จากกรณีที่ เว็บไซต์ ‘บีบีซีไทย’ รายงานถึงกรณีที่มี ‘คลิปสัมภาษณ์’ ของ ‘นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์’ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวกับนักเรียนไทย และนักธุรกิจไทยที่มาร่วมงานเลี้ยงรับรองที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงลอนดอน ถึงกรณี ‘นาฬิกาหรู’ ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในทำนองที่ว่า “แต่เมืองไทย มีนาฬิกาใส่ 25 เรือน ยังไม่เป็นไร” (ฟังคลิป : “หมอธี” รมว.ศึกษาฯ วิจารณ์หนักนาฬิกา 25 เรือน)

ขอบคุณภาพจากเว็บไซต์กระทรวงศึกษาธิการ

สำหรับ ‘หมอธี’ หรือ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ นั้น เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ใน ครม.ประยุทธ์ 4 (16 ธันวาคม 2559) โดยก่อนหน้าที่จะดำรงตำแหน่งนี้ เคยดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการมาก่อน ในสมัย ครม.ประยุทธ์ 3 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นคนชักชวนด้วยตัวเอง

“พล.อ.ประยุทธ์ ได้มาเชิญให้ช่วยกันทำงานในครม.ชุดใหม่ ผมได้ตอบตกลง ไม่มีการวิ่งเต้น ไม่มีใครฝากฝัง และผมจะยอมเป็นเด็กฝากไหม?” นพ.ธีระเกียรติ เคยกล่าวไว้ในช่วงเข้ารับตำแหน่ง “รมช.ศึกษาธิการ” เมื่อเดือน ก.ย. 2558

โดยก่อนหน้าที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะชักชวนมาเป็นรัฐมนตรี ใน ครม.

“พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ” ใน ครม.ประยุทธ์ 1 ก็ได้ชักชวนมาให้มาดำรงตำแหน่ง ‘ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ’ เมื่อช่วงปี 2557 หลังการรัฐประหารของ คสช. เมื่อปี พ.ศ. 2557

ด้านชีวิตส่วนตัว นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ สมรสกับ ทันตแพทย์หญิง สุภาพร เจริญเศรษฐศิลป์

จบปริญญาตรี แพทยศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน แผนกจิตเวชศาสตร์และจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

คลุกคลีงานด้านการศึกษามาเกือบ 30 ปี โดยได้ร่วมกับ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา จัดตั้งโรงเรียนสัตยาไสขึ้น เป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการพัฒนาจริยธรรมในวัยเรียน

เคยดำรงตำแหน่งรองคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ต่อมาทางประเทศอังกฤษเชิญไปดำรงตำแหน่ง จิตแพทย์เด็กอาวุโส ที่เมืองโคลเชสเตอร์ และ เป็นอาจารย์กิตติมศักดิ์อาวุโส มหาวิทยาลัยลอนดอน
เป็นคนไทยที่เป็นสมาชิกของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งสหาชอาณาจักร

เคยเป็น “ที่ปรึกษารมช.สาธารณสุข” (นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม) เมื่อปี พ.ศ. 2535

เคยได้รับแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการศูนย์จิตวิทยาการศึกษา ซึ่งจัดตั้งโดยมูลนิธิยุวสถิรคุณ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ทำงานได้เพียง 5 เดือน เกิดรัฐประหาร เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557

จึงเป็น “จุดเปลี่ยน” ที่ทำให้ “หมอธี” ต้องเข้ามาทำงานกับ “รัฐบาล คสช.”

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน