เผยผลโพล ประชาชนงง บัตรเลือกตั้งสุดสับสน เบอร์ไม่เหมือนกันสักเขต ทวงแบบเดิมกลับมา!

เผยผลโพล ประชาชนงง บัตรเลือกตั้ง – เมื่อวันที่ 6 ม.ค. ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง บัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ปี 2562 ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24 – 27 ธ.ค. 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,253 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับบัตรลงคะแนนเลือกตั้ง ปี 256

โดยเมื่อถามถึงการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งปี 2562 ว่าต้องกาบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เพื่อเลือก ส.ส. เพียง 1 ใบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 51.55 ระบุว่า ทราบ รองลงมา ร้อยละ 46.77 ระบุว่า ไม่ทราบ และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่แน่ใจ

ไม่พลาดข่าวการเมืองเข้มข้น และข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อนกับ ไลน์@ข่าวสด ที่นี่เพิ่มเพื่อน

เมื่อถามว่าการรับทราบของประชาชนเกี่ยวกับหมายเลขผู้สมัครรับเลือกตั้งที่มาจากพรรคการเมืองเดียวกันจะเป็นแบบ “ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข” พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.20 ระบุว่า ไม่ทราบ รองลงมา ร้อยละ 30.88 ระบุว่า ทราบ ร้อยละ 1.84 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.08 ไม่ระบุ

เมื่อถามอีกว่าความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับบัตรลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ปี 2562 แบบ “ต่างเขตเลือกตั้งต่างหมายเลข” ว่าจะมีผลดีหรือผลเสียมากกว่ากันพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.57 ระบุว่า ผลเสียมากกว่าผลดี รองลงมา ร้อยละ 24.82 ระบุว่า ผลดีกับผลเสียไม่แตกต่างกัน ร้อยละ 20.67 ระบุว่า ผลดีมากกว่าผลเสีย ร้อยละ 8.14 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 0.80 ไม่ระบุ

ทั้งนี้โดยผู้ที่ระบุว่า ผลเสียมากกว่าผลดี ให้เหตุผลว่า ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน จำนวนผู้ไปลงคะแนนเลือกตั้งลดลง และทำให้เกิดบัตรเสียเพิ่มมากขึ้น

ส่วนผู้ที่ระบุว่า ผลดีกับผลเสียไม่แตกต่างกัน ให้เหตุผลว่า ไม่มีความชัดเจน ไม่เห็นอะไรเปลี่ยนแปลง และขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้นๆ ว่าจะออกเสียงไปในทิศทางใด และผู้ที่ระบุว่า ผลดีมากกว่าผลเสีย ให้เหตุผลว่า ทำให้เข้าใจง่าย และมีความเป็นสัดส่วนมากขึ้น

เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการกำหนดให้หมายเลขผู้สมัครของพรรคการเมืองแต่ละพรรค เป็นหมายเลขเดียวกันทั่วประเทศพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.66 ระบุว่า เห็นด้วย รองลงมา ร้อยละ 24.90 ระบุว่า เห็นด้วยอย่างยิ่ง ร้อยละ 14.61 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย ร้อยละ 2.15 ระบุว่า ไม่แน่ใจ และร้อยละ 1.68 ระบุว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน