อุ๊ หฤทัย สอนมวย ครูจุ๊ย รัวคีย์บอร์ด 4 ข้อ ทำไมอภิปราย ภาษาท้องถิ่น ในสภาไม่ได้

จากกรณีที่ “ครูจุ๊ย” กุลธิดา รุ่งเรืองเกียรติ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) ได้อภิปรายสนับสนุนการใช้ภาษาท้องถิ่น ในสภาฯ โดยให้เหตุผลว่า เป็นการสะท้อนอัตลักษณ์ ความหลากหลาย

โดยภาษาควรเป็นสิทธิพื้นฐาน ในการแสดงออกของประชาชนตามหลักประชาธิปไตย เรื่องนี้ได้รับการถกเถียงมานานแล้วในสภาทั่วโลก สภาบางแห่งในต่างประเทศมีการถกเถียง และออกมาเป็นข้อบังคับของสภา เช่นสภาที่แคนาดา ใช้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส หรือแม้กระทั่งรัฐสภาเบลเยี่ยมก็ใช้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาเฟลมิช รัฐสภาฟินแลนด์ใช้ภาษาสวีดิช และภาษาฟินนิช

อย่างไรก็ตาม หฤทัย ม่วงบุญศรี ศิลปินนักร้อง ได้เห็นต่างในเรื่องดังกล่าว โดยเจ้าตัวได้ตอบโต้ รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว มีใจความดังนี้

“เป็น​ความคิดที่ตื้นเขินมาก สำหรับข้อเสนอแนะให้สมาชิก​สภาผู้แทน​ราษฎร​ อภิปราย​โดยใช้ภาษา​ท้องถิ่น​ คุณ​คิดได้แต่ความเป็นจริง​มันทำไม่ได้ เพราะ…”

1. คณะรัฐมนตรี ​และสมาชิกสภา​ผู้​แทน​ราษฎรท่านอื่นๆ ที่รับฟังปัญหา​ของท่านในสภาฯจะไม่เข้าใจ ว่าท่านสื่อสารอะไร แล้วจะอนุมัติ​งบประมาณ​ให้ได้อย่างไร ส.ส.จะยกมือสนับสนุน​ให้ได้อย่างไร ถ้ารับฟังท่านไม่เข้าใจ

2. การประชุม​สภา​ทุกครั้ง จะมีการบันทึกรายงานการประชุม ถอดเป็นเอกสารราชการ​ ถ้าเจ้าหน้าที่​ที่รับผิดชอบ​การถอดเทป​​ไม่เข้าใจภาษา​ท้องถิ่น​ที่พูด เอกสาร​ทางราชการ​ที่อภิปราย​จะถูกบิดเบือน​ และในอนาคต​อาจมีคนติดคุก​โดยมิได้ตั้งใจ เพราะความผิดพลาด​จากการถอดเทป​ก็อาจเป็​นได้

3. มันคงจะดีกว่ามิใช่หรือ ? ถ้าการอภิปราย​จากสภา​ ถ่ายทอดสด​ให้คนทั่วทั้งประเทศ​ ได้ฟังแล้วเข้าใจ รับรู้​ปัญหา​ไปพร้อมกัน ว่าแต่ละท้องถิ่น​ เกิดปัญหา​หรือต้องการการช่วยเหลืออะไรบ้าง ?

4. ภาษากลางเราดูโทรทัศน์​ ละคร​ ดูข่าวก็เข้าใจกันทั้งประเทศ​มาตั้งแต่ไหนแต่ไร ก็ไม่มีปัญหา

**หมายเหตุ อินเดีย เป็นประเทศที่กว้างใหญ่มาก และมีประชากรมากกว่าประเทศไทยเป็นพันล้านคน มีความหลากหลายทางภาษา แคนาดาเป็นประเทศที่ใหญ่เช่นกัน เป็นประเทศที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ใหม่ และมีชาวอินเดียนแดงท้องถิ่น จึงมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์มากเช่นกัน เราจะไปเปรียบเทียบกับชาติเหล่านี้ไม่ได้

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน