ชำนาญ จันทร์เรือง ยุทธวิธีเขย่าการเมืองท้องถิ่น

‘ชำนาญ จันทร์เรือง’: สัมภาษณ์พิเศษ – การกระจายอำนาจเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่พรรคอนาคตใหม่ชูธงหาเสียง เป้าหมายคือ การยุติรัฐราชการรวมศูนย์

ซึ่งพรรคอนาคตใหม่มองว่าต้องเริ่มตั้งแต่ ระดับท้องถิ่น โดยประกาศส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเขย่าการเมืองท้องถิ่น หลังสร้างปรากฏการณ์เขย่าการเมืองระดับประเทศในการเลือกตั้งที่ผ่านมา

นายชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ในฐานะประธานคณะกรรมการกลั่นกรองผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่น กล่าวถึงการดำเนินยุทธศาสตร์ดังกล่าว และแนวทางการทำงานควบคู่กับบทบาทฝ่ายค้าน เพื่อผลักดันนโยบายดังกล่าวให้สัมฤทธิผล

ชำนาญ จันทร์เรือง ยุทธวิธีเขย่าการเมืองท้องถิ่น : สัมภาษณ์พิเศษ

ชำนาญ จันทร์เรือง

“คนที่คัดค้านการ กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น นอกจากกระทรวงมหาดไทยแล้วยังมีส..ด้วยกันเอง เพราะกลัวโดนแบ่ง โดนทอนอำนาจ”

  • ทิศทางการเขย่าท้องถิ่นของพรรคอนาคตใหม่เป็นอย่างไร

พรรคอนาคตใหม่ จะส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็น อบจ. เทศบาล อบต. กทม. เมืองพัทยา แต่ไม่ได้หมายความว่าจะส่งทุกอปท. เพราะเป็นไปไม่ได้ เนื่องจากท้องถิ่นมีมากกว่า 7.8 พันแห่ง จะดูเป็นอปท.ที่เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของเราคือ มีส.. และพื้นที่ที่แม้ไม่มีส..แต่มีคะแนน นิยมดี

อย่างไรก็ตาม แม้บางพื้นที่ไม่ได้อยู่ในเขตจังหวัดยุทธศาสตร์ แต่ถ้ามีผู้ประสงค์ลงสมัครที่มีคุณภาพ ผ่านเกณฑ์ของพรรค บุคคลที่มีแนวคิดใหม่ๆ ในการพัฒนาท้องถิ่นแตกต่างจากอดีตที่ผ่านมาพรรคก็ยินดี

การสมัครต้องมาเป็นทีม ประเภทข้ามาคนเดียวหรือฉายเดี่ยว ไม่เอา โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นจะแยกกันระหว่างผู้บริหาร กับสภา เช่น อบจ.ใหญ่ๆ จะมีรองนายก 4 คน ก็ต้องหารองนายกมาด้วย แม้จะเลือกนายกอบจ.คนเดียวก็ตาม รวมถึงทีมสมาชิกสภาท้องถิ่น สภาอบจ. ก็ต้องหาทีมมาด้วย แต่อบจ.ใหญ่ อย่าง จ.นครราชสีมา มี 48 แห่ง จ.เชียงใหม่ มี 42 แห่ง ก็คงหาเต็มทีมได้ยาก จึงอยากให้หามาให้เกินครึ่งหนึ่ง

การจะสรุปว่าส่งได้ทั้งหมดกี่จังหวัดจึง ต้องรอดูผู้ประสงค์ลงสมัครประกอบด้วย โดยการสมัครจะใช้ทางออนไลน์อย่างเดียว ตอบโจทย์โลกดิจิตอล

การเลือกจะแบ่งเป็น 3 ขยัก เริ่มจากอบจ.ก่อน ต่อด้วยเทศบาล และอบต. ถือว่ามีเวลาหายใจ คนที่จะลงสมัครต้องรู้ปัญหาของท้องถิ่น งบประมาณ รายได้ รายจ่าย วิธีการแก้ปัญหาและอุปสรรค การพัฒนาเป็นอย่างไร อาจไม่ต้องทำถึงขั้นวิชาการมาก แต่ต้องแสดงให้เห็น ให้ได้ว่าทำไมพรรคอนาคตใหม่ถึงต้องเลือกคุณลงเป็นทีมของเรา

คนที่จะใช้แบรนด์อนาคตใหม่ คุณสมบัติแรกต้องเป็นสมาชิกพรรค ถ้ายังไม่เป็นก็ให้สมัคร พรรคเราตั้งอยู่บนพื้นฐานของสมาชิกพรรค คนที่จะมาลงสมัครเลือกตั้งท้องถิ่นก็ต้องเป็นสมาชิกพรรค เรา หมายความว่า ใช้สมาชิกเก่ารับรองก็ได้

  • กระบวนการคัดเลือกผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นจะใช้การ ไพรมารีโหวตแบบส..หรือไม่

ไม่ใช้ระบบไพรมารี ให้ผู้ประสงค์ลงเลือกตั้งสมัครเข้ามายังส่วนกลาง เพื่อให้คณะกรรมการ 2 ชุดคือ คณะกรรมการคัดกรองที่ผมเป็นประธาน ตรวจดูคุณสมบัติ ความเหมาะสม ทำเป็นเช็กลิสต์เหมือนการสมัครงานว่า ผ่านเกณฑ์หรือไม่ แล้วจึงให้ไปสัมภาษณ์กับ คณะกรรมการสรรหา ซึ่งจะมีสัดส่วนของคณะกรรมการคัดกรองรวมอยู่ด้วย ก็จะเปิดให้ผู้ประสงค์ลงสมัครแสดงวิสัยทัศน์ก่อนคัดเลือก

ถ้าทีมไหนผ่านการคัดเลือก พรรคอนาคตใหม่จะให้การสนับสนุน ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่ให้เงิน เพราะเราไม่มีเงิน แต่จะสนับสนุนสื่อประชาสัมพันธ์ ป้ายไวนิล การรณรงค์หาเสียง การกำหนดนโยบายจากการสังเคราะห์ข้อมูลตามหลักการวิจัย

พูดง่ายๆ ก็คือ ช่วยทำการตลาดการเมือง (Political Marketing) เพื่อให้สนองความต้องที่แท้จริงของคนในพื้นที่ให้ได้ เพราะที่ผ่านมาไม่มีใครพูดถึง มีแต่บอกให้เลือกแล้วก็จบ

แต่เราจะไม่ทำอย่างนั้น จะมีการกำหนดนโยบายเฉพาะพื้นที่นั้นๆ หรือนโยบายภาพใหญ่ระดับจังหวัด

จะออกมาในรูป เช่น นโยบายเชียงใหม่ หรือนโยบายภูเก็ต ผู้สมัครก็ทำการบ้านเบื้องต้น โครงการที่อยากจะทำ เพื่อทำให้เห็นว่าคุณมีดีอะไร แต่หากอปท.นั้น ไม่มีผู้ผ่านการคัดเลือก ก็ไม่ส่ง เราไม่เน้นปริมาณ ทั่วประเทศ 76 จังหวัด ผ่าน 20-30 จังหวัด ก็ไม่ว่ากัน

การตัดระบบไพรมารีโหวตเพราะระบบต่างกับส.. การเลือกตั้งท้องถิ่นนั้นเป็นของคนท้องถิ่น ที่ไม่มีใครรู้ปัญหาดีเท่ากับคนใน ท้องถิ่น จะฟังความเห็นประกอบจากที่ทำการพรรคประจำจังหวัด สาขาพรรค

ที่สำคัญคือ ความขัดแย้งในระดับท้องถิ่นนั้นมีสูง ไพรมารีโหวตก็อาจมีการเกณฑ์กันมาลงคะแนน ต่างจากส..ที่ใช้ไพรมารีโหวตตามเขตเลือกตั้งที่ค่อนข้างกว้าง แต่ระดับอปท.บางท้องถิ่นนั้นเล็ก จึงใช้การสัมภาษณ์รับฟังข้อมูลเชิงวิชาการแทนตามการเมืองรูปแบบใหม่

ไม่ได้หวังลงแล้วต้องชนะทั้งหมด แต่อย่างน้อยคือการทำงานทางความคิด จริงๆ คล้ายการเลือกตั้งส.. ที่หวังปักหมุดมากกว่า เพียงแต่เราได้ส..มาเยอะเท่านั้นเอง

  • มองชุดกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นและรัฐธรรมนูญ 2560 ที่ฉุดการกระจายอำนาจให้ถอยหลังอย่างไร โดยเฉพาะการเปิดช่องผู้บริหารท้องถิ่นรูปแบบพิเศษไม่ต้องมาจากการเลือกตั้งก็ได้

ถือเป็นจุดอ่อนอย่างยิ่ง ต้องแก้กฎหมายก่อน ต้องแก้พ...ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครตามที่รัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ให้

เนื้อหาถูกเขียนให้สภาท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง แต่ผู้บริหารท้องถิ่นเขียนให้จะมาจากวิธีการอื่นใดก็ได้ คนจึงเข้าใจผิดกันว่าให้เลือกแค่สมาชิกสภาส่วนท้องถิ่นเท่านั้นแล้วสมาชิก สภาไปเลือกฝ่ายบริหาร แต่รัฐธรรมนูญให้ไปไกลกว่านั้นให้ผู้บริหารมาอย่างไรก็ได้

ตอนนี้กฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นยังไม่มี เนื้อหาแบบนั้น ดังนั้นการเลือกตั้งปัจจุบันยังทำแบบนั้นไม่ได้ แต่ครั้งหน้าไม่มีใครรู้ นี่คือจุดที่แย่มาก

อีกทั้งกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นฉบับใหม่ยัง จำกัดอายุผู้ลงสมัคร ฝ่ายบริหารท้องถิ่นขั้นต่ำที่อายุ 35 ปี ทำให้คนรุ่นใหม่ไฟแรงต้องรอ ซึ่งไม่เห็นด้วยที่เอาคุณสมบัติรัฐมนตรี มากำกับ

ภาพรวมของรัฐธรรมนูญฉบับนี้พยายามจะทำให้ ท้องถิ่นอ่อนแอลง และพยายามทำให้ท้องถิ่นเป็น สาขาหนึ่งของการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคให้ได้

ทั้งที่ในหลักการบริหารราชการแผ่นดิน ท้องถิ่น ไม่ได้ขึ้นกับส่วนกลางหรือส่วนภูมิภาค อปท.ไม่ได้สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เขาเป็นนิติบุคคลเป็นอิสระ ไม่สามารถสั่งให้ทำอะไรได้ เพราะเป็นการไปใช้เงินของเขา เขาจึงโวยวายกัน

ถึงกฎหมายจะล็อกอย่างไรก็แล้วแต่ มันเหมือนหมุนเข็มนาฬิกากลับ หรือชักปลั๊กออก แต่ถ้าเสียบเข้าไปใหม่ก็จะยังเดินหน้าต่อไป เพราะท้องถิ่นเคยชินแล้วกับการได้ลิ้มรสชาติแห่งสิทธิและเสรีภาพในการปกครอง และกำหนดชีวิตตนเอง (Self Determination)

ความผูกพันกับการเมืองท้องถิ่นของคนใน พื้นที่ มีมากกว่าการเมืองระดับชาติ การเลือกส..ยังไม่เท่าไร แต่การเมืองท้องถิ่นนั้นถูกจับตาตลอด จะสังเกตได้จากบ้านหลังใหญ่ขึ้น มีรถใหม่หรือไม่

มันส่งผลต่อคุณภาพชีวิตเขาโดยตรง ตั้งแต่เกิดจนตาย สร้างระบบสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นหน้าที่ของอปท. เราไปเข้าใจผิดกันเองว่า เป็นหน้าที่ของส.. ซึ่งไม่ใช่ ส..มีหน้าที่ทางนิติบัญญัติออกกฎหมาย และตรวจสอบถ่วงดุลการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหารเท่านั้น

  • อนาคตใหม่มองศึกเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.และส..อย่างไร หลังได้รับคะแนนนิยมจากชาวกรุงเทพฯ มากที่สุดในการ เลือกตั้งส..

ก่อนอื่นต้องแยกเป็นฝ่ายบริหารคือ ผู้ว่าฯ กทม. กับฝ่ายสภาคือ ส.. ซึ่งมีจำนวนเยอะมากถึง 100 คน แน่นอนว่าเรามีความคิดจะลง กทม. แต่พูดตรงๆ ว่ายังไม่มีตัว ได้แต่มอง ตัวเก็งของพรรคใหญ่ๆ ก็มีอยู่ ถ้าจะหาตัวลงก็ต้องเจ๋งกว่าเขา

กทม.นั้นถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ร้อย เปอร์เซ็นต์ กระบวนการ และขั้นตอนก็คล้ายกับอบจ. อบต. แต่จะมีลักษณะพิเศษ เพราะเป็นสังคมเมืองทั้งหมด ถ้าต่างจังหวัดจะเป็นอีกสังคมหนึ่ง เทศบาลเมือง เทศบาลตำบลก็ต่างกันเยอะแล้ว ยุทธศาสตร์ก็จะต่างกันไป การตลาดการเมืองก็จะต่างกันไป

  • การเลือกตั้งท้องถิ่นจะเชื่อมโยงกับนโยบายของอนาคตใหม่กับบทบาทที่ต้องเป็นฝ่ายค้านอย่างไร

รากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย เริ่มจากท้องถิ่น ไม่มีใครรู้จักคนท้องถิ่นดีมากกว่าคนในท้องถิ่น ซึ่งส่วนกลางต้องกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณให้ได้ถึงท้องถิ่น ส่วนกลางควรทำเฉพาะเรื่องใหญ่ๆ ไม่ใช่ทำทุกเรื่อง ส่วนท้องถิ่นก็ทำเฉพาะเรื่อง

ที่ผ่านมาปัญหาคือเรื่องงบประมาณที่ท้อง ถิ่นจัดเก็บได้ไม่กี่อย่าง ภาษีป้าย ท้องที่ โรงเรือน ซึ่งไม่พอ แต่ลองแบ่งให้ท้องถิ่นตามนโยบายของพรรคอนาคตใหม่ที่ 50 ต่อ 50 จะรู้ว่าเขาทำอะไรได้มากมาย และมีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาด้วย

ที่ผ่านมาไม่มีใครเอาจริง ประสบการณ์ที่น่าเจ็บปวดใจมากที่สุดคือ คนที่คัดค้านการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น นอกจากกระทรวงมหาดไทยแล้วยังมีส..ด้วยกันเอง เพราะกลัวโดนแบ่ง โดนทอนอำนาจ แต่พรรคอนาคตใหม่ชัดเจนต่อการยุติรัฐราชการรวมศูนย์ด้วยการกระจายอำนาจ

สุดท้ายราชการส่วนภูมิภาคจะไม่มีความจำเป็น อะไรอีกต่อไป ประเทศเจริญแล้วไม่มี ประเทศอังกฤษไม่เคยมีราชการส่วนภูมิภาคตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การหาเสียงเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา ต้อง อย่าลืมว่าทุกพรรคต่างหาเสียงเรื่องการกระจายอำนาจกันหมด

แม้ไม่ได้เป็นรัฐบาลก็ยังเชื่อมกับพรรค อื่นๆ ได้ พรรคที่มีส.. 20 คนขึ้นไป ก็สามารถเสนอกฎหมายได้ อนาคตใหม่มีส..ตั้ง 81 คน ยืนยันว่าจะเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจไปยังการปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยเปอร์เซ็นต์

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน