ารเมืองคมชัดมากขึ้นว่าจะมีการยุบสภาวันจันทร์ที่ 20 มีนาคมนี้ หรือ 3 วันก่อนสภาผู้แทนราษฎรชุดปัจจุบันจะครบวาระวันที่ 23 มีนาคม

กระบวนการตัดสินใจยุบสภาเป็นอํานาจเด็ดขาดของนายกรัฐมนตรี ในการตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ประชาชนทราบ

เหตุในการยุบสภา รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติเหตุการณ์ไว้ ซึ่งในทางปฏิบัติมีหลายสาเหตุ โดยพิจารณาถึงประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

นายกรัฐมนตรีสามารถอ้างเหตุผลใดก็ได้ในการยุบสภาก่อนครบวาระ โดยให้เข้าเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญตามมาตรา 103 วรรคสอง หลักคือการกําหนดวันยุบสภา

ต้องสัมพันธ์กับการกําหนดวันเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต.

ารยุบสภาต้องสัมพันธ์กับวันเลือกตั้งกล่าวคือ ภายใน 5 วันนับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา ให้ กกต.ประกาศกําหนดวันเลือกตั้งทั่วไปในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่มีพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ

หากประกาศยุบสภาวันที่ 20 มีนาคม กกต.ก็ต้องกําหนดวันเลือกตั้งภายในไม่น้อยกว่า 45 วัน ไม่เกิน 60 วัน โดยอาจจะกําหนดให้เป็นวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม อย่างที่เริ่มมีกระแสข่าวใหม่ได้

ที่สำคัญ กรณีเลือกตั้งทั่วไปเพราะเหตุยุบสภา ผู้สมัครส.ส.ต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคการเมืองเดียว ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 30 วันนับถึงวันเลือกตั้ง ตามมาตรา 97(3)








Advertisement

ดังนั้น ในกรณียุบสภาวันที่ 20 มีนาคม ผู้สมัครส.ส.จะต้องสังกัดพรรคภายในวันที่ 14 เมษายน

ารประกาศยุบสภาก่อนครบวาระไม่กี่วัน ไม่ถือเป็นเรื่องผิดปกติทางการเมือง ในอดีตเคยมีผู้นำรัฐบาลทำเช่นนี้มาแล้ว

การเลือกตั้งครั้งนี้ ชัดเจนว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะเป็นบุคคลหนึ่งเดียวในบัญชีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรครวมไทยสร้างชาติ เพื่อกลับมาครองอำนาจสมัยที่ 3 ต่อเนื่องปี 2557 และ 2562

และจากเดดไลน์ผู้สมัครส.ส.ต้องสังกัดพรรคเดียวติดต่อกัน 30 วัน ภายในวันที่ 14 เมษายน ทำให้นับจากนี้ต้องจับตาปรากฏการณ์นักการเมืองบ้านเล็ก บ้านใหญ่ บ้านใหม่เคลื่อนไหวย้ายพรรคอีกระลอก ตามอุดมการณ์ ตามพลังดูดหลากหลายรูปแบบ

ประชาชนจะต้องช่วยกันจับตามองปรากฏการณ์เหล่านี้ เพื่อตัดสินใจในวันเลือกตั้ง โดยเน้นนักการเมืองที่มีอุดมการณ์เป็นสำคัญ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน