมนตรีก็ต้องอยู่บนพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และการทำงานของรัฐบาลก็ควรเป็นแนวทางที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ไม่ปิดกั้นเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก แต่ก็มองว่า สิ่งที่กล่าวมานั้นคงเกิดขึ้นได้ยากจากรัฐบาล พล..ประยุทธ์

ตอนนี้จึงยังมองหาทางออกไม่เห็นว่าทางใดจะเป็นจริง นอกจากทางทหารยอมจะเสียอำนาจ ซึ่งเชื่อว่าทหารเองก็ไม่ยอมแน่นอน เพราะคสช.เองยังต้องการรักษาอำนาจ

ส่วนพล..ประยุทธ์ ก็มองแต่ผลประโยชน์ความมั่นคงของกลุ่มคสช.เอง กลุ่มที่เป็นของคนที่สนับสนุนรัฐบาลและทหารเป็นหลัก มากกว่าผลประโยชน์ของประเทศ และการมีประชาธิปไตยของไทยในระยะยาว ตอนนี้เรามองไม่เห็นทางออกได้เลย

พรสันต์เลี้ยงบุญเลิศชัย

คณะนิติศาสตร์จุฬาฯ

รัฐบาลอยู่มา 6 ปี แค่เข้ามาก็มีการตั้งคำถามเรื่องที่มาไม่ชอบกฎหมาย ก่อนโควิดก็มีนิสิต นักศึกษาเคลื่อนไหวคัดค้าน จนเกิดโควิดและสถานการณ์เริ่มซาก็ออกมาอีกการเรียกร้องให้นายกฯ ลาออกจึงไม่เกินความคาดหมาย

คนรุ่นใหม่ออกมาชุมนุมต้านรัฐบาลในเบื้องต้นและเป็นคนขับเคลื่อนแต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าวันนี้มีประชาชนกลุ่มอื่นๆที่ไม่พอใจการบริหารงานของรัฐบาลออกมาร่วมด้วยเพื่อสื่อว่ามีเรื่องสงสัยต่อการใช้อำนาจและสุกงอมมากพอที่ทุกคนจะออกมา

หลายเรื่องเป็นรูปธรรมชัดเจนตั้งแต่นาฬิการองนายกฯ จนถึงคดีบอส ที่ผลสะเทือนเทียบได้กับกรณีออกพ...นิรโทษกรรม ประกอบกับโควิดที่ดูราวกับว่าไทยบริหารจัดการเรื่องการป้องกันได้ดี แต่มาตรการที่ใช้มีผล กระทบต่อเศรษฐกิจอย่างรุนแรง

และตอนนี้สถานการณ์ไปไกลมากกว่าการที่นายกฯจะออกหรือไม่ออก เพราะข้อเรียกร้องไปไกลถึงโครงสร้างทางการเมืองภาพใหญ่ที่เป็นผลมาจากรัฐธรรมนูญ 60 ซึ่งมีที่มาไม่เป็นประชาธิปไตย จนนำไปสู่ข้อเรียกร้องให้แก้รัฐธรรมนูญ

แต่ก็ยังไม่เห็นท่าทีของรัฐบาลต่อข้อเรียกร้องต่างๆ ทำให้ผู้เรียกร้องไม่พอใจ ยังไม่มีการเทคแอ๊กชั่นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลพร้อม หรือรับข้อเสนอไปปรับปรุงทั้งที่ปัญหาหลายอย่างรุมเร้า

ความขัดแย้งที่มีสูงนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่านายกฯ คือหนึ่งในผู้ขัดแย้ง ในปี 2557 นายกฯ บอกเป็นคนกลางเข้ามาสลายความขัดแย้ง มีการกำหนดยุทธศาสตร์ชาติ รัฐธรรมนูญก็เขียนว่าต้องสร้างความปรองดอง แต่บริหารถึงวันนี้ไม่ได้สร้างความปรองดอง แต่มีลักษณะสร้างความแตกแยกขัดแย้ง นักการเมืองหรือแม้แต่ส..ยังออกมาพูดว่าเขาผิดหวังเรื่องปฏิรูปเพราะไม่เห็นว่าจะเกิดการปฏิรูปจริงๆ

ปฏิกิริยาของผู้คนจึงย้อนกลับว่านายกฯ คือหนึ่งในผู้ ขัดแย้ง จึงตั้งเงื่อนไขว่านายกฯ ตองลาออก ยุบสภา ดังนั้น นายกฯ จึงต้องมาฟังผู้ชุมนุม จะลอยตัวเหนือความขัดแย้งไม่ได้ นายกฯ ไม่ใช่กรรมการเข้ามาห้าม 2 ฝ่ายตีกัน

และถ้าเข้ามาแล้วรีบออก สภาวการณ์แบบนี้ไม่เกิด แต่เข้ามานานเกินไป เมื่อเข้ามาอยู่นานปฏิเสธไม่ได้บริหารราชการแผ่นดินใช้อำนาจรัฐทำให้กลายเป็นคู่ขัดแย้งโดยปริยาย ความผิดพลาดคืออยู่ยาว

นายกฯต้องแสดงท่าทีแสดงความจริงใจพูดคุยรับฟังรับข้อเสนอเปิดเวทีคุยเป็นทางการเมืองวางสเต็ปว่าจะทำอะไรบ้างถ้าไม่แก้วันดีคืนดีอาจมีปัจจัยบางอย่างที่บอกไม่ได้ทางการเมืองเนื่องจากวันนี้การเมืองไปเร็วมากแล้วนำไปสู่ความรุนแรงได้

การปรับครม.ปัญหาไม่จบอยู่ดี เพราะคำถามคือปรับแล้วตอบโจทย์ที่หลายคนเรียกร้องหรือ หรือต่อให้ปรับยังไง ผู้ชุมนุมก็ไม่พอใจเพราะเขากำลังสื่อสารกับนายกฯ ไม่ได้ สื่อสารกับครม.

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน