ไทยรักษาชาติ : กลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้ง

ไทยรักษาชาติ : กลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้ง – หมายเหตุ – แกนนำพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) นำโดย ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช หัวหน้าพรรค นายจาตุรนต์ ฉายแสง ประธานยุทธศาสตร์พรรค นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ประธานคณะทำงานรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ให้สัมภาษณ์เครือข่าวสด-มติชนถึงการเคลื่อนไหวเตรียมการของพรรคไทยรักษาชาติในการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง

ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช

หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ

เรื่องนโยบายเวลานี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะเปิด แต่โดยหลักการ ทษช.มีคอนเซ็ปต์ชัดเรื่องโลกก้าวไกลไทยต้องก้าวทัน คือเน้นเรื่องการเข้าใจโลกยุคใหม่ เข้าใจปัญหาใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้ สิ่งสำคัญที่สุดคือการคว้าโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยี เราจะสร้างถนนดิจิตอลให้ประชาชน

แม้ทษช.จะเป็นพรรคใหม่ แต่มีรากฐานมาจากพรรคการเมืองที่มีแนวนโยบายปฏิบัติได้จริงตั้งแต่พรรค ไทยรักไทย ดังนั้น นโยบายที่จะใช้เทคโนโลยีเข้ามาจับ จะต้องต่อยอดจากนโยบายเดิมที่เคยทำสำเร็จมาแล้ว แต่นโยบายไหนที่ดี และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ไม่ได้จะยกเลิก เช่น นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค เราต้องมา ปัดใหม่ แล้วใช้เทคโนโลยีเข้ามาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการ เป็นต้น

ไทยรักษาชาติ : กลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้ง

ร.ท.ปรีชาพล พงษ์พานิช-หัวหน้าพรรคไทยรักษาชาติ

เราเห็นปัญหาที่คล้ายคลึงกับพรรคเพื่อไทย ในยุคปัจจุบันปัญหาสำคัญคือสภาพเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาคอร์รัปชั่น เชื่อว่าหลายพรรคคงเห็นคล้ายกัน วิธีแก้ปัญหาก็น่าจะคล้ายกัน แต่เรามีจุดของเราที่จะต่อยอดให้ทันสมัย

ในส่วนของรัฐธรรมนูญ เราเห็นถึงปัญหา ถามว่าอยากแก้ไหม ต้องบอกว่าอยากแก้ แต่ด้วยข้อจำกัดและกลไกที่เขาซ่อนไว้ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

สิ่งที่เราพูดคุยตรงกันคือเรื่องแก้ รัฐธรรมนูญเป็นนโยบายหนึ่ง แต่คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักกว่าสังคมจะตกผลึก เพราะถ้าได้ใช้ไป ภาพปัญหาก็จะค่อยๆ ชัดขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล เรื่องกลไกการตรวจสอบ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่มาล็อกการพัฒนาไว้

เราทำได้เพียงบอกประชาชน และขึ้นอยู่กับการตื่นตัวของประชาชน และสังคม

ส่วนการทำโพลเพื่อประเมินที่นั่งของพรรค นั้นมีการสำรวจ แต่ทษช.เพิ่งจะเปิดตัวได้ประมาณ 1 เดือน และยังไม่ได้สรุปตัวผู้สมัครเพราะอยู่ในกระบวนการสรรหา คิดว่าโพลจะทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือหลังจากที่เปิดตัวผู้สมัครแล้วว่าใครจะลงเขตไหนบ้าง

ระยะเวลาที่เหลือไม่มากก่อนเลือกตั้งนี้ก็ เร่งดำเนินการสร้างความรับรู้ให้แก่ประชาชนต่อพรรคของเรา และจะพยายามเดินให้เต็มที่ในระยะเวลาอีกประมาณ 60 วันที่เหลือ เพราะไม่อยากบอกว่าระยะเวลาสั้นไป เนื่องจากไม่อยากให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไปอีก ไม่อยากให้เสียหายมากไปกว่านี้ เชื่อว่าสามารถทำได้ ทำทัน

สำหรับความแตกต่างระหว่างพรรคเพื่อไท ยกับทษช.นั้น เพื่อไทยเป็นพรรคที่ผู้บริหารมีประสบการณ์และความสำเร็จ แต่ทษช.เป็นพรรคที่มีแนวความคิดสมัยใหม่ เราเห็นโอกาส และอยากนำเสนอสิ่งใหม่ๆ ให้กับสังคม หลายคนเปรียบว่าเป็นพรรคพี่พรรคน้องกัน

วันนี้ ทษช.มาเป็นทางเลือก เราออกแบบการต่อสู้เพื่อให้เท่าทันกับกติกาที่ออกแบบไว้ เชื่อว่า ทษช.เป็นพรรคที่ตอบโจทย์อนาคต แม้เพื่อไทยจะเป็นพรรคที่แข่งแกร่งก็จริง แต่ในอนาคตไม่รู้ว่าใครจะรวมกับใคร หรือเป็นอย่างไร

ในอนาคตพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอาจจะเอาต์ไปแล้วก็ได้ เราไม่สามารถฟันธง เชื่อว่ามีโอกาสเป็นไปได้ทุกอย่าง

จาตุรนต์ ฉายแสง

ประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ

DSC_1104.tif

การวางแผนสู้กับพรรคเกิดใหม่อย่างพรรคพลัง ประชารัฐ (พปชร.) ให้เป็นหน้าที่ของ ทษช. ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ให้เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทย

เรื่องนี้เป็นภารกิจที่สำคัญของทษช. คิดว่าถ้ายังไม่ได้เสียงเกินครึ่ง ไม่ว่าจะเท่าใดก็ตาม ทษช.จะสามารถทำให้เกินครึ่งได้ คือจะเป็นตัวตัดสินว่าประชาธิปไตยสามารถยันฝ่าย คสช.ไว้ได้ ถ้าเราได้เสียงเกิน 251 เสียงไปมากๆ โอกาสในการตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยก็จะมี

ไทยรักษาชาติ : กลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้ง

จาตุรนต์ ฉายแสง-ประธานยุทธศาสตร์พรรคไทยรักษาชาติ

เวลานี้พรรคการเมืองที่ชัดเจนว่าจะสนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯต่อมีเพียงพรรคเดียวคือพรรคพลังประชารัฐ ส่วนพรรคอื่นยังไม่มีอะไรถึงขั้นชัดเจน จึงมองว่าการเลือกตั้งครั้งนี้สุดท้ายแล้วคือการถามประชาชนว่าจะให้ พล.อ.ประยุทธ์และพวกเป็นรัฐบาลต่อหรือไม่ ซึ่งพรรคเรามีจุดยืนชัดเจนว่าจะหยุดการสืบทอดอำนาจ และหยุดพล.อ.ประยุทธ์ไม่ให้เป็น นายกฯ ต่อ

จึงเป็นหน้าที่ของเราที่จะทำให้ประชาชนเห็นถึงปัญหา และความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อไป

ขณะนี้ประเทศมีปัญหาเศรษฐกิจที่รุมเร้า เราจะแก้อย่างไร ใครจะมาแก้ ถ้าจะแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ได้ต้องใช้งานพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย เพราะให้คนเดิมแก้นั้นแก้ ไม่ได้ เนื่องจากจะพันคอตัวเอง เชื่อว่าพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยจะสามารถเสนอนโยบายที่จะแก้ปัญหา เศรษฐกิจได้ดีกว่า ขึ้นอยู่ว่าเราจะได้โอกาสไหม

ผมไม่เชื่อทฤษฎีที่ว่าพรรคการเมืองไทยแบ่ง เป็น 3 ก๊ก เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้จะขมวดให้เหลือเพียง 2 ฝ่าย ต้องทำให้เห็นชัด เพื่อที่สุดท้ายคนไปลงคะแนนจะคิดว่าถ้าชีวิตจะดีขึ้นต้องเปลี่ยนรัฐบาล ดังนั้นเราต้องทำทั้ง 2 ส่วน คือการเสนอนโยบายและการบอกให้คนเลือกฝ่ายประชาธิปไตย

พรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยจะมีความแตก ต่างกันอยู่บ้าง เช่น ศักยภาพของพรรคที่จะเข้าไปแก้ปัญหาและผู้สมัคร เมื่อมีพรรคการเมืองหลายพรรค แล้วมีจุดยืนชัดเจนว่าหยุดการสืบทอดอำนาจ ก็เป็นพันธมิตรกันโดยธรรมชาติ แต่ขณะเดียวกันก็แข่งกันโดยธรรมชาติอีกเหมือนกัน

ผมคิดว่าไม่มีอะไรที่น่าวิตกสำหรับการแข่ง กัน เชื่อว่าไม่น่าจะกระทบกันมากนักในแง่ของการตัดกำลัง เราหวังเรื่องความเป็นพันธมิตร เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ใช่แค่การได้ที่นั่งในสภา เพื่อใครเป็นฝ่ายชนะก็ตั้งรัฐบาลเท่านั้น แต่เป็นการแข่งกับพรรคอีกซีกหนึ่งที่เขามี 250 ในกระเป๋า

ทษช.ส่งผู้สมัครทั้งระบบเขตและปาร์ตี้ลิสต์ แต่จะได้แค่ไหนก็พูดยาก เพราะมีผู้สมัครที่แข็งๆ ไม่น้อย และการเมืองก็ผันผวน แต่ละพื้นที่กระแสคะแนนนิยมก็ต่างกันไป ไม่ใช่ไม่อยากได้ส.ส.เขต ถ้าได้เราจะดีใจมากและจะทำให้เต็มที่ ไม่มีผู้สมัครคนไหนลงไปเพื่อตั้งใจแพ้

ถ้าเราฝ่ายประชาธิปไตยได้เสียงมากกว่า 251 เด๊ดล็อกจะเกิดได้น้อย แต่หากเกิดเด๊ดล็อก ฝ่าย คสช.มีอำนาจของเขาอยู่ว่าจะทำอะไรก็ได้ด้วยมาตรา 44 ความเป็นไปได้ที่จะเกิดภาวะไม่ลงตัวจึงมี ทางออกคือประชาชนเทคะแนนให้ฝ่ายประชาธิปไตย ถึงเวลานั้นก็ไม่รู้ว่า ส.ว.จะวางตัวอย่างไร

หากพรรคพลังประชารัฐเป็นรัฐบาลได้ด้วยส.ว. แต่ตัวเองเป็นเสียงข้างน้อย จะอยู่ได้ไม่นาน และเราจะได้เห็นความเปราะบางของ พล.อ. ประยุทธ์อย่างมาก ถ้าเขาต้องเข้าไปอยู่ในสภา ผู้แทนราษฎร

ถ้ายังตั้งรัฐบาลไม่ได้ก็ต้องเลือกตั้งกัน ใหม่ ซึ่ง คสช.อาจจะขู่นักการเมืองว่าอยากเลือกตั้งกันใหม่หรือ และเขาต้องพยายามดึงพรรคเล็กเพื่อให้ได้เสียงให้พอ

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ

ประธานคณะทำงานรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทษช.

พรรคที่ถูกเรียกว่าเป็นฝ่ายประชาธิปไตย พอมีหลายพรรคเข้า จะเป็นการตัดคะแนนแย่งฐานกันเองหรือไม่นั้น เราเชื่อว่าในระหว่างทางการรณรงค์ ประชาชนจะเข้าใจและเลือกลงคะแนนอย่างมียุทธศาสตร์ ส่วนการแย่งฐานคะแนนกันเองจนส่งผลกระทบต่อพรรคการเมืองที่มีจุดยืนทางการ เมืองแบบเดียวกัน จะเกิดหนักก็ต่อเมื่อคะแนนของประชาชนตายตัวซีกใดซีกหนึ่ง เช่น ซีกประชาธิปไตยมี 100 ไม่ใช่ประชาธิปไตยมีอีก 100 แบบนี้คำว่าแย่งคะแนนกันเองถึงจะมีน้ำหนักมาก

ไทยรักษาชาติ : กลยุทธ์สู้ศึกเลือกตั้ง

ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ-ประธานคณะทำงานรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ทษช.

การเลือกตั้งในสถานการณ์แบบนี้กลุ่มก้อน ประชาชนมีลักษณะการเคลื่อนตัวอยู่ตลอดเวลา หมายความว่ามวลชนฝ่ายประชาธิปไตยที่หนักแน่น ถึงอย่างไรก็ไม่เคลื่อน ส่วนฝ่ายที่ไม่ชื่นชมหรือฝ่ายที่ชอบอีกแบบหนึ่งมากกว่าประชาธิปไตย คนพวกนี้จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่ฝ่ายที่ยังมีความเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ปัจจัยแวดล้อมทางการเมือง ตรงนี้ต่างหากเป็นพื้นที่ช่วงชิง

ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำไม่ได้บอกว่าพรรค เพื่อไทยหรือทษช.ชวนกันแย่งคะแนน กุญแจแห่งความสำเร็จของภารกิจนี้ คือเรากำลังเดินข้ามไปยังกลุ่มประชาชนที่มีวิธีคิดอีกแบบหนึ่งได้อย่างไร ใครข้ามไปได้มากกว่า คือกุญแจของความสำเร็จ

กลุ่มประชาชนที่ยังไม่เคยลงคะแนนเลือกตั้ง เลย คืออายุ 18-25 ปี ใครเข้าไปพื้นที่ตรงนี้ได้มากก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จ ใครสามารถเข้าไปแตะหรือสัมผัสกับกลุ่มประชาชนที่ไม่ลงหลักปักฐานกับ อุดมการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดได้มากกว่า ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จเช่นกัน

เรามาทำภารกิจนี้ไม่ได้กลัวว่าพรรคพวก เพื่อนฝูงจะมาแย่งคะแนน เพราะเราต้องเดินเข้าไปหาคะแนนกับกลุ่มคนที่ยังไม่เคยเลือกเรา หรือคิดว่าจะไม่เลือกเราแต่เดิม นี่คือสิ่งที่ท้าทาย ถ้าทำสำเร็จถือว่าภารกิจของฝ่ายประชาธิปไตยบรรลุเป้าหมาย ถามว่าจะทำอย่างไรเป็นโจทย์ที่ใหญ่กว่า

การรณรงค์หาเสียงครั้งนี้รูปแบบพื้นฐาน คือตั้งเวทีพูดจาปราศรัยรณรงค์ หรือใช้แผ่นพับใบปลิวยังมีความจำเป็นอยู่เพราะกติกาที่ซับซ้อนมาก อะไรที่ไปแบบพื้นๆ ว่าจำเป็น แต่เท่านี้ยังไม่พอ การใช้โซเชี่ยลเน็ตเวิร์กในการทะลุทะลวงกลุ่มเป้าหมายก็สำคัญ

ทษช.ยังไม่ขอลงรายละเอียดเป็นรูปธรรม ต้องรอตอนเปิดตัว แต่จะเห็นว่าทีมรณรงค์ของพรรคจะมีเครื่องมือใหม่ๆ เข้ามาประกอบ เพื่อให้การรณรงค์หาเสียงอธิบายตัวตนของพรรค ว่าเป็นพรรคที่เข้าถึงและใช้เทคโนโลยีในแต่ละภารกิจอย่างได้ผล

อีกเรื่องที่ผมมองเห็นเหมือนนายจาตุรนต์ ฉายแสง คือไม่มีการเมืองสามก๊กสี่ก๊ก มีแค่สองก๊กเท่านั้นคือประชาธิปไตยและเผด็จการ ยิ่งเลือกง่ายชัดเจน ไม่มีคลุมเครือ

ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดว่าการเมืองมีสามก๊ก อีกก๊กคือพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผมพูดเลยว่าไม่ได้มีสามก๊ก มีแค่สองก๊กกับหนึ่งกั๊ก แล้วกั๊กนี้ก็รู้อยู่แล้วว่าจะไปอยู่ก๊กไหน และไม่ได้มีแค่กั๊กเดียว มีหลายกั๊ก พรรคขนาดกลางเป็นกั๊กทั้งนั้น ขณะที่ฝ่ายประชาธิปไตยเป็นก๊กที่ชัด ไม่มีกั๊ก ถือเป็นจุดแข็งของฝ่ายประชาธิปไตย น่าจะเป็นปัจจัยให้เราเข้าถึงความสำเร็จในการเลือกตั้งได้

ส่วนเรื่องความสงบของคสช.นั้น ความสงบขายได้ในขวบปีแรกของการยึดอำนาจ หลังจากนั้นแม้จะพอขายได้ เพราะผู้มีอำนาจเลือกที่จะใช้มุมนี้อธิบายว่าเป็นผลงาน แต่ราคามันลดน้อยลงทุกวัน เพราะความสงบที่ผู้มีอำนาจพูด ประชาชนถอดรหัสได้ว่าคือไม่มีการชุมนุม ไม่มีการเดินขบวน แต่ความคิดแตกต่างระหว่างสองขั้วยังคงปรากฏขึ้นให้เห็นอยู่ ความขัดแย้งทางการเมืองยังปรากฏให้เห็นอยู่

ที่สำคัญที่สุดความสงบที่ไม่มีการชุมนุม ไม่มีการเดินขบวนถูกแทนที่ด้วยความไม่สงบเรื่องการทำกินและปากท้องของ ประชาชน ความไม่สงบเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เมื่อคนปากร้องท้องหิว คนจะมองหาการบริหาร การทำงานหรือการแก้ปัญหาที่ดีกว่า

ถ้าความสงบที่ผู้มีอำนาจเอามาขายยังคงขาย ได้และยังขายดีจนถึงวันนี้ เราคงไม่ได้เห็นปรากฏการณ์ของคนที่สนับสนุนรัฐประหารออกมาแสดงการต่อต้าน แสดงการปฏิเสธ หรือผลการสำรวจต่างๆ ที่ออกมาปฏิเสธการสืบทอดอำนาจมากขึ้นทุกทีๆ

วันนี้พรรคการเมืองพร้อมที่จะสู้เต็มตัว มีการปลดล็อก แม้ว่ากติกาจะขี้ริ้วขี้เหร่ แต่กรอบการเลือกตั้งยังมีพื้นที่ให้ต่อสู้อยู่ การตัดสินใจของประชาชนก็เช่นเดียวกัน วันทำประชามติถ้าเจอกลไกอำนาจรัฐ เจ้าหน้าที่ที่เข้าไปใกล้ๆ ตัวก็อาจมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชน แต่ในสนามเลือกตั้งยากที่กลไกอำนาจรัฐจะบังคับการตัดสินใจของประชาชนอย่าง หวังผลได้

ข้อกล่าวหาข้อโจมตีต่างๆ พรรคการเมืองซีกนี้ผ่านมาทุกสมัยของการเลือกตั้ง แม้ว่าจะต้องเจออีกซ้ำๆ คิดว่าไม่ใช่เรื่องน่ากังวลมากนัก

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน