เสวนา”เปลี่ยน สว. ได้ ประเทศไทยเปลี่ยน” ชี้ ข้อต่อชนชั้นนำ ทำ ปชต.อ่อนแอ พร้อมเปิดตัวผู้สมัคร สว.สายศิลปิน-สื่อมวลชน

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 28 เม.ย.67 ที่ห้องประชุมชั้น 1 หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ได้จัดงาน “เปลี่ยน สว. ได้ ประเทศไทยเปลี่ยน” โดยภายในงานมีการเปิดตัวผู้ลงสมัคร สว. สายศิลปิน นักเขียนและสื่อมวลชนปี 2567 ภาคประชาชน อาทิ ปิงปอง – ศิศักดิ์ อิทธิพลพาณิชย์ (ศิลปิน) พิเซษฐ กลั่นชื่น (ศิลปินรางวัลศิลปาธร) ต๊ะ-นารากร ติยายน (สื่อมวลชน) ซะการีย์ยา อมตยา (กวีรางวัลซีไรต์) ดุจดาว วัฒนปกรณ์ (ศิลปิน) ธีระวัฒน์ รุจินธรรม (ผู้กำกับภาพยนตร์) ประกิต กอบกิจวัฒนา (ศิลปิน) ถนัด ธรรมแก้ว หรือ ภู กระดาษ (นักเขียน) ทนงศักดิ์ หาญวงษ์ (นักโบราณคดี) ชลณัฏฐ์ โกยกุล (สื่อมวลชน) จีรนุช เปรมชัยพร (สื่อมวลชน) ธีระวัฒน์ มุลวิไล (ศิลปิน) ซะการีย์ยา อมมตยา สื่อสารมวลชน/นักเขียน เป็นต้น

รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “เหลียวหลังแลหน้าวุฒิสภาไทยเอาอย่างไรกันต่อดี” ว่า เรากำลังเผชิญกับเกมส์ของคนชั้นนำ ไม่ใช่จ่ายเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น ถ้าเรารู้จักทั่วโลกชนชั้นนำที่ไม่อยากให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ซึ่งสามารถทำอย่างไรได้บ้างเพราะขณะนี้ยากที่จะทำรัฐประหาร และใช้วิธีที่แนบเนียนกว่านี้ ซึ่งการรัฐประหารเป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายประชาธิปไตย ไม่ใช่เป็นจุดสิ้นสุดของการทำลายประชาธิปไตย เพราะเมื่อทำรัฐประหารแล้ว อย่างไรก็ตามไม่สามารถปกครองตลอดไปได้ โดยไม่ยอมให้มีการเลือกตั้งฉะนั้น จะทำอย่างไร

ซึ่งชนชั้นนำจะใช้สามกลวิธีในการทำลายประชาธิปไตยและทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอคือ 1.การเปลี่ยนแปลงกติกา 2.การคุมกรรมการ ซึ่งไม่ใช่กรรมการในการจัดการเลือกตั้งเท่านั้น รวมไปถึงองค์กรอิสระต่างๆ วิธีคือการร่างกติกาและนำคนของตนไปใส่ไว้ในองค์กรต่างๆ ที่จะสามารถควบคุมประชาธิปไตยได้ และ3.ทำให้ฝ่ายที่ต่อต้านอ่อนแอ วิธีการที่ง่ายที่สุดคือการยุบฝ่ายค้านไปเลย ดังนั้นต่อให้การเลือกตั้งก็สามารถการันตีได้ว่าสามารถควบคุมการเลือกตั้งได้และสามารถชนะการเลือกตั้งได้ ซึ่งการรัฐประหารจึงเป็นเพียงจุดเริ่มต้นมิใช่จุดสิ้นสุดของการทำลายประชาธิปไตยในบริบทของไทย สว. คือข้อต่อสำคัญในนามของชนชั้นนำ

รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวต่อไปว่า ประวัติ สว.ไทย สะท้อนความผันผวนของประชาธิปไตยไทย สว. ไม่จำเป็นต้องเป็นศัตรูของประชาธิปไตยเสมอ แต่ของประเทศไทยที่ผ่านมาเป็นเช่นนั้นเกือบตลอดประวัติศาสตร์จุดเริ่มต้น สว. แต่งตั้งมาพร้อมกับจุดเริ่มต้นของระบอบเผด็จการทหารในสังคมไทยรัฐประหารปี 2490

นั้นคือ 1.สว. ไทยเกือบทุกชุดคือผู้พิทักษ์ระบอบที่เป็นประชาธิปไตย 2. รักษาระบอบประชาธิปไตยของชนชั้นนำกลุ่มน้อยเครือข่ายอุปถัมภ์ขนาดใหญ่ และ3.สว.ไทย ไม่ให้ถูกออกแบบให้ตรวจสอบรัฐบาล (ยกเว้นรัฐธรรมนูญ 2540) แต่เป็นส่วนขยายของรัฐบาลทำหน้าที่ค้ำจุนระบอบ สว. คือ วุฒิสภาคือพื้นที่ของการสร้างเครือข่ายอุปถัมภ์ของชนชั้นนำ

รศ.ดร.ประจักษ์ กล่าวว่า สำหรับพัฒนาการของวุฒิสภาไทย และปัญหาที่ผ่านมา เราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเกือบตลอดประวัติศาสตร์ สว. ทำหน้าที่ค้ำจุนระบอบอำนาจนิยมมากกว่าจะทำหน้าที่ส่งเสริมประชาธิปไตย โดยจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการมีสภาสูง ราคาสูงจากการแต่งตั้ง เข้าทำหน้าที่ค้ำจุนระบอบที่เป็นเผด็จการเนื่องมาจากการรัฐประหารปี 2490 ซึ่งจุดนี้เป็นจุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยไทยเข้าสู่วงจรอุบาทว์ เราถดถอยตลอดมา

จนกระทั่งมาถึง 2560 ตนเรียกว่าเป็นระบอบพิสดารโดยมีบทเฉพาะกาลห้าปีแรกให้คสช. แต่งตั้ง ซึ่งการดีไซน์รัฐธรรมนูญ 2560 นั้นบิดเบือนกลไกประชาธิปไตยเพื่อรักษาระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย คือ 1.สภาของตัวแทนกลุ่มอาชีพที่ปราศจากการมีส่วนร่วมและยึดโยงประชาชนซึ่งชนชั้นนำควบคุมได้ 2. มีการเปลี่ยนการเลือกตั้งให้กลายเป็นการเลือกสรรกีดกันประชาชนออกไป 3. การดึงมาเป็นพวก และ4.สะท้อนว่าชนชั้นนำอนุรักษ์นิยมยังคงต้องการสงวนกลไกวุฒิสภาไว้ให้เป็นกลไกค้ำจุนอำนาจของตน

ด้าน นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการ และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยและเห็นตรงข้าม กับระเบียบการเลือกสว. ของ กกต. เกิดมาจากกรอบความคิดที่เขาใช้ ตอนที่มีการเลือกสว. ของรัฐธรรมนูญฉบับปี 60 ถือต้องการให้มีการเลือกกันแบบ กุ๊กๆกิ๊กๆ คือไม่ต้องการให้ประชาชนส่วนใหญ่รับรู้รับทราบด้วย ตนบอกว่าการที่ยึดกรอบแนวความคิดนี้มาเป็นรูปแบบหรือโมเดล พบความสำคัญอยู่ที่การแนะนำตัวตาม พ.ร.ก. การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ปี 2561 ซึ่งหลักใหญ่ต้องดูที่เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญด้วยแล้วถึงจะยึดตรงนั้นเป็นหลักเพราะเจตนารมณ์ที่สำคัญที่สุดของการให้มีสส.ก็ดี สว.ก็ดี คือต้องการให้เป็นผู้แทนของปวงชนชาวไทยและเป็นผู้แทนของประชาชนคนไทยทุกคน สำหรับสส. ประชาชนทุกคนที่มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง พอมาดูทางสว. แล้วก็จะต้องเช่นเดียวกันกับ สส. คือ

“การที่กกต.จะออกระเบียน ที่ขัดต่อเจตนารมณ์ ของรัฐธรรมนูญ ผมเลยมองว่าวิธีการเลือกสว.ครั้งนี้ขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญแน่นอน 100%” นายพนัส กล่าว

ด้าน ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย สาธารณสุข เปิดเผยว่า จริงแล้ว ไม่เคยคิดมาก่อนเพราะตัวเองคาดหวังกับคนรุ่นใหม่ เพราะว่าปัจจุบันนี้เป็นโลกของคนรุ่นใหม่แล้ว แต่ในเมื่อวิธีการออกแบบมาจำกัดอายุ 40 ปีขึ้นไป ตนก็เป็นนักประชาธิปไตยคนหนึ่ง จึงอยากที่จะเข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้ดียิ่งขึ้น ตนแม้จะเป็นหมอแต่ก็เรียนจบด้านกฎหมายและเป็นอาจารย์สอนด้านกฎหมาย คนที่เรียนกฎหมายย่อมรู้ว่าอำนาจอธิปไตย จะต้องแยกกันอย่างเด็ดขาด ในเรื่องของอำนาจนิติบัญญัติ กับบริหารตุลาการ แต่บ้านเรานั้นปนกันไปหมด ทำให้เกิดผลประโยชน์ ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าเราจะบอกว่าคุณต้องการให้คนมาเพื่อจะมาเป็นสว. สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ในเรื่องของนิติบัญญัตินั่นแสดงว่าสว. ที่คุณได้ออกแบบ ก็ต้องไม่มีอำนาจอย่างอื่น เพราะนั่นคือผลประโยชน์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราในฐานะประชาชนคนหนึ่ง ที่จะมีส่วนที่จะเข้ามาแก้ไขในตรงนี้

จากนั้นเป็นการเสวนาแลกเปลี่ยนความเห็น “เปลี่ยน สว. ได้ ประเทศไทยเปลี่ยน” โดย จอห์น – วิญญ วงศ์สุรวัฒน์ ทนายแอน – ภาวิณี ชุมศรี (ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน) ครูแพรว – แพรวไพลิน กสิวัฒนา Miss Trans Global Thailand

 

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน