กิดเป็นข้อโต้แย้งกรณีหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลกำกับดูแลกระทรวงสาธารณสุข กล่าวปราศรัยระหว่างลงพื้นที่หาเสียง ประกาศเตรียมแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด กำหนดปริมาณการครอบครองยาเสพติดประเภทแอมเฟตามีน หรือยาบ้าใหม่

จากเดิมผู้ใดมียาบ้าไว้ในครอบครองไม่ถึง 15 หน่วยการใช้ หรือ 15 เม็ด ให้ถือว่ามีไว้เพื่อการเสพ ไม่เป็นโทษความผิดร้ายแรง และพิจารณาให้ผู้นั้นรับการบำบัดรักษาแทนการรับโทษจำคุก

เตรียมแก้ไขใหม่เป็น หากใครครอบครองยาบ้า 1 เม็ด ให้ถือเป็นผู้เสพ หรือผู้ป่วยที่ต้องส่งเข้ารับบำบัดรักษา

แต่หากครอบครองตั้งแต่ 2 เม็ดขึ้นไป จะเข้าข่ายเป็นผู้ค้าทันที ได้รับโทษหนัก ถึงขั้นจำคุก

ต่อเรื่องดังกล่าว พรรคฝ่ายค้านตั้งคำถาม ข้อสงสัยว่า การผลักดันเกณฑ์เช่นนี้ออกมาอ้างอิงผลการศึกษาเชิงประจักษ์ เอกสารทางวิชาการ หรือข้อมูลเชิงสถิติ จากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาประกอบการพิจารณาแล้วหรือไม่ มีข้อบ่งชี้จากผลการศึกษาเหล่านั้นแล้วหรือไม่ ว่าหากปรับเปลี่ยนเกณฑ์เช่นนี้แล้วจะทำให้เกิดการแก้ปัญหาได้จริง

นโยบายป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยเฉพาะยาบ้าของไทยที่ผ่านมา วางอยู่บนหลักการ ที่ว่าต้องแยกผู้เสพออกจากผู้ค้า โดยถือว่าผู้เสพเป็นผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ไม่ใช่อาชญากร

แต่การปรับเกณฑ์การครอบครอง จาก 15 เม็ด เป็น 2 เม็ด ให้สันนิษฐานว่า เป็นผู้ค้า อาจไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ ในการนำผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษา เพราะต้องเข้าไปอยู่ในคุกแทน

คําถามถัดมาคือ จะยิ่งซ้ำเติมปัญหาคนล้นคุกหรือไม่ เพราะจากสถิติร้อยละ 60-70 ของคนที่ติดคุกมาจากคดียาเสพติด และส่วนใหญ่เป็น รายย่อยกว่าร้อยละ 80-90








Advertisement

รวมถึงบางส่วนที่ถูกผลักให้เป็นอาชญากร ต้องโทษจำคุก ทั้งที่หากสืบข้อเท็จจริงเป็นรายบุคคล อาจเป็นเพียงแค่ผู้เสพหรือผู้ป่วยที่ควรต้องได้รับการบำบัดรักษามากกว่าการขังคุก

ที่สำคัญคือการปรับหลักเกณฑ์นี้เป็นเพียงการแก้ปัญหาปลายเหตุ เพราะยาเสพติดเป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างทางสังคมเป็นหลัก การถูกบีบคั้นทางสังคม มีปัญหาครอบครัว ความเหลื่อมล้ำ สภาพแวดล้อมภายในชุมชนที่อยู่อาศัย ฯลฯ เป็นต้น

การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวจึงต้องคิดให้รอบคอบรอบด้าน เพื่อไม่ให้เป็นการแก้ปัญหาหนึ่งแล้วนำไปสู่อีกปัญหาหนึ่ง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน