“ทวี” ยก 5 ข้อ ปฏิรูปที่ดินด่วน เริ่มจาก “เลิกจับชาวบ้านรุกที่ ไปติดคุก” แนะใช้อีกวิธี เช่นการดำเนินคดีทางแพ่ง และอื่นๆ

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. เวลา 13.00 – 14.30 น. ณ หอประชุมเล็ก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดงานมหกรรมที่ดินคือชีวิต ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “หยุดวิกฤติความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมที่ดินไทย” เพื่อเปิดพื้นที่ให้มีการ เสวนาการเมืองในหัวข้อ “ปัญหาที่ดินไทย จะเดินหน้าไป ต่อได้อย่างไร”

โดยมีผู้ร่วมเสวนา ประกอบด้วย นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการที่ดิน ฯ พรรคอนาคตใหม่ นายสาทิตย์ วงษ์หนองเตย​ คณะกรรมาธิการที่ดินฯ พรรคประชาธิปัตย์ นายสุทิน คลังแสง รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และ พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติ และอดีตเลขาธิการ ศอ.บต. (อดีตผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้)

พันตำรวจเอกทวี กล่าวว่า เรื่องปัญหา “ทรัพยากรที่ดิน” เป็นปัญหาใหญ่ที่สุดในการปฏิรูปประเทศ ถ้าปฏิรูปที่ดินไม่ไม่ได้การปฏิรูปด้านอื่นๆก็จะล้มเหลว เมื่อปี 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สมัยเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม ได้เป็นประธานแก้ปัญหาในกระบวนการยุติธรรม หัวข้อ “คนจนกับการเข้าถึงความเป็นธรรมในปัญหาที่ดินทำกิน”

ในช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดปรากฏการที่หน่วยงานรัฐ มีนโยบายฟ้องเรียกค่าเสียหายกับผู้ที่ทำกินในพื้นที่ป่าเรื่องโลกร้อน และฟ้องประชาชนที่มีความขัดแยกพิพากกับรัฐเรื่องที่ดินในป่า ที่ดินสาธารณะอื่นๆ ได้ระดมความคิดเชิญผู้เกี่ยวข้องที่เป็นผู้ถูกกล่าวหา ผู้ได้รับผลกระทบ และเจ้าหน้าที่รัฐ ผ่านมา 9 ปี ต้อนก่อนเข้าเววที่ได้พบกับพี่น้องทราบว่าปัญหายังไม่คืบหน้า ส่วนใหญ่ยังอยู่ที่เดิม หรือแย่กว่าเดิม

ประเทศไทยมีเนื้อที่ประมาณ 320 ล้านไร่ แยกเป็นที่เอกชนที่กรมที่ดินดูแลมีการออกเอกสารสิทธิ์ 128 ล้านไร่ หรือประมาณ 40% ส่วนที่เหลือประมาณ 58 60% เป็นที่ดินของรัฐ ในที่ดินของรัฐจะไปอยู่ 3กระทรวง เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ ที่เป็นป่าสวน เขตอุทยานฯ ประมาณ 135 ล้านไร่ ที่สาธารณะประโยชน์ไปอยู่กระทรวงมหาดไทย 7.4 ล้านไร่

ที่ราชพัสดุที่ส่วนหนึ่งเป็นที่ทหารประมาณ 12 ล้านไร่ ไปอยู่กับกระทรวงการคลัง แต่ส่วนใหญ่ที่ดินจะเป็นของทหาร เช่นแสมสาร สัตหีบ จะเป็นของทหารเรือ ถ้าจะขอไฟฟ้าใช้ต้องผ่านทหารเรือ ไปอยู่กับกระทรวงเกษตร ได้แก่ ส.ป.ก. 40 ล้านไร่ และไปอยู่กับ นิคมสหกรณ์ และนิคมต่างๆ ประมาณ 11 ล้านไร่ พันตำรวจเอกทวี เสริมความเห็นการแก้ปัญหาที่ดิน ต้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือทำการปฏิรูปเร่งด่วนให้เห็นผลภายใน 4 ปี ในเบื้องต้นความปฏิรูป 5 ด้าน คือ

1. แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เกษตรมีกรรมสิทธิ์และสิทธิในที่ดิน หรือปฏิรูปทางด้านกฎหมาย การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำโดยการเปลี่ยนแปลงทางกฎหมายไม่ต้องใช้เงิน แต่ถ้าเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นต้องใช้เงินมาก ต้องกล้าในกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่ทำให้ประชาชนมีสิทธิ์ในการเป็นรัฐสวัสดิการให้ได้ เราเอาปัญหาเรื่องที่ดิน ป่าไม้ให้เป็นรัฐสวัสดิการให้ได้

เช่น รัฐธรรมนูญ 2517 เคยบัญญัติเรื่องการปฏิรูปที่ดินไว้ ว่า “รัฐพึงส่งเสริมให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ และสิทธิในที่ดิน เพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึง โดยการปฏิรูปที่ดินและวิธีการอื่น” เป็นการเขียนที่ก้าวหน้ามาก ที่ถ้ามีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่นอกจากที่ดิน ต้องขยายไปถึงที่อยู่อาศัยและครอบคลุมทั้งสิทธิชุมด้วย ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้บัญญัติไว้เหมือนกัน แต่เกษตรกรนั้นต้องยากจนหรือยากไร้ก่อน รัฐจึงจะให้ได้เข้าถึงสิทธิ์ คือการสงเคราะห์

แต่รัฐธรรมนูญปี 2517 นี้ถือว่าสิทธิ์เสมอกัน เพราะที่ดินเป็นสาธารณะสมบัติของชาติ ต้องสาธารณะสมบัติของประชาชน มิใช่สาธารณะสมบัติของรัฐ ซึ่งเมื่อที่ดินได้ถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญ จะทำให้กฏหมายที่ดินและป่าไม้ได้แก้ไขไม่ให้ขัดกับรัฐธรรมนูญต่อไป

สิ่งที่ต้องปฏิรูปและแก้กฏหมายกฎหมายที่ดินและป่าไม้ คือให้กระจายอำนาจ ที่ดินให้ท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจบริหารจัดการ เริ่มที่ ส.ป.ก. 40 ล้านไร่ โอนไปให้เป็นอำนาจของท้องถิ่นชุมชน ให้นายก อบจ. ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนเป็นผู้มีอำนาจ

เพราะที่ ส.ป.ก. การจัดที่ดินให้เฉพาะเกษตรกร และเกษตรกรต้องใช้ที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรม อาจมีการกำหนดกลไกในการจัดการที่ดินที่โอนให้ชุมชนมีส่วนร่วมและวิธีจัดการ เช่น ธนาคารที่ดินธนาคาร ผู้บริหารท้องถิ่นจะรู้ดีว่าใครเป็นเกษตรกรจริง ๆ เเกิดความแม่นยำ ไม่เกิดความผิดพลาดในการให้เกษตรกรเข้าถึง

เนื่องด้วยปัจจุบันนี่ ส.ป.ก. 40 ล้านไร่ที่ ส.ป.ก. จัดส่งไปนั้น น่าจะมากถึง 20% ที่ที่ดินเหล่านั้นตกไปอยู่ในมือของนายทุนหรืออาจจะมากกว่านั้น ถ้าเรากล้าหาญโอนอำนาจให้ท้องถิ่นชุมชนจะได้ที่ดินที่ผู้ไม่ใช่เกษตรกรและนายทุนได้สิทธิคืนมาหลายล้านไร่ เพื่อไปให้กับเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินต่อไป

วันนี้ ส.ป.ก. ก็ไม่มีอำนาจเข้าดูแล นอกจาก ส.ป.ก. แล้ว กระทรวงการคลังต้องกล้าเอาที่ราชพัสดุ เมื่อกันให้ส่วนราชการที่จำกันไปใช้พอแล้วเหลือเท่าใด ส่งคืนไปยังส่วนของท้องถิ่นชุมชนให้บริหารจัดการกันเองด้วย

จากประสบการณ์ที่ผ่านมาได้พิสูจน์ให้เห็นว่า “การปฏิรูปที่ดินประสบสำเร็จมีเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว การปฏิรูปดินประสบความล้มเหลวมีเฉพาะในประเทศที่ด้อยการพัฒนา” การบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม วิธีการปฏิรูปกฎหมาย โดยไม่ต้องทำอะไรมาก เพียงเปลี่ยนอำนาจให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม เพราะเขาจะรู้จักประชากรในพื้นที่ว่าใครรวยหรือจนจริงๆ

2. การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจของประชาชนให้เพิ่มขึ้น เพราะประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีการสถาปนาโครงสร้างอำนาจรัฐให้เข้มแข็ง เป็นเสมือนสร้างพรรคการเมืองขึ้นมา คือ พรรคทหาร กับ พรรคราชการ เมื่อมีการพิจารณางบประมาณ

เงินภาษีอากรที่มาบริหารประเทศ ซึ่งมาจากการเก็บภาษีของประชาชน ถูกใช้จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ ค่ารักษาพยาบาล และสวัสดิการของข้าราชการที่มีประมาณ 2.5-2.8 ​ล้านคน มากกว่า 1 ล้านล้านบาท เป็นการแสดงให้เห็นว่าสร้างรัฐราชการ ต้องเปลี่ยนแปลงกระจายอำนาจ กระจายงบประมาณ ให้ประชาชนมีโครงสร้างอำนาจ และเป็นระบบรัฐสวัสดิการ ในเรื่องทรัพยากรที่ดินต้องให้ประชาชนมีสิทธิ์ต้องปฏิรูปการใช้ประโยชน์ในที่ดิน

3. การปฏิรูปข้อมูล ต้องมีฐานข้อมูลการถือครองที่ดิน ตลอดจนข้อมูลแปลงที่ดินต้องสามารถเข้าถึงตรวจสอบได้ วันนี้มีการปกปิด เช่นนักวิชาการได้พบว่า บางท่านมีที่ดิน 600,000 ไร่ บางท่านไม่มีที่ดิน แต่พอไปถามกรมที่ดิน เพราะมาตรา 6 ที่ดินรกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ที่เป็นโฉนดต่อเนื่อง 10 ปี และ หากเป็นเอกสารสิทธิ เช่น นส. 3 ปล่อยทิ้งร้างต่อเนื่อง เวลา 5 ปี

ถือว่าเอกชนนั้นสละสิทธิ์รัฐจะเอาคืนได้ ปรากฎว่าไม่มีการบังคับใช้กฎหมายเลย ทั้งที่เมื่อขับรถผ่านไปผ่านมาก็จะพบที่รกร้างว่างเปล่าทิ้งร้างจำนวนมากแต่กฏหมายมาตรานี้ไม่เคยใช้บังคับเลย เพราะมีการถูกรวบอำนาจอยู่ส่วนกลาง จำเป็นต้องปฏิรูปข้อมูล

4. การปฏิรูปแผนที่ ควรมีการจำแนกพื้นที่ การจัดทำแผนที่ให้ถูกต้องมีมาตรไม่ทับซ้อนกัน มีตัวอย่างการทำแผนที่ของรัฐที่คลาดเคลื่อนผิดพลาด เช่น ป่าบูโด สุไฆปาดี ในจังหวัดนราธิวาส ปัตานี และยะลา ไปทำแผนที่รุกไปที่ชาวบ้านเป็นปัญหามาถึงปัจจุบัน

5. การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเรื่องที่ดิน ได้เห็น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 กำหนดเพิ่มโทษคดีบุกรุอุทยานแห่งชาน เป็น จำคุกตั้งแต่ 4 ปีถึง 20 ปี หรือปรับตั้งแต่ 400,000-2,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ) แต่ในการระดมความคิดเรื่องกระบวนการยุติธรรมเรื่องที่ดินเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553 สมัยเป็นรองปลัดกระทรวงยุติธรรม

มีแนวคิดที่จะยกเลิกการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับการบุกรุกที่ดิน ให้ใช้การดำเนินการคดีทางแพ่งหรือ มาตรการยึดทรัพย์สำหรับผู้ที่กระทำผิดหรือได้รับผลประโยชน์ไป เป็นหลักกระบวนการยุติธรรมในการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ กับประชาชนที่มีปัญหาเรื่องที่ดิน ส่วนใหญ่เป็นผู้ด้อยโอกาส

ผู้ยากไร้ในการต่อสู่คดีข้อพิพาทกับหน่วยงานรัฐ ซึ่งต้องใช้หลักฐานจำนวนมาก เป็นอุปสรรคสำคัญในการนำข้อเท็จจริงขึ้นสู่การพิจารณาของศาล ควรมีการพิสูจน์สิทธิและทำให้ประชาชนไม่ต้องเป็นผู้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานเองและใช้ช่องทางศาลปกครอง


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน