ทนายระดับอินเตอร์ “โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม” เผยนาที ในเหตุการณ์ พ.ค.53 ก่อนทำคดีหาตัวฆาตกร “การรอคอยความยุติธรรมที่ยาวนานกว่า 10 ปี”

วันนี้ (19 พ.ค.) นาย โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม เจ้าของสำนักงานกฎหมายอัมสเตอร์ดัม แอนด์ เปรอฟฟ์ ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายระดับสากล อดีตทนายความของ นาย ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตทนายความ ที่ผลักดันให้มีการฟ้องร้องคดีสังหารหมู่ 99 ศพ เมื่อเดือน เมษา-พฤษภา 2553 ในศาอาญาระหว่างประเทศ เผยแพร่บทความ “การรอคอยความยุติธรรมที่ยาวนานกว่า 10 ปี จากเหตุสังหารหมู่ ณ กรุงเทพฯ” โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ในระหว่างช่วงปลายเดือนเมษายนถึงต้นเดือนพฤษภาคมของปี 2553 ผมอยู่หลังซุ้มกีดขวางในถนนที่กรุงเทพฯ ร่วมกับผู้ประท้วงเสื้อแดง ซึ่งเป็นเวลาผ่านมาทั้งหมด 66 วันแล้วที่กลุ่มชุมนุมปิดยึดพื้นที่ในส่วนกลางของกรุงเทพและเป็นที่สนใจไปทั่วโลก

ผมได้ไปอยู่ในจุดนั้นเนื่องจากถูกส่งไปโดยอดีตนายกรัฐมนตรีของไทย ทักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นลูกค้าของผม ผู้ที่จ้างวานให้สำนักงานกฎหมายของผมคอยช่วยเหลือให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายกับกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

รวมถึงวานให้ช่วยเหลือหาหนทางด้านกฎหมายเพื่อจะปลดล็อครัฐบาล เนื่องจากในขณะนั้นประเทศกำลังตกอยู่ในกำมือรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรม เข้ามาอยู่ในตำแหน่งโดยการร่วมมือกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อโค่นล้มรัฐบาลเสียงข้างมากที่มาจากการเลือกของประชาชน

ในช่วงเวลาสำคัญนั้นได้เกิดเหตุการณ์ดุเดือดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะฝูงควันจากการยิงปืน รวมถึงเสียงปืนดังลั่นตลอดทั้งคืน ผมยังจำทุกอย่างได้ดี ผมอยู่ไม่ไกลเลยจากบริเวณที่มีพลทหารซุ่มยิงเสธ.แดง ในขณะที่เขากำลังให้สัมภาษณ์กับนักข่าวจากนิวยอร์คไทม์อยู่

พวกทหารฆ่าช่างภาพจากสำนักข่าวรอยเตอร์ นายฟาบิโอ โพเลนกี้ อย่างเลือดเย็น และทหารยังฆ่าเด็กที่ไม่มีอาวุธ พยาบาล แม้กระทั่งคนที่หลบภัยอยู่ในวัด พวกเราได้รับการแจ้งมาอย่างดีว่าทางรัฐบาลในขณะนั้นจะไม่ใช้ความรุนแรงกับเรา

พร้อมสัญญาว่าหลังจากเหตุการณ์ประท้วงจบลง จะให้มีการจัดการเลือกตั้ง ทั้งหมดนี้โดยเพิกเฉยและไร้การตอบกลับจากรัฐบาล ทุกอย่างมันชัดเจนว่ามันไม่ใช่แค่การจะสลายการชุมนุม แต่มันคือการใช้ความรุนแรงกดปราบกลุ่มผู้ชุมนุมและเป็นการก่อการร้ายต่อประชาชนไทยโดยรัฐบาลเสียเอง

การปราบล้างจบลงวันที่ 19 พ.ค. โดยกลุ่มชายชุดดำใช้ปืนยาวซุ่มยิงมาจากบริเวณรางรถไฟบีทีเอส พร้อมกับมีรถถังและรถติดอาวุธเคลื่อนมายังบริเวณที่มีตั้งซุ้มปิดล้อม ผมโชคดีที่หลบหนีไปฮ่องกงได้ทัน แต่มีอีกหลายคนที่โชคร้ายในวันนั้น มากกว่า 98 คน

โดยสังหารด้วยน้ำมือของกองทหารไทย และมากกว่า สองพันคนได้รับบาดเจ็บจากปฏิบัติการสลายการชุมนุมนองเลือดนี้โดยคำสั่งคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และประยุทธ์ จันทร์โอชาผู้สั่งงานปฏิบัติการทางการทหารที่กลายมาเป็นคนทำรัฐประหารต่อมา

หลายครอบครัวต้องโศกเศร้ากับการตายของคนในครอบครัวที่ถูกทหารไทยพรากชีวิตไปแต่ทหารผู้เป็นคนฆ่าไม่มีใครถูกดำเนินคดี ความเจ็บปวดของครอบครัวเหยื่อและความทรงจำของพวกเขาไม่ได้หายไป แต่คนที่สั่งฆ่า คนที่สนับสนุนและคนที่ได้ผลประโยชน์จากการฆ่าคนในครั้งนี้ยังลอยนวล

สังคมการเมืองไทยยังมีอะไรให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้อีกมากมาย เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและมันพิสูจน์ให้เห็นว่ามีคนกลายกลุ่มพร้อมปล่อยให้ระบอบประชาธิปไตยถูกทำลายลงไป

หากคุณมองกลับไปถึงประวัติศาสตร์ชาติไทยในตอนที่เราได้รับผลกระทบจากนโยบายต่างประเทศของอเมริกาซึ่งทำให้ไทยแบ่งแยกออกเป็นสองฝักฝ่ายจากการปราบปรามการประท้วงทางการเมืองตั้งแต่ปี 2516 ปี 2519 และ ปี 2536

แม้กระทั่งเมื่อไม่นานมานี้จากนโยบายของโอบาม่าที่หันกลับมาให้ความสนใจในเอเชีย เราจะเห็นได้ว่าสื่อต่างประเทศทั้งหลายไม่ได้ให้ความสำคัญกับการรายงานข่าวในรัฐประหารปี 2549 และปี 2552เลย ยิ่งกว่านั้นการสังหารหมู่ปี 2553 ก็ไม่มี ซึ่งเปรียบเหมือนเป็นการให้ความชอบธรรมและเข้าข้างกับฝ่ายเผด็จการ ทำไมเขาถึงได้คาดการณ์อะไรผิด ๆแบบนั้นกันนะ?

ข้อสรุปในความผิดพลาดครั้งนี้คือการสูญเสียชีวิตผู้คน สูญเสียอาชีพ การถูกจับเข้าคุกและการสูญเสียสิทธิทางการเมืองของคนเป็นล้านนำมาซึ่งการไร้สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพ ในวันนี้สิบปีที่แล้วหลังจากการสังหารหมู่

เรายังต้องทำหน้าที่เพื่อระลึกถึงความสูญเสียต่อไป มันถือเป็นความรับผิดชอบของพวกเราที่จะเตือนพวกมีอำนาจให้รู้ว่าคนต้องไม่ตายฟรีและการกระทำของพวกทหารป่าเถื่อนจะถูกจดจำต่อไป อนาคตอยู่ในกำมือคนรุ่นใหม่และเราหวังว่าความจริงนี้จะถูกเปิดเผยมากยิ่งขึ้นในอนาคต


 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน