ประเด็นร้อน : เลือกตั้งก..62‘ฟรีแฟร์สำหรับใคร?

หมายเหตุ : เมื่อวันที่ 19 .. ที่อาคารจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงานเสวนาเลือกตั้ง กุมภาฯ 62 ฟรีและแฟร์สำหรับใคร?” เนื้อหาสาระอภิปรายถึงสถานการณ์ทางการเมือง ระหว่างการเดินหน้าเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ช่วงต้นปี 2562 ตลอดจนแง่มุมความได้เปรียบเสียเปรียบ ความเสรี เป็นธรรม และบรรยากาศทางการเมืองภายหลังการเลือกตั้ง

อนุสรณ์ อุณโณ คณบดีคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทย ม.ธรรมศาสตร์ และเครือข่าย FFFE

การจัดสรรอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เกิดความไม่ไว้ใจ เกิดความสัมพันธ์ใหม่ระหว่างผู้นำกับประชาชน ที่ไม่ใช่การแผ่ส่วนบุญจากข้างบนลงข้างล่าง แต่เป็นการได้รับตามสิทธิที่พึงมีพึงได้ สุดท้ายต้องใช้รัฐประหารมาปิดเกม อ้างเผด็จการรัฐสภา

พอล้มรัฐบาลประชานิยม ก็เกิดประชานิยมในรัฐบาลนั้นลุกขึ้นมาสู้มาปกป้อง อย่างกลุ่มคนเสื้อแดง แล้วการเลือกตั้งก็กลับมาเมื่อปี 2554 รัฐประหาร 2549 ก็กลายเป็นเสียของ

ก่อนจะมาปิดเกมด้วยรัฐประหาร 2557 อีก โดยมีเดิมพันคือ จะต้องไม่เสียของอีกต่อไป หวังให้เครือข่ายอนุรักษนิยมหวนคืนกลับมาได้

ด้วยการสร้างความได้เปรียบผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ทำให้พรรคการเมืองอ่อนแอซึ่งเป็นคู่ปะทะของพวกเขา ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มากำกับการสร้างนโยบายให้พรรคการเมืองได้รับความนิยม ตัดขาดความสัมพันธ์ระหว่างนักการเมืองกับพรรคการเมือง ให้เลือกตั้งใบเดียวแบบแบ่งเขต ให้รู้จักแต่นักการเมืองที่ลงใน ท้องถิ่นตนเอง ทำให้ส..อ่อนอำนาจลง เพราะเปิดช่องให้ 250 ..ที่มาจากแต่งตั้ง มีอำนาจเลือกนายกฯ ร่วมกับส..

ทั้งยังสร้างความได้เปรียบผ่านการเป็นรัฐบาล หว่านเม็ดเงินลงไปยังคนระดับล่าง อย่างประชารัฐ ที่ประสบความสำเร็จในการร่วมงานกับกลุ่มทุนใหญ่ มี 4 รัฐมนตรีของรัฐบาลคสช. ไปจัดตั้งพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) นายกฯเองก็บ่ายเบี่ยงเหนียมอาย ประกาศจะเป็นนักการเมือง แต่ไม่ยอมลาออก ทั้งที่จะถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ

ขณะเดียวกันก็ตัดกำลังคู่แข่ง ดูดส..พรรคเพื่อไทย พรรคประชาธิปัตย์ ใช้คดีในการกดดันต่อรอง กฎหมายอย่างพ... คอมพิวเตอร์ ก็มีความสำคัญ ในการคุมการเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายตรงข้ามในโซเชี่ยล กฎหมายอาญามาตรา 116 ก็ถูกนำมาใช้ไปด้วย ความมั่นคงของชาติกลายเป็นของรัฐบาลไปด้วย กฎหมายพรรคการเมืองก็ ยิ่งชัดเจน จ้องทำลายความ เข้มแข็งของพรรคการเมือง กติกาไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการแข่งขันที่เสรีและเป็นธรรม

พร้อมกันนั้นก็กันคนนอกออกไป ไม่ให้ต่างชาติมาสังเกตการณ์ หากเป็นแบบนี้ พวกเขาไม่เสียของแต่เราเสี่ยงที่จะได้ของเสียคือ ได้รัฐบาลที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชน ตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาล่าง เพราะมี 250 ..ที่มาจากแต่งตั้ง นำมาซึ่งรัฐบาลที่ผูกกับทุนใหญ่ แบบที่ผ่านมา เจอกับระบบรัฐราชการเช้าชามเย็นชาม

กลายเป็นสังคมที่ปิดหูปิดตาปิดปากต่อไป ถูกควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ เป็นอประชาธิปไตย กลายเป็นสังคมล้าหลัง กลายเป็นตัวตลกให้ชาวโลก ผู้นำจะถูกเย้ยหยัน ไม่มีความสง่างาม

วิกฤตความขัดแย้งจะหยั่งรากลึกและยาวนานต่อไป เพราะการเลือกตั้งที่ถูกใช้แก้ความขัดแย้ง ไม่สามารถทำงานได้ ส่วนจะนำไปสู่การนองเลือด หรือไม่นั้น ตลอด 4 ปีกว่าที่ผ่านมา กลุ่มการเมืองจัดตั้งถูกทำลายลงหมด จึงไม่อาจเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ แต่จะสั่งสมให้ขัดแย้งกันมากและรุนแรงขึ้น

โอกาสที่จะได้ของดีหลังการเลือกตั้งคือ 1.รัฐบาลคสช.ต้องเปลี่ยนสถานะเป็นรัฐบาลรักษาการ ไม่ควรดำเนินนโยบายโครงการใหญ่ที่จะผูกพันรัฐบาลต่อไป รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายด้วย ผู้บริหารพรรคการเมืองที่เป็นรัฐมนตรีก็ควรลาออก หยุดการใช้อำนาจมาตรา 44 ที่ให้คุณให้โทษแก่พรรคการเมือง ยกเลิกคำสั่งเดิมที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพทางการเมือง

คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)ควรทำหน้าที่เป็นอิสระอย่างแท้จริง ไม่ใช่ขานรับคสช. กกต.ต้องจัดการเลือกตั้งให้บริสุทธิ์ยุติธรรมตามหน้าที่

สิริพรรณ นกสวน สวัสดี หัวหน้าภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้เป็นทาง 3 แพร่ง มีความเป็นไปได้ 3 ทิศทาง ทิศทางแรก เปลี่ยนผ่านสำเร็จ มีรัฐบาลเลือกตั้ง เคารพเสียงของประชาชน เปลี่ยนไปสู่ประชาธิปไตย แต่ถือว่าแสงค่อนข้างสลัว ยังต้องการไฟฉายส่องสว่างจากประชาชนจำนวนมาก

ทิศทางที่สอง อาจกลายเป็นเขาวงกตแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ตอกย้ำความไม่มีเสถียรภาพ ตกเป็นเครื่องมือของกลุ่มอำนาจนิยมที่ ใส่เสื้อกั๊กประชาธิปไตย ใช้การเลือกตั้งเป็นข้ออ้าง

และทิศทางที่สาม อาจกลายเป็นความขัดแย้งทางการเมืองรอบใหม่ เหมือนที่เคยเกิดขึ้นในปี 2535 ซึ่งทุกทิศทางหลังการเลือกตั้ง ทุกคนจะได้รับผลกระทบ

การประเมินสถานการณ์การเลือกตั้ง ต้องมองจากมิติ 4 ด้านคือ 1.กติกาและโครงสร้างการแข่งขัน ในรัฐธรรมนูญ 2560 การเลือกตั้งผ่านบัตรใบเดียว ได้ผล 3 เด้ง ตามที่ให้เลือกส..เขต ที่จะแปลงเป็นคะแนนส..บัญชีรายชื่อ และยังหมายถึงการเลือกนายกฯที่อยู่ในบัญชีของพรรคการเมือง ซึ่งมีความสับสน ยากต่อการตัดสินใจ ไม่มีสายโซ่ในการตรวจสอบถ่วงดุล

ไม่มีใครรู้เลยว่า ประชาชนตัดสินใจเลือกจาก ส..เขต พรรค การเมือง หรือรายชื่อนายกฯในบัญชี ซึ่งมี 3 คน ต่างจากเดิมที่รู้กันว่า เบอร์ 1 ของส..บัญชีรายชื่อจะถูกเสนอให้เป็นนายกฯ ขณะที่ส.. ก็มีอำนาจในการเลือกนายกฯ ความเชื่อมโยงกับประชาชนก็จะ ยิ่งหายไป

2.ตัวแสดงทางการเมือง ผู้มีอำนาจสวมหมวก 2-3 ใบ เป็นทั้ง คสช. รัฐบาล และพรรคการเมือง ทำให้เกิดคำถามว่า จะเสรีและเป็นธรรมอย่างไร ในเมื่อคสช.ดูเหมือนจะส่งคนลงมาในพรรคการเมือง มีการใช้มาตรา 44 ต่อเวลาให้กกต.แบ่งเขตเลือกตั้ง บางพื้นที่ไม่มีเขตติดต่อ เข้าลักษณะการแบ่งเขตเลือกตั้งไม่เป็นธรรม ทำให้ประชาชนสงสัยว่า กติกาที่ผู้เล่นบางกลุ่มเป็นผู้ร่างจะเป็นธรรมได้อย่างไร

ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังมีคำถามว่า จะเป็นกลางเป็นธรรมกับทุกฝ่ายได้อย่างไร ตอนนี้กลายเป็นตำบลกระสุนตก

3.ภูมิทัศน์ของสื่อ ในฐานะตัวกลางถ่ายทอดอัตลักษณ์ของพรรคการเมือง ซึ่งโซเชี่ยลมีเดียมีบทบาทมาก กกต.จะต้องเข้ามา มอร์นิเตอร์ สื่อสำคัญมาก เพราะจะช่วยกำหนดวาระทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องเป็นกลาง แต่ขอให้เป็นธรรม อย่าให้มีการเอาเปรียบกัน ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจรัฐ หรือการซื้อเสียง

4.บริบททางการเมือง ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ยังอยู่ภายใต้อำนาจคสช. กลไกอำนาจรัฐ กอ.รมน. นักการเมือง ท้องถิ่น ยังอยู่ภายใต้คสช. ยังมีบทบาทสำคัญ หลายพรรคการเมืองลงพื้นที่หาเสียงก็ถูกประกบ จะมีมาตรา 44 เปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งอีกหรือไม่ ไม่มีใครรู้

หลังการเลือกตั้ง สิ่งที่ควรเฝ้าระวังคือ คะแนนหน้าหน่วย จะเป็นคะแนนชุดเดียวกันกับที่จะไปรวม เพื่อคิดคะแนนส..บัญชีรายชื่อ หวังว่า กกต.จะให้ความเป็นธรรมกับผู้สมัครทุกฝ่าย ซึ่งการวิเคราะห์ผลการเลือกตั้ง ในรอบ 8 ปี ทำได้ยากมาก ไม่อาจคาดการณ์พฤติกรรมคนได้ สามารถแบ่งได้เพียงฝ่ายสืบทอดอำนาจ ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ และฝ่ายที่ยังไม่ชัด แต่พร้อมจะเป็นบันไดให้คสช.สืบทอดอำนาจ

สุดท้าย คือการถ่ายโอนอำนาจ ที่ทำนายได้ว่า แม้จะแพ้เสียงในสภาล่าง แต่มีเสียง 250 ..แต่งตั้งรอตั้งรัฐบาลอยู่แล้ว จะทำให้ต้องจับตาว่า เมื่อมีธงรอไว้แล้ว การเลือกตั้งจะมีความหมายหรือไม่

จึงขอเรียกร้องให้ส..แต่งตั้งเคารพเสียงของประชาชน ด้วยการโหวตเลือกนายกฯตามเสียงส.. ที่ประชาชนเลือกเข้ามา

ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์

การออกแบบการเลือกตั้งครั้งนี้ เกิดจากการเก็บข้อมูลการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างละเอียด ซึ่งเอื้อให้กับระบบ 2 พรรคครึ่ง คือพรรคใหญ่ 2 พรรค และพรรคขนาดกลางร่วมรัฐบาล แต่ไม่ว่าจะออกแบบระบบการเลือกตั้งอย่างไร ขึ้นกับพฤติกรรมการลงคะแนนของคน ซึ่งอาจตรงกันข้ามกับระบบที่ออกแบบเอาไว้ก็ได้

มีเทคนิคที่จะทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม หลายแบบคือ 1.โกงการเลือกตั้งแบบงานหยาบ อย่างโจ่งแจ้ง พรรคนั้นไม่ได้ความนิยม แต่อาจใช้กลไกรัฐ เจ้าหน้าที่หน่วย ขโมยผลการเลือกตั้ง เพิ่มคะแนนให้ตัวเอง ประเทศไทยเคยมีแบบนี้ สมัยจอมพล ป. พรรคเสรีมนังคศิลา ในการเลือกตั้งเมื่อพ..2500 หากมีการจับตาการเลือกตั้ง จากภายในและต่างประเทศ จะทำให้สื่อและประชาชนเห็นได้ทันที

2.โกงแบบงานละเอียด เพราะมีการออกแบบกติกาสร้างให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบแบบแนบเนียน เพราะในยุคของโซเชี่ยลมีเดีย จะโกงแบบโจ่งแจ้ง ให้คนรู้เท่าทันไม่ได้

การเลือกตั้งครั้งนี้จะเป็นตัวตัดสินว่า จะเปลี่ยนผ่านจากระบบอำนาจนิยมไปสู่อะไร ตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านคือ อินโดนีเซีย ที่มีการเลือกตั้งสม่ำเสมอ ทุกฝ่ายยอมรับผลการเลือกตั้ง ไม่มีความรุนแรง เพราะเสรีและเป็นธรรม ประเทศเดินหน้าต่อไปได้ มีเสถียรภาพ

ส่วนตัวมาเลเซีย เป็นระบบอำนาจนิยม เผด็จการ ที่ใช้การเลือกตั้ง แต่คุมผลให้ฝ่ายตนเองชัด มีหลายวิธีออกแบบเขตเลือกตั้งไม่เป็นธรรม กำหนดวันเลือกตั้งในวันธรรมดา ให้คนไปใช้สิทธิ์น้อย การหาเสียงมีข้อห้ามกีดกันโดยละเอียด ห้ามใช้ภาพมหาธีร์หาเสียงเลือกตั้ง ห้ามใช้โซเชี่ยลมีเดีย ที่ฝ่ายค้านเชี่ยวชาญมากกว่ารัฐบาล

แต่ที่น่าสนใจคือ ผลออกตรงข้ามกับที่รัฐบาลต้องการ ประชาชนรู้สึกว่า รัฐบาลทำลายฝ่ายตรงข้ามมากไป จนรัฐบาลพรรค UMNO แพ้อย่างถล่มทลายในรอบ 60 ปี

สะท้อนว่า ถ้าประชาชนมาใช้สิทธิอย่างล้มหลาม ไม่ว่ารัฐบาลควบคุมแค่ไหน ก็ไม่มีใครกำหนดพฤติกรรมการลงคะแนนของประชาชนได้

การวิเคราะห์การเลือกตั้งไทย ยังคงอิงกับการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา บนพื้นฐานผู้มาใช้สิทธิ์ 75 เปอร์เซ็นต์ หากการเลือกตั้งครั้งนี้ไปใช้สิทธิ์ 90 เปอร์เซ็นต์ ตามโพลของสถาบันพระปกเกล้า ผลการเลือกตั้งจะเปลี่ยนไปอันมาจากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกถึง 5-7 ล้านคน

ผลการเลือกตั้งของไทยจะไม่อาจเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพแบบอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าต้องใช้การเลือกตั้งอีก 2 ครั้ง ครั้งนี้จะเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการค้นหาระเบียบการเมืองไทย ว่า เมื่อก้าวออกจากระบบปิดแบบที่ผ่านมา จะไปสู่ระบอบอะไร

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้จะอยู่ไม่นาน พรรคเล็กพรรคน้อยจะมีการต่อรองสูง สมมติ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ต้องรวมพรรคเล็กจำนวนน้อย พออภิปรายไม่ไว้วางใจ ก็ต้องล็อบบี้อย่างหนัก

ใครจะชนะการเลือกตั้ง ไม่มีใครรู้ล่วงหน้า แต่สังคมไทยต้องมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม มากที่สุดมากเท่าที่เป็นไปได้ มิเช่นนั้นจะส่งผลต่อความชอบธรรมให้กับคนที่จะขึ้นสู่อำนาจ และจะนำไปสู่ความขัดแย้งวุ่นวายอีกรอบหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คือ ตัวละครหนึ่งที่สำคัญ

อีกตัวละครคือ คสช. ที่ต้องปล่อยให้กกต.ทำงานได้อย่างอิสระ ไม่ใช้อำนาจเข้าไปแทรกแซง เพราะมีความเชื่อมโยงระหว่างคสช.กับพรรคการเมือง ที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งครั้งนี้ ซึ่งเริ่มมีกระแสจ่ายเงินแลกเก็บบัตรประชาชนแล้ว หากปล่อยไปแบบนี้ ผลการเลือกตั้งจะไม่ได้รับการยอมรับจากทั้งสังคมไทยและนานาชาติ

คงไม่อาจฝากความหวังไว้กับกกต.ฝ่ายเดียวได้ คนที่จะมีส่วนช่วยกดดันเรียกร้องคือ สื่อ นักวิชาการ และภาคประชาสังคมทั้งหลาย ต้องตื่นตัวและให้ความรู้อย่างเต็มที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง

หลังการเลือกตั้งจะรุนแรงหรือไม่ โดยปกติการเลือกตั้งจะรุนแรงช่วงเลือกตั้ง ระหว่างนักการเมืองและหัวคะแนน ซึ่งถือว่าไม่มาก ไม่น่าห่วง เพราะการเลือกตั้งภายใต้รัฐบาลทหารจะสงบ หัวคะแนนถูกควบคุมได้ มีกลไกรัฐจัดการได้ ความรุนแรงหลังการเลือกตั้งจึงน่ากลัวกว่า

ตามประวัติศาสตร์ที่มักซ้ำรอย คือ เลือกตั้งปี 2500 ยุคจอมพล ป. ปี 2512 จอมพลถนอม และปี 2535/1 ของรสช. จบไม่ค่อยดีนัก

เพราะรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร และตั้งพรรคการเมือง จะใช้กลไกรัฐเข้าไปแทรกแซงเอื้อประโยชน์ ที่ใช้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นหัวคะแนน แม้ชนะการเลือกตั้งก็จริง แต่คนก็รู้ว่า ไม่สะอาด นิสิตนักศึกษาก็ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง

หลังการเลือกตั้งครั้งนี้ จึงค่อนข้างขรุขระ ยากที่จะเสรีและเป็นธรรม เพราะคณะรัฐประหารมีผลประโยชน์ผูกพัน รัฐบาลจะขาดความชอบธรรม ก็จะไปจบที่ความขัดแย้งรุนแรง ยกเว้นจะถอยทัน

ดังนั้น การเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรมที่สงบเรียบร้อย จะเป็นผลดีกับคสช.มากกว่า

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน