หาดูยาก! ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง สมัยจอมพล ป. ต้นแบบพรรคทหาร สู่การเลือกตั้งสกปรก

ภาพประวัติศาสตร์หาชมยาก! เมื่อเพจ Silapawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม ได้โพสต์ภาพ ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง สมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลัวกาผิดเบอร์ก็หยิบขึ้นมากางดูได้ ซึ่งจะเป็นภาพของสมาชิกพรรคแต่ละคน พร้อมระบุหมายเลขประจำตัวผู้สมัครเลือกตั้ง และมี จุด บอกจำนวนสำหรับผู้ที่อ่านตัวเลขไม่ออก และมีข้อความขนาดใหญ่เขียนว่า “กรุณาเลือก”

เจ้าของพรรค ผ้าเช็ดหน้าหาเสียง นี้ก็ไม่ใช่ใครที่ไหน นั่นก็คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ที่มี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นเลขาธิการพรรค

อ.สรุชาติ บำรุงสุข ได้เขียนบทความ เจาะเวลาหาอดีต (1) พรรคทหารจอมพล ป. สู่ จอมพล ส. ในคอลัมน์ยุทธบทความ แห่ง มติชนสุดสัปดาห์ ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับ พรรคเสรีมนังคศิลา ไว้ตอนหนึ่งว่า กำเนิดของพรรคทหารที่อาจจะถือว่าเป็นตัวแทนของการที่ผู้นำทหารไทยอยากมีบทบาทผ่านระบบพรรคการเมืองนั้น คงต้องถือว่า พรรคเสรีมนังคศิลา ที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งในวันที่ 29 กันยายน 2498 คือ “ต้นแบบ” ของพรรคทหารในการเมืองไทยสมัยใหม่

ความชัดเจนว่าพรรคนี้คือพรรคทหารก็เพราะมี จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นหัวหน้าพรรค และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ เป็นเลขาธิการพรรค

ไม่พลาดข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

ความน่าสนใจของการแข่งขันของพรรคการเมืองในขณะนั้นก็คือ เมื่อผู้นำทหาร-ตำรวจของ “สายราชครู” จัดตั้งพรรคเสรีมนังคศิลาขึ้นนั้น ผู้นำทหารสาย “สี่เสาเทเวศร์” อย่าง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็สนับสนุนแนวทางเดียวกันด้วยการจัดตั้ง พรรคสหภูมิ ขึ้นในวันที่ 25 มกราคม 2500 พรรคนี้มี นายสุกิจ นิมมานเหมินท์ เป็นหัวหน้าพรรค และ นายสงวน จันทรสาขา น้องชายต่างมารดาของจอมพลสฤษดิ์ เป็นเลขาธิการพรรค

ถ้าพรรคเสรีมนังคศิลามีนโยบายสนับสนุนจอมพล ป. เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคสหภูมิก็มีนโยบายสนับสนุนจอมพลสฤษดิ์เป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้นำทหารในยุคนั้นยอมรับกฎกติกาของระบอบการเลือกตั้งว่าการมีอำนาจของพวกเขาจะต้องดำเนินการผ่านระบบพรรคการเมือง ดังนั้น จึงมีการวางแผนเตรียมการล่วงหน้าที่ผู้นำทหารจะ “เล่นการเมือง” ภายใต้กรอบกติกาของการเลือกตั้ง ไม่ใช่การใช้วิธีรัฐประหารแบบเก่า

ก่อนที่จะเข้าไปสู่เหตุการณ์ การเลือกตั้งสกปรก จนสร้างความวุ่นวายให้กับประเทศ และมีการกล่าววลีในตำนาน พบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ

คลิกอ่านบทความเต็ม

 

ที่มา Silapawattanatham – ศิลปวัฒนธรรม มติชนสุดสัปดาห์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน