นักวิชาการท้าให้ฟ้อง “ประเทศกูมี” จะได้รู้พูดเรื่องเท็จ หรือ พูดเรื่องจริง!

นักวิชาการท้าให้ฟ้อง / วันที่ 31 ต.ค. ที่ห้องประชุมประกอบ หุตะสิงห์ ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) จัดงานเสวนา หัวข้อ “ศิลปะ อำนาจ และการขัดขืน” โดยมี นายภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ น.ส.สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ นายถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ นายสุชาติ แสงทอง นักวิชาการด้านเพลงการเมือง ศึกษาเพลงปฏิวัติ ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ร่วมเสวนา

นายอนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นกับประเทศกูมี แตกต่างออกไป เมื่ออผู้มีอำนาจขู่ ผลกลับตาลปัตร ยอดวิวจาก 9 แสนเป็น 9 ล้าน สังคมนี้ยังมีหวัง คนรู้สึกถึงการปราบการกดขี่ที่ยาวนานเกินไป ความขัดแย้งกระทบกับคนมที่ไม่เกี่ยวข้องอะไร แต่ต้องอยู่ต่อไป โดยไม่รู้อิโหน่อิเหน่อะไร จึงนำไปสู่การดูและส่งต่อ

อย่างน้อยที่สุดยังมีคนจำนวนมากในประเทศนี้ ยังเชื่อในความเสมอภาค สิทธิเสรีภาพ นิติรัฐนิติธรรม อย่างสุจริต เราจะใช้ศิลปะเป็นการช่องทางในการขัดขืนต่อต้านอำานจที่กดขี่ไว้ได้อย่างไร อย่างน้อยทำให้อำนาจขยับต้องปรับตัว มีความหวังเราไม่ยอมการกดปราบผ่านการใช้อำนาจดิบหยาบอีกต่อไป

นายภาสกร กล่าวว่า เอ็มวี ผู้กำกับอย่างพี่เปีย ผมตีความว่า การใช้แค่เหตุการณ์ 6 ตุลา คนล้อมดูเก้าอี้ฟาดศพที่ถูกแขวนนคอ มันกำลังตั้งคำถามว่า คุณเห็นความรุนแรงอยู่ตรงหน้า คุณสนุกสนานได้อย่างไร ทุกวันนี้เราอยู่กับอำนาจที่บอกว่าความรุนแรงที่ทำกับเรา บอกทำอะไรได้ไม่ได้ แต่ก็มีคนอีกกลุ่มกลับยืนดูสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยความสะใจ ว่า คนเหล่านี้ยังรื่นรมย์กับความรุนแรงที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างไร

น.ส.สาวตรี กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสรุปได้ตามเนื้อเพลงประเทศกูมี ว่า ประเทศที่รัฐบาลไม่มีใครกล้าลบหลู่ ประเทศที่มีกฎหมายไว้ให้ตำรวจข่มขู่ เขาถอยไม่ได้เพราะตาสว่าง ซึ่งหลายต่อหลายครั้งรัฐจะงัด พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 14 (2) การนำข้อมูลสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ ส่งผลต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนก องค์ประกอบความผิดของกฎหมายมาตรานี้ ต้องมี การนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ และต้องน่าจะเกิดความเสียหาย

เท็จคือต้องโกหก แต่ในเนื้อร้อง ไม่ปรากฎสิ่งที่เป็นเท็จ หลายเรื่องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในประเทศไทย

ส่วนกรณีน.ส.มัลลิกา สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ เสนอให้ฟ้องประเทศกูมีด้วยกฎหมายอาญา มาตรา 116 ฐานยุยงปลุกปั่น ถือว่า เล่นแรง ไม่เข้าข่าย เพราะมีรัฐธรรมนูญรองรับ การต่อต้านกับคณะรัฐประหารนั้นสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ไม่ได้มีเนื้อเพลงชักชวนก่อให้เกิดความรุนแรงด้วยกำลังแต่อย่างใด มีแต่การชักชวนให้ชูนิ้วกลางเท่านั้น ใจจริงอยากท้าให้ฟ้องจะได้สู้กันในศาล เพื่อให้ชัดเจนกันนว่าอันไหนจริงอันไหนเท็จ

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน