มธ.จัดรำลึก 6 ตุลา 19 เผย 42 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม

6 ตุลา 19 – เมื่อวันที่ 6 ต.ค. ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จัดงานครบรอบ 42 ปี 6 ตุลาคม 2519 โดยเริ่มงานตั้งแต่ช่วงเช้า มีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 19 รูป จากนั้นตัวแทนองค์กรต่างๆวางพวงมาลา และดอกไม้ปฏิมานุสรณ์ 6 ตุลาคม 2519 ผู้แทนองค์กรและบุคคลกล่าวไว้อาลัย วีรชน 6 ตุลาคม 2519 ต่อด้วย เลขาธิการองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ่านบทกวีรำลึกวีรชน 6 ตุลาคม

นายบุญสม อัครธรรมกุล ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงบทเรียนจากเหตุการณ์ประวัติศาสตร์การเมืองไทย 6 ตุลาคม 2519 สู่การตระหนักถึงการเมืองที่กำลังจะเข้าสู่การเลือกตั้งที่อาจเกิดความขัดแย้งเห็นต่างว่า เป็นปกติที่จะเกิดความเห็นต่างในสังคม แต่ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละยุคสมัยจะมีการจัดการความขัดแย้งอย่างไร แม้หลายคนยังคิดว่ารากเหง้าความขัดแย้งยังคงดำรงอยู่ ไม่เพียง 6 ตุลาฯ ยังรวมถึงเหตุการณ์ปี 2552 ,2553 และ 2557 โดยเชื่อว่าจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น นั่นเพราะการใช้ความรุนแรงหรือเข่นฆ่าทำลายกันไม่ได้เป็นการแก้ไขปัญหา

มธ.จัดรำลึก 6 ตุลา 19 เผย 42 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม 

มธ.จัดรำลึก 6 ตุลา 19 เผย 42 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม

การจัดงานวันนี้จึงหยิบยกเรื่อง “สันติประชาธรรม” ของศาสตราจารย์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ ที่ชี้ว่าจะเป็นวิธีที่แก้ปัญหาความขัดแย้งได้ ซึ่งหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ช่วงใกล้เข้าสู่การเลือกตั้งที่จะมีการต่อสู้ทางการเมืองที่จะเกิดการเสนอความคิดโจมตีฝ่ายตรงข้าม โดยต้องว่าไปตามกระบวนการยุติธรรม

หากเกิดการปลุกระดมเกิดความไม่พอใจในสังคม และหวังว่าการต่อสู้ทางการเมืองของแต่จะพรรคจะเกิดความสร้างสรรค์ เมื่อเทียบกับการเมืองการเลือกในต่างประเทศ ไม่ได้ต่างกันแต่ต้องยอมรับว่าพลเมืองของประเทศเค้ามีการจัดการมีวิจารณาญาณที่ต่างกัน และเชื่อว่าการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นอาจจะดีกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา

“การสืบทอดอำนาจไม่ได้มีแต่ในไทย ซึ่งต่างประเทศก็เคยเกิดขึ้น โดยขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการและป้องกันความขัดแย้ง แม้เหตุการณ์หลังการเลือกตั้งอาจเกิดขึ้นกรณีเกิดขั้วเห็นต่างระหว่างกลุ่มที่ไม่เอาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กับ กลุ่มที่สนับสนุน

หากรัฐบาลหลังการเลือกตั้งเร่งการแก้ไขปัญหาพื้นฐานของสังคมประชาชนได้ดี ประเด็นเรื่องความขัดแย้ง เอาหรือไม่เอา คสช.จะเลือนหายไป ซึ่งเชื่อว่าทหารจะมีการสุรปวิเคราะห์บทเรียน เพราะถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ”นายบุญสม กล่าว








Advertisement

จากนั้น เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการในวาระ 42 ปี 6 ตุลาคม 2519 หัวข้อ”เหตุการณ์ 6 ตุลา กับอาจารย์ป๋วย” โดยมีนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ม.ร.ว.สายสวัสดี สวัสดิวัตน และนายจอน อึ๊งภากรณ์ ผอ.โครงการอินเตอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน(ไอลอว์) เป็นวิทยากร

นายชาญวิทย์ กล่าวว่า บทเรียนจากอดีตและเหตุการณ์ 6 ตุลา ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก หากเราไม่เรียนรู้ประวัติศาสตร์ หลายอย่างก็อาจจะกลับมาซ้ำรอยได้เหมือนเช่นทุกวันนี้ ที่หลายเหตุการณ์คุ้นๆ เหมือนเคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นหากมองกลับไปยาวๆ ไปถึงช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ทำให้เห็นว่าเส้นทางเดินของประชาธิปไตยที่เป็นมา

42 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม 

42 ปีผ่านไป ประเทศไทยยังอยู่ที่เดิม

หากเราไม่เรียนรู้ประธิปไตยจริงๆ เราก็ไม่มีทางจะใช้วิธีสันติวิธีหรือสันธิประชาธรรมได้เลย โดยเฉพาะในช่วงนี้ถือว่าประชาธิปไตยมีความสำคัญมาก ดังนั้นต้องมองกลับไปอดีตแล้วคำนึงถึงปัจจุบัน และเฝ้ามองไปสู่อนาคต ซึ่งเหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นเสมือนแสงสว่างปลายอุโมงค์ให้พวกเราทุกคนต้องเดินต่อไป

“ช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา มีการผลิตซ้ำและกล่าวใส่ร้าย ซึ่งผ่านมากว่า 42 ปี วันนี้ยังมีการผลิตซ้ำมากมายมหาศาล โดยเฉพาะใกล้เข้าช่วงเลือกตั้ง ที่จะมีหรือไม่มีก็ไม่ทราบ แต่จะถึงฤดูป้ายสี สาดโคลนใส่กัน ซึ่งน่าสนใจมากที่ 42 ปีผ่านไปเรายังอยู่ที่เดิม

ไม่น่าเชื่อ อาจไม่ถึงกับประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเลย แม้ดูคล้ายๆ ดูเผินๆ อาจใช่ แต่มีสีสันที่เปลี่ยนแปลงไป และ ณ วันนี้เรามารำลึก 6 ตุลา ไม่กี่วันก็ 14 ตุลา ที่เราจัดรำลึกกันใหญ่ แต่น่าสนใจมากๆ ว่า หลังจากนี้กำลังมีอะไรเกิดขึ้น”นายชาญวิทย์ กล่าว

ขณะที่นายจอน กล่าวว่า ประเทศไทยในช่วงเวลานั้นมีการกล่าวใส่ร้ายคนที่มีความคิดประชาธิปไตยและมีความคิดก้าวหน้า ผ่านเครือข่ายสถานีวิทยุของทหาร สถานีวิทยุยานเกราะที่เปิดให้คนมาออกอากาศโจมตีบุคคลต่างๆ บรรยากาศมีแต่ความเครียด ขณะที่ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่จากประเทศไทยในขณะนั้นไม่รอบด้านโดยเฉพาะข้อมูลที่เกี่ยวกับนักโทษทางการเมือง

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน