“รมช.ธรรมนัส” เล็งชง กนช. เดินหน้า 4 โครงการน้ำ “เฉียดแสนล้าน” หวังเพิ่มน้ำต้นทุน – ลดน้ำท่วม – น้ำแล้ง

เมื่อวันที่ 30 ส.ค. ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการขนาดใหญ่และโครงการสำคัญ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนโครงการฯ มีมติให้นำ 4 โครงการ วงเงิน 99,656.95 ล้านบาท เสนอคณะกรรมการน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่จะมีการประชุมในวันที่ 12 ก.ย.2562 เพื่อพิจารณาดำเนินโครงการประกอบด้วย

1. โครงการพัฒนาปี 2561 จำนวน 6 โครงการของการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) วงเงิน 11,026.95 ล้านบาท เพื่อต่อขยายและเพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิต เพื่อให้บริการผู้ใช้น้ำพิ่มขึ้น และลดการสูญเสียน้ำไม่ให้เกิน 20%

2. โครงการก่อสร้างอุดมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย เป็นงานในโครงการของกรุงเทพมหานคร(กทม.) วงเงินก่อสร้างประมาณ 6,130 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1,440 วัน หรือ 48 เดือน แหล่งเงินทุนจะมีจาก 2 แหล่งคือ งบประมาณอุดหนุนจากภาครัฐ 50% และอีก 50% เป็นเงินของกทม. โครงการนี้จะเป็นการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี ขนาด 48 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จำนวน 1 แห่ง ก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำ ขนาดเส็นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร ความยาว 9,195 เมตร และก่อสร้างอาคารรับน้ำ จำนวน 4 แห่ง

โครงการนี้จะช่วยในการระบายน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง เนื่องจากฝนตกในเขตฝั่งตะวันตกของ กทม.ครอบคลุมพื้นที่ เขตภาษีเจริญ เขตบางขุนเทียน เขตบางบอน และเขตบางขุนเทียน ครอบคลุมพื้นที่ 64 ตารางกิโลเมตร(ตร.ก.ม.) สามารถรับน้ำหลากจากพื้นที่ตอนบน ของกทม.ให้สามารถระบายผ่านคลองพระยาราชมนตรี สู่โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย เกิดผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ 1,405.28 ล้านบาท/ปี

3. โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเขื่อนภูมิพล จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นโครงการของกรมชลประทาน วงเงิน 71,000 ล้านบาท โครงการมีอายุ 9 ปีตั้งแต่ปี 2563-2571 แยกเป็น แผนงานก่อนก่อสร้าง 2 ปีคือระหว่างปี 2563-2564 และก่อสร้างอีก7 ปีระหว่างปี 2565-2571 โครงการนี้ปัจจุบันด้านสิ่งแวดล้อม ยังไม่ผ่านการพิจารณษของ คชก. และยังมีความไม่เข้าใจจากสังคมบางส่วน โดยสามารถผันน้ำเติมเขื่อนภูมิพลได้ 1,795.52 ล้านลบ.ม.

4. โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง จังหวัดเพชรบุรี วงเงิน 11,500 ล้านบาท เระยะเวลาของโครงการ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2568 โดยดครงการนี้สามารถบรรเทาอุทกภัยพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี มีราษฎรได้รับประโยชน์ 41,875 ครัวเรือน พื้นที่เกษตร 12,310 ไร่เป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคได้ 8.40 ล้านลบ.ม./ปี

ร.อ.ธรรมนัส กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีการทบทวนโครงการที่มีการศึกษาไปแล้วประมาณ 100 โครงการ ที่ได้รับความเห็นชอบ แล้ว โดยบางโครงการได้รับความเห้นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.)แล้ว และบางโครงการได้รับความเห็นชอบจาก กนช. โดยให้กรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการทบทวนโครงการและทำแผนเพื่อรับมือสถานการณ์การขาดแคลนน้ำ และอุทกภัย เพิ่มพื้นที่เก็บกักน้ำ ให้พื้นที่เกษตรกรรม

ส่วนในพื้นที่อีสาน ยังดำเนินการต่อเนื่องในเรื่องของการติดตั้งประตูระบายน้ำห้วยหลวง หลังผ่านความเห็นชอบจาก ครม.แล้วและโครงการประตูระบายน้ำห้วยหลวง เป็นโครงการที่ช้วยบรรเทาภัยแล้ง ในภาวะที่มีปริมาณน้ำต้อนทุนในแหล่งน้ำห้วยหลวงน้อย ก้จะดำเนินการสูบน้ำเข้าไปและหากในฤดูการณ์ในที่ปริมาณน้ำในห้วยหลวงมีมาก ก็โครงการนี้จะสามารถช่วยสูบน้ำออก ลดปัญหาอุทกภัยได้


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน