หมายเหตุ : คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ จัดเสวนา หัวข้อ ‘รัฐประหาร19 กันยายน 2549 กับการเมืองไทยร่วมสมัย’ ผ่านมุมมองของคนสามรุ่นเมื่อวันที่ 16 ก.ย.

สุรชาติ บำรุงสุข
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ
ผู้เชี่ยวชาญด้านทหารกับการเมืองไทย

รัฐประหารก่อน 2549 เรามักถกกันว่ารุ่นไหนคุมกำลัง แต่ปี 2549 ไม่ใช่เงื่อนไขว่าจปร.7 หรือ จปร.5 แบบเดิม ปี 2549 เมื่อ
ทหารไทยที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มอนุรักษนิยมทำรัฐประหาร โลกเปลี่ยนมากกว่าที่พวกเขาคิดเยอะ

คอมมิวนิสต์ไม่ใช่ภัยคุกคามจึงต้องมีคำอธิบายมากมาย กลุ่มปีกขวาไทยเริ่มใช้เครื่องมือที่มากับระบบสื่อสารสมัยใหม่ มีการขึ้นตัววิ่งตลอดเวลา

ถ้าวันนี้ตอบคำถามด้วยเส้นแบ่งเวลาของการเมืองร่วมสมัย คำตอบตรงๆ รัฐประหาร2549 คือจุดเริ่มต้นของความหายนะของสังคมการเมืองไทย ที่ทิ้งปัญหาและผลพวงชุดใหญ่

รัฐประหาร 2549 คือปฏิกริยาสะท้อนกลับของความพ่ายแพ้ของกลุ่มอนุรักษนิยม ตอนทำรัฐธรรมนูญ 2540ไม่คิดว่าระบบสองพรรคจะเกิดเร็ว และเกิดชัยชนะของพรรคไทยรักไทย การเข้าสู่อำนาจมากับนโยบายใหม่ยุทธศาสตร์ใหม่เป็นครั้งแรกที่เห็นพรรคการเมืองชนะด้วยเสียงข้างมากในสภา ปีกที่รับไม่ได้ ทำให้เกิดวาทกรรมเผด็จการรัฐสภา ซึ่งเป็นเฟกนิวส์ในทางรัฐศาสตร์

รัฐประหาร 2549 ด้านหนึ่งเป็นชัยชนะของกลุ่มอนุรักษนิยมแต่สะท้อนความพ่ายแพ้ไม่สามารถสู้เกมการเมืองในระบบรัฐสภาได้แต่เมื่อรัฐประหาร 2549 ไม่สะเด็ดน้ำ ทำให้เกิดคำว่ารัฐประหาร 2549เสียของ จริงๆ มีความกดดันจากชาติตะวันตกด้วย








Advertisement

เมื่อปีกอนุรักษนิยมคุมไม่ได้ ทำให้เกิดรัฐประหารปี 2557 และรัฐประหารทั้งปี 2549 และ 2557 ต้องอาศัยการปูทาง ต้องการคนทำถนนให้รถถังวิ่งไปสภา พลังที่ทำให้เกิดรัฐประหารไม่ใช่จากทหารแต่เป็นพลังในสังคม รัฐประหารปี 2549 และ 2557 เ เป็นการรวมอำนาจด้านตรงข้ามฝั่งประชาธิปไตย ต่างจากยุคเก่าใช้ทหารเป็นศูนย์กลาง

ศตวรรษนี้เรากำลังเห็นการสร้างบ้านปีกขวาที่มี 4 เสา คืออนุรักษนิยม จารีตนิยม เสนานิยม ทุนนิยม, 3 จั่ว คืออุดมการณ์ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์, 2 คาน คือ เสนาธิปไตย กับ ตุลาการธิปไตย และ 1 พื้น ส่วนปีกซ้าย นั้นมันจบไปนานแล้ว ไม่มีคนเดือนตุลาหลังสงครามปฏิวัติไทย

วาทกรรมที่ถูกสร้างใน 2549 คือตุลาการภิวัตน์ เพราะเป็นการเข้ามามีบทบาทของตุลาการ ซึ่งปี 2557 เราหนีปัจจัยภายนอกไม่ได้ตะวันตกไม่ตอบรับการรัฐประหารที่กรุงเทพฯ

สิ่งที่เราเริ่มจะเห็นวันนี้ คือ ม็อบขาสั้นคอซอง ของเยาวชน ส่วนอีกม็อบคือขายาว กระโปรงบาน เราเห็นม็อบนักเรียนนักศึกษาฟื้นตัวขึ้นมา กำลังจะเปลี่ยนภูมิทัศน์การเมืองไทย ในช่วงที่บริบทการเมืองไทยกำลังถูกท้าทายจากการระบาดโควิดและโควิดเหมือนระฆังช่วยรัฐบาลให้อยู่ต่อ

รัฐบาล 3 ป ที่เราพูดกัน ผมอยากเรียกว่า รัฐบาล 3 ปู่ คือ ปู่ป้อม ปู่ตู่ และปู่ป๊อกที่เติบโตโดยเครื่องมือเก่า แต่ปัจจุบันเป็นยุคเครื่องมือใหม่ ทำให้เราเห็นบทบาทคนรุ่นใหม่ชัดเจนขึ้น เป็นการต่อสู้ระหว่าง 2Gกับ 5G ระหว่างพลังเก่ากับพลังใหม่ และการต่อสู้ทิ้ง คำถามใหญ่ที่ว่าทำ อย่างไรการเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยจะไม่มีความรุนแรง และถ้าการเปลี่ยนผ่านเกิดขึ้นได้จริงเราจะออกแบบรัฐธรรมนูญเพื่อพวกเราอย่างไร จะออกแบบสถาบันการเมืองใหม่มารองรับได้อย่างไรทำอย่างไรจะล้างอิทธิพลที่ตกค้างในระบอบการเมืองไทยเดิม เพราะไม่เช่นนั้นการออกแบบใหม่จะไม่สามารถขับเคลื่อนไทย

ดังนั้น วันนี้กระบวนการประชาธิปไตยไม่ว่าปีกไหนต้องเข้าร่วมด้วยกันเพื่อเห็นแก่อนาคต ถึงเวลาแล้วที่กระบวนการประชาธิปไตยต้องขับเคลื่อนไปเพื่อสร้างการเมืองใหม่ และต้องปฏิรูป

ข้อเรียกร้องของกลุ่มปลดแอกชูสามนิ้วคือประตู เราต้องคิดอนาคตสังคมไทยที่เอื้อให้เกิดการอยู่ร่วมกัน

ปี 2475 ทหารอยู่ในฐานะผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ปี 2549ถึง 2557 เป็นผู้ต่อต้านการเมือง ภารกิจทหารขยายจนมีถามว่าทหารจะทำอะไรถ้าอนาคตจะจำกัดบทบาททหารเราจะทำอย่างไร วันนี้ เราเห็นความเติบโตทางความคิดของเด็ก ดังนั้นรัฐและสภาก็ต้องเอาไปคิดด้วยว่าโลกทัศน์ควรเป็นอย่างไร

โลกยุคเก่าของคนรุ่นเก่ามันถดถอยแล้วถอยอีก รัฐประหารไม่ใช่ชัยชนะ ต้องคิดในมุมกลับ คือความพ่ายแพ้ต่างหาก ตอบไม่ได้ว่าเสาร์นี้จะเกิดอะไร แต่ได้เห็นภาพคนรุ่นใหม่เติบโต การเมืองลงไปถึงนักเรียน เด็กอายุ 14-15 ปี ขึ้นเวที

ญาณิศา วรารักษพงศ์
นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ

ส่วนตัวเกิดปี 2544 ตอนรัฐประหาร 2549 ก็แค่ 4-5 ขวบ ยังไม่รู้เรื่องเท่าไร รัฐประหารไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวและส่งผลกระทบต่อชีวิตโดยที่เราไม่รู้ตัวรัฐประหารอีกครั้งเมื่อ 2557 เราก็ยังไม่รู้เรื่อง รู้แค่นายกฯชื่อยิ่งลักษณ์ แล้วเปลี่ยนนายกฯ มีทหารขึ้นมาแทน

จนมาถึงมัธยมต้น เราโตมากับเทคโนโลยีและโซเชี่ยล ซึ่งเปิดมุมมองที่หาไม่ได้จากที่บ้าน สื่อโทรทัศน์ แม้กระทั่ง
หลักสูตรในโรงเรียน ที่ผ่านการเซ็นเซอร์ลดทอนมาระดับหนึ่ง

หลักสูตรการเมืองร่วมสมัย ระดับประถม มัธยมต้น พูดถึงน้อยมากเรียนเรื่องสุโขทัย อยุธยา กรุงธนฯรัตนโกสินทร์ จนถึง 2475

มาได้เรียนการเมืองร่วมสมัยตอนมัธยมปลาย แต่ก็แค่เรียนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในปี 2475 แต่ไม่ได้เรียนรู้ว่าแต่ละคนเขามีความคิดอย่างไร พื้นฐานอย่างไร ส่งผลอย่างไร

นายกฯเราก็เรียนรู้แค่ชื่ออะไร ใครบ้างมีเหตุการณ์ใดบ้าง ไม่ได้เข้าใจว่าเหตุการณ์ว่าเกิดเพราะอะไร ไม่เข้าใจทำไมคณะราษฎรปฏิวัติ ไม่มีโอกาสถกเถียง ฟังการวิเคราะห์ทำให้นักเรียนในระบบการศึกษาไม่เห็นความสำคัญของประชาธิปไตย ไม่รู้ความหมายที่แท้จริง ไม่รู้ความร้ายแรงของรัฐประหาร หรือการละเมิดสิทธิต่างๆ ไม่ได้เรียนรู้ว่าใครโดนอุ้มหาย ใครถูกจับจากพื้นฐานไม่ชอบธรรมทำให้เรามองการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เห็นความสำคัญ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อเราโดยตรง ตั้งแต่นักเรียน จนถึงครอบครัวเรา

ในสายตาเรารัฐประหารเป็นอาการของโรคร้ายแรง เรื้อรังที่มีมานาน ซึ่งเกิดขึ้นจนเราชินชา เราไม่รู้ว่าเป็นสิ่งผิดปกติ แต่โรค
ร้ายแรงนี้มีการแทรกซ้อนอื่นๆ จนมาถึงจุดหนึ่ง ด้านการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีทำให้เราได้ฟังเสียงจากด้านนอก
ว่าสิ่งที่เกิดซ้ำไปซ้ำมาไม่ใช่สิ่งปกติ ได้เคาะ กะลา เปิดตาขึ้นมา เพราะเราสรรหากันมาเองไม่ได้มาจากการศึกษาในระบบ

อาการต่างๆที่มากับโรค ทั้งเศรษฐกิจสังคม ทำให้เราได้เห็นระบบบอุปถัมภ์พ่อแม่ใหญ่โตฝากลูกเข้าโรงเรียน คนที่ใหญ่
กว่าในสังคมกดทับคนที่เล็กกว่า เราต้องค่อยๆ รักษาอาการเหล่านี้ให้ถึงต้นกำเนิดของโรคร้าย โรคที่ไม่เป็นประชาธิปไตย
โรคที่ทำให้คนไม่เท่ากัน

นักเรียน นักศึกษาเคลื่อนไหวเพราะเราต้องการเปลี่ยนเกม ไม่ใช่ต้องการเปลี่ยนผู้เล่น ถ้าอนาคตจะมีรัฐประหารก็คือสิ่งชินชา
ดังนั้นสามข้อเรียกร้องคือพยายามเปิดทางเปลี่ยนเกม เพื่อรักษาโรคไม่ใช่แค่อาการ

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
การปกครอง รัฐศาสตร์ จุฬาฯ

มีการพูดถึงเสมอๆ ว่ารัฐประหารครั้งนั้นถูกเปรียบว่าเป็นวันเด็กแห่งชาติ แต่ใช้ไม่ได้กับเด็กในวันนี้ ถ้าการรัฐประหาร
จะเกิดขึ้นพรุ่งนี้ก็ต้องถามเด็กๆก่อน ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเด็กสมัยนี้ต้องการวันเด็กแห่งชาติหรือเปล่า

บทเรียนจากการทำรัฐประหาร 19 ก.ย. มีหลายประเด็น ไม่มีใครคาดคิดจะเกิด 19 ก.ย. 2549 เพราะรัฐประหารครั้งสุดท้ายคือ
ปี 2534 จนเป็นตัวอย่างประชาธิปไตยไทยที่ตั้งมั่น หากแต่เสถียรภาพประเทศสั่นคลอนนับแต่นั้น ความขัดแย้งร้าวลึก

ข้อสังเกตต่อมา การรัฐประหารรอบนั้นเกิดขึ้นในห้วงเวลาเศรษฐกิจดี ข้ออ้างการบริหารงานรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพก็ไม่ใช่จึงนำไปสู่ประเด็นการต้านโกง ระบอบทักษิณมีผลกระทบกว้างขวาง มีผู้ได้ป ร ะ โ ย ช น์เ สียประโยชน์และกำเนิดวาทกรรมคนดี

การทำรัฐประหารถูกถักพอขับเคลื่อนป ะ ติด ป ะ ต่ อ มีลักษณะออกบัตรเชิญเกิดมวลชนขนาดใหญ่แย่งชิงความชอบธรรมระหว่างมวลชนทางการเมืองกับมวลชนที่มาจากการเลือกตั้ง

วาทกรรมเสียงข้างมากใช้ไม่ได้ในทางการเมืองจริงความสำคัญไม่ใช่จำนวนแต่อยู่ที่คุณภาพของกลุ่ม การรัฐประหาร ครั้งนั้นจึงเป็นแม่แบบใหม่ของรัฐประหารถึงปี 2557 ที่ทำให้เกิดการขับเคลื่อนมวลชน มีบัตรเชิญ

เรื่องต่อเนื่องจากรัฐประหาร 2549 คือข้อถกเถียงที่ว่าด้วยเรื่องทหารกับการเมือง ประเด็นความเป็นทหารอาชีพ กับความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับพลเรือน นักวิชาการต่างเชื่อว่าถ้าทหารเป็นมืออาชีพจะไม่ทำรัฐประหารหรือไม่แทรกแซงทางการเมือง

แต่สำหรับประเทศไทย ทหารอาชีพคือทหารที่ชำนาญในการทำรัฐประหารเป็นอาชีพ ถ้าจะอ่านสัญญาณ พล.อ.ประยุทธ์ บอกจะไม่ทำรัฐประหาร พล.อ.สนธิ ก็ไม่ทำแน่ๆ พล.อ.สุจินดาก็หัวเราะ ไม่มีใครคิดว่าบิ๊กแดง จะทำรัฐประหาร แต่ถ้าใช้บทเรียนของพล.อ.สนธิ ไม่ต้องพูดก็รู้

รัฐประหาร 2549 นอกจากมวลชน การทำตัวเป็นทหารอาชีพยังเกิดลักษณะปัญญาชนฝ่ายสนับสนุนการทำรัฐประหารออกมา
อธิบาย สร้างความชอบธรรมให้รัฐประการอย่างเป็นล่ำเป็นสัน

มีนักวิชาการจำนวนมากสนับสนุนการทำรัฐประการ จำร่วมม็อบ ขึ้นปราศรัย อ้างว่าไม่ได้ทำรัฐประหารแต่เป็นการรักษา
ประชาธิปไตย ไม่ได้เป็นการฉีกรัฐธรรมนูญ

แต่รัฐประหาร 2549 ที่มีเงื่อนไขอยู่ไม่นาน ร่างรัฐธรรมนูญคืนอำนาจในปีเศษ แต่ปัจจุบันเกินจอมพลสฤษดิ์ไปแล้ว กำลัง
นับแต้มเข้าสู่จอมพลถนอม จอมพลประภาส แต่การนับแต้มมีการทำรัฐประหารตัวเอง สุดท้ายต้องหนีไปต่างประเทศ

ผมให้เครดิตนายปิยบุตร แสงกนกกุล ทำให้เราเข้าใจว่าการรัฐประหารที่สำคัญไม่ได้เกิดในยุคจอมพลสฤษดิ์ แต่เกิดในปี 2490
ก่อนหน้าเราเข้าใจว่าการทำรัฐประหารหมายถึงทหารยึดอำนาจ สำเร็จและใช้อำนาจเด็ดขาด โดยมีจอมพลสฤษดิ์ เป็นไอดอล

การรัฐประหารในปี 2490 ไม่ได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดด้วยกำลังทหารอย่างเดียวแต่เป็นจุดตั้งต้นของการมีคำพิพากษาหลังจากนั้น
ว่าการทำรัฐประหาร เบื้องแรกผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญแต่ถ้ายึดอำนาจเป็นผลสำเร็จคณะรัฐประหารกลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์ คำสั่งคณะรัฐประหารถือว่าชอบด้วยกฎหมาย

คำอธิบายรัฐประหารจึงเพิ่มอีกสถาบันมาเกี่ยวข้อง ไม่นับสถาบันทหารที่เข้าใจกันอยู่แล้ว คือสถาบันตุลาการ

การชุมนุม 19 ก.ย.นี้ ไม่ใช่ม็อบไล่ผู้นำแต่เด็กไปไกลกว่านั้น คือต้องการเปลี่ยนกฎ กติกาไม่ให้ผู้นำแบบนี้เข้ามาได้

การมีส.ว. ให้เลือก พล.อ.ประยุทธ์มาได้เลยเป็นข้อผิดพลาดรวมถึงการสร้างระบบการเลือกตั้งใหม่ทำให้พรรคเหรียญสลึงเข้ามาได้ เป็นรองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เป็นคนเตรียมร่างรัฐธรรมนูญใหม่ สะท้อนว่าปัญหามีจริงและไม่เป็นธรรม

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน