สื่อญี่ปุ่น เผยแพร่บทความ สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย โดยระบุว่า รัฐบาลไทยพยายามปราบปราม ไล่จับกุมผู้เห็นต่าง รวมถึง กลั่นแกล้ง ยัดคดี และ ตัดวีซ่า

Courrier JP

เมื่อวันที่ 17 พ.ค.64 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 พ.ค. เว็บไซต์ เคอร์เรียร์ ในญี่ปุ่น ได้เผยแพร่บทความเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย โดยมีเนื้อหาสำคัญที่ระบุว่า รัฐบาลไทยพยายามติดตามเพื่อจับกุมผู้เห็นต่าง กลั่นแกล้งฝ่ายประชาธิปไตย ยัดข้อหาให้กับนักวิชาการไทย รวมถึงระงับวีซ่าของนักวิชาการ

ข่าวดังกล่าวมีพาดหัวว่า “นักวิชาการที่ทำการวิจัยเชิงวิพากษ์ ถือเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นในประเทศไทย รัฐบาลทหาร พยายามขัดขวางเสรีภาพในการพูด ที่นับวันก็ตกต่ำลงอย่างมากในประเทศไทย” โดยมีเนื้อหาข่าว ระบุว่า

Twitter

“ในประเทศไทย มีการประท้วงเรียกร้องให้มีการปฏิรูปในระบอบประชาธิปไตยอย่างเข้มข้นขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2563 แต่กลับมีการควบคุมเสรีภาพในการพูดและการปราบปรามจากระบอบทหาร โดยเพ่งเล็งไปที่นักวิชาการ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น นับตั้งแต่มีการรัฐประหารในปีพ.ศ.2557 เมื่อเร็ว ๆ นี้ ไม่เว้น แม้แต่นักวิชาการชาวต่างชาติ ก็ยังถูกแทรกแซง

เมื่อกลางเดือนเมษายนที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ได้เพิกถอนใบอนุญาตทำงานของ นายเดวิด สเตร็คฟัสส์ นักวิชาการอิสระชาวอเมริกันวัย 61 ปี โดยนาย เดวิด อาศัยอยู่ในประเทศไทยมาเป็นเวลาประมาณ 35 ปีแล้ว

Facebook

มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า ถูกบังคับให้ตัดสินใจเช่นนั้น ภายใต้แรงกดดันจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง หลังจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเยี่ยม นายเดวิด จากการตัดสินใจดังกล่าว ทำให้นายเดวิด สูญเสียใบอนุญาตทำงานและถูกเพิกถอนวีซ่า โดยมีผู้กล่าวหาว่าเขาเป็นตัวแทนของหน่วยสืบราชการลับกลางแห่งสหรัฐฯ หรือซีไอเอ พร้อมกำลังดำเนินการรณรงค์ออนไลน์ เพื่อเนรเทศ นายเดวิดออกจากประเทศ

ไม่ว่านายเดวิดจะถูกถอนวีซ่า เพราะสาเหตุใดก็ตาม นี่เป็นสัญญาณของการปราบปรามเสรีภาพทางวิชาการในประเทศไทย ซึ่งมีความรุนแรงขึ้น ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 กลุ่มนักวิชาการของไทยจำนวนมาก ถูกจับตาและตรวจสอบจากรัฐบาล

การอภิปรายทางวิชาการ การสัมมนา และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ต้องจัดขึ้นอย่างระมัดระวังด้วยเหตุผลทางการเมือง บ่อยครั้งที่มักจะถูกยกเลิกหรืออยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลหรือกองทัพที่เข้ามาสังเกตการณ์ การวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือกิจกรรมที่กล่าวถึงระบบทางการทหารหรือสถาบันเป็นสิ่งต้องห้ามหรือถูกจำกัดเสรีภาพการพูด ทำให้หลายครั้งมีกรณีที่สุ่มเสี่ยงจะถูกดำเนินคดีในข้อหายุยงปลุกปั่น และดูหมิ่นสถาบันฯ

เสรีภาพทางวิชาการเป็นสิทธิสากลในสังคมที่เสรีและเปิดกว้าง ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาแบบเสรีที่มีคุณภาพ อย่างไรก็ตามเสรีภาพทางวิชาการไม่ได้รับการปกป้องและรับรองอย่างดีนัก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศที่มีความยืดหยุ่นทางเสรีภาพต่ำที่สุดในระดับใกล้เคียงกับประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประเทศเยเมน ในการจัดอันดับเสรีภาพทางวิชาการล่าสุดที่เผยแพร่โดยสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะสากลแห่งเยอรมัน และเครือข่ายนักวิชาการในภาวะเสี่ยง (สหรัฐฯ)

ทั้งนักวิชาการชาวไทยหรือต่างชาติในประเทศไทย กำลังถูกทำลายเสรีภาพทางวิชาอย่างรุนแรง จากรัฐบาลทหาร นักวิชาการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่อ่อนไหวทางการเมือง รวมถึงนายเดวิด ถูกการดำเนินการอย่างหนักโดยเจ้าหน้าที่ พวกเขาถูกสุ่มตรวจค้นที่พักอาศัย ถูกกักบริเวณ บางคนถูกเรียกตัวไปปรับทัศนคติ

รัฐบาลไทย มีการตั้งข้อหากลั่นแกล้งนักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ชื่อดัง จนต้องเดินทางออกจากประเทศ รวมถึงดำเนินคดีกับ นายอรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และนายสมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นายเดวิด ไม่ใช่นักวิจัยต่างชาติคนแรก ที่ทางการไทยดำเนินการ ก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ.2562 ดร.แอนดรูว์ จอห์นสัน อาจารย์ด้านมานุษยวิทยาประจำมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน สหรัฐอเมริกา ถูกตำรวจตรวจคนเข้าเมืองประเทศไทยกักตัว รวมถึงเค้นข้อมูลในการทำวิจัยอีกด้วย โดย ดร.แอนดรูว์ ระบุว่า สาเหตุการถูกกักตัวไว้ เป็นเพราะเขาได้ลงนามในคำร้องเพื่อสนับสนุนการเรียกร้องเสรีภาพทางวิชาการและต่อต้านการแทรกแซงของรัฐบาลในกิจกรรมทางวิชาการของประเทศไทย”

Facebook

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน