ปุ๋ยยาราเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการสูบน้ำออกจากถ้ำ ส่งผลให้การเกษตรของชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลเสียในระดับหนึ่ง โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้มอบปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ กรณีได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำออกจากวนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนต่างๆ ได้ร่วมให้การสนับสนุนนั้น บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะองค์กรที่สนับสนุนมอบ ปุ๋ยยูเรียโฟม 46-0-0 ตรายารา เวรา จำนวนกว่า 5 ตัน ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าวให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัย จำนวน 131 ราย เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นในสิ่งที่จำเป็นให้ชาวเกษตรกรที่ประสบปัญหาในครั้งนี้ และสัมภาษณ์เกษตรกรตัวอย่างผู้ประสบความสำเร็จในการปลูกและจำหน่ายลำไย พืชเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงราย ในเรื่องวิธีการปลูก การดูแลและการได้ผลผลิตตามเกณฑ์มาตรฐาน

ยารา ได้เริ่มก่อตั้งครั้งแรก ณ ประเทศนอเวย์ในปี ค.ศ. 1905 หรือ พ.ศ. 2448 มาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นเวลายาวนานมากกว่า 113 ปีแล้ว ยาราค้นพบและเป็นผู้ผลิตปุ๋ยธาตุอาหารไนโตรเจนเป็นคนแรกของโลก ด้วยเทคโนโลยีและประสบการณ์ที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน ทำให้ยาราเป็นผู้นำและเป็นที่เชื่อมั่นได้ในคุณภาพผลิตภัณฑ์ปุ๋ยในระดับโลก นวันที่ 25 มีนาคม 2547 (ค.ศ. 2004) ยาราได้จดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ของ ประเทศนอร์เวย์ (Oslo Stock Exchange) โดยได้มีการเริ่มใช้ประโยคประจำองค์ หรือ Tagline ว่า “Knowledge grows” ในระดับสาธารณะและสากลยาราได้นำเสนอแนวทางและทำงานร่วมกัน กับองค์กรสาธารณะและหน่วยงานเอกชนต่างๆ เพื่อที่จะสร้างการเติบโตทางธุรกิจและความยั่งยืนให้กับทั้งผู้ถือหุ้น ผู้มีส่วนร่วมกับบริษัทในด้านต่างๆ รวมทั้งสังคมและสาธารณะในระดับมหภาค

คุณถาวร ศรีสุวรรณศร ผู้อำนวยการฝ่ายซัพพลายเชน กล่าวว่าวันนี้ได้นำปุ๋ยมาให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบเพราะอย่างน้อยปุ๋ยยารา ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ได้มีการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ จึงอยากมอบปุ๋ยยาราให้กับตัวแทนเกษตรกรของแต่ละชุมชน ทางบริษัท ยารา ยังมีนักวิชาการเกษตรปุ๋ยยารามาให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธี รู้จักแร่ธาตุที่พืชต้อง เพื่อให้เกษตรกรได้รู้จักการใช้ปุ๋ยยาราอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แนะนำการพักหน้าดินในช่วงน้ำท่วมแบบนี้เกษตรกรควรทำอย่างไรกับพืชไร่ของตนเอง

คุณภูมิพีรพงค์ พาหิรัญ นักวิชาการเกษตรอาวุโส บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่าในกรณีพืชยืนต้นที่ถูกน้ำท่วม หากเรามีแปลกปลูกพืชต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพืชผัก ไม้ผล ที่ถูกน้ำท่วม เมื่อพืชถูกน้ำท่วมรากของพืชนั้นๆ จะมีการหยุดเจริญเติบโต ไม่ขยายเพิ่มเติมจนถึงช่วงหลังน้ำท่วมประมาณ 2 อาทิตย์ เกษตรกรยังไม่ต้องไปทำอะไรกับพืชทั้งนั้นให้ปล่อยไว้ก่อน รวมถึงการพรวนดิน เพราะว่าเวลาไปพรวนดินอาจจะไปโดนรากของพืชโอกาสที่รากของพืชติดเชื้อราหรือมีเชื้อแบคทีเรียเป็นไปได้สูง ให้รอจนกว่าพืชจะแทงยอดใหม่ เมื่อพืชเริ่มแทงยอดใหม่ขึ้นมาแสดงว่าระบบของพืชเริ่มฟื้นแล้ว หลังจากนั้นถึงจะเริ่มการพรวนดินหรือว่าใส่ปุ๋ยได้ การใส่ปุ๋ยก็แล้วแต่พืชชนิดนั้นๆ อยากให้พืชฟื้นตัวในช่วงแรกก็อาจจะใส่เป็นปุ๋ยไนโตรเจน 15-0-0 ก่อนได้แต่ใส่ในปริมาณที่เล็กน้อยเท่านั้น ใส่แค่ให้พืชมีการกระตุ้น แตกใบ มีสีเขียวกลับมาเป็นปกติมากขึ้น แต่ถ้าเป็นนาข้าวน้ำท่วมขังไม่นานให้ระบายน้ำออกให้หมดก่อนรอซักระยะหนึ่งให้แตกยอดออกมาก่อน พอเริ่มเห็นว่ามีการแตกยอดจึงเริ่มที่จะใส่ปุ๋ยตามโปรแกรมได้ ถ้าโดนน้ำท่วมเป็นเดือนถึงสองเดือนต้นเริ่มเน่าเกษตรกรต้องมีการเตรียมพื้นที่ใหม่ทิ้งระยะเวลาซักพักจนกว่าตัวที่เน่าในแปลงจะย่อยสลายหายไปเอง แต่หากเกษตรกรไม่ทิ้งระยะให้ตัวที่เน่าย่อยสลายไปก่อนแล้วเริ่มหว่านเมล็ดใหม่ลงไป โอกาสที่ทำให้ข้าวเน่าก็จะมีเยอะ การทิ้งระยะต้องดูสภาพของพื้นที่ด้วยบางที่อาจจะ 1-2 เดือน เลยทีเดียว

ทั้งนี้ยังมีโอกาสได้สัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกสวนลำไย คุณศศินกานต์ ราตรี (พี่เอื้อย) บ้านเลขที่ 322 หมู่ 2 บ้านป่าถ่อน ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย บอกว่ารุ้จักกับปุ๋ยยาราจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ แนะนำสูตรผสมต่างๆ เอามาผสมเอง ลองเอามาทำแล้วประสบความสำเร็จ พี่เอื้อยเป็นเจ้าของสวนลำไยและรับดูแลสวนลำไย ทำมาได้ 4 ปีแล้วสำหรับการรับซื้อลำไยเข้าล้ง ดูแลตอนนี้มีทั้งหมด 30 รายพื้นที่ตกประมาณ 500 ไร่ รับดูแลในที่นี้หมายถึงคนรับซื้อลำไย พื้นที่ไหนมีลำไยดีๆ พี่เอื้อยก็จะมาใส่ปุ๋ย ดูแลเพิ่มเติมเป้นการช่วยให้ลำไยนั้นได้ผลผลิตที่ดีมากขึ้น ดูแลจนได้ผลผลิตที่สวยก็รับซื้อผลผลิตนั้น “เข้าล้งลำไย” เป็นสถานที่รับซื้อลำไยเพื่อส่งออกสู่ประเทศจีน ราคาจะดีหรือไม่ดีก็ขึ้นอยู่กับว่าลำไยลูกโต ผิวสวย ตามเกณฑ์มาตรฐานหรือไม่ ถ้าผลผลิตตรงตามเกณฑ์ทั้งล้งรับซื้อและเจ้าของสวนก็จะดีทั้งสองฝ่าย เฉพาะของพี่เอื้อยเองตอนนี้มีอยู่ 30 ไร่ ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์อีดอ ความโดดเด่นของที่นี้ก็คือ จะติดดอกง่ายเพราะเกษตรกรที่ปลูกลำไยส่วนใหญ่จะติดดอกยาก จะมีติดบ้างเป็นบางสวน แต่สวนที่พี่เอื้อยเข้าไปดูแลส่วนใหญ่ดอกจะติด ในช่วงแรกการแตกช่อออกมาพี่เอื้อยจะแนะนำให้ใช้แคลเซียมโบรอน 15-0-0 ใส่ทางดิน ต้นที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป 1 ต้นใส่ประมาณ 1-2 โล ให้เป็นช่วงๆ จะมีอีกช่วงหนึ่งที่เม็ดของลำไยเท่ากับหัวไม้ขีดหรือเม็ดเล็กก็จะใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 + 15-0-0 คือ 25 กิโล ต่อ 50 กิโล ผสมกัน 1 ต่อ 1 อันนี้จะใช้ในอัตราส่วน 1-2 กิโล ต่อต้น ขนาดไซค์เม็ดมะเขือพวง ใส่ปุ๋ยสูตร 15-0-0 + 15-15-15 อัตราส่วน 1-2 กิโล ที่สวนจะใช้เดือนละครั้งแล้วแต่ขนาดต้นและผลดกหรือไม่ดก ก่อนเก็บ 1 เดือน ที่สวนจะใช้ปุ๋ยสูตร 15-9-20 + 15-0-0 เสริมแคลเซียม ปุ๋ยสร้างเปลือกหรือใช้เพื่อขยายเปลือกให้มีความแข็งแรง “ปุ๋ยยารา” ช่วยในเรื่องของการออกดอก ไม่ว่าจะช่วยให้ช่อดอกยาวขึ้น , ดอกแข็งแรง , ยืดช่อ ทำให้พวงใหญ่ ลูกใหญ่ , เพิ่มความหวาน ปรับคุณภาพให้ดีขึ้น , หนึ่งต้นให้ผลผลิตประมาณ 200 กิโลไม่เกิน 300 กิโล อันนี้เฉพาะเกรด A , AA ในหนึ่งต้นจะมีหลายเกรด สาเหตุที่ดอกไม่ค่อยติดเกิดจากฝน เพราะดอกจะออกช่วงมีนาคม พอมีฝนเข้ามาจึงเกิดปัญหาของดอกลำไยร่วง โรคต่างๆ ก็จะตามมาไม่ว่าจะเป็นเชื้อรา ที่เปลือกจะมีจุดดำๆ มีเรื่องของแมลง ใช้วิธีการพ่นยาทั้งโรคพืชและโรคแมลง 15 วัน ต่อ 1 ครั้ง พื้นที่แถวนี้จะเก็บลำไยกันช่วงปลายสิงหาคมต้นกันยายน เป็นช่วงที่ราคาลำไยดี 1 ปี ส่งออกประมาณ 300 ตัน พูดถึงความแตกต่างของการใช้ปุ๋ยชื่อห้ออื่นกับปุ๋ยยารา แตกต่างกันตรงที่ยี่ห้ออื่นต้องใช้ปุ๋ยเยอะและเขียวช้า พอมาใช้ปุ๋ยยาราผลผลิตดี เห็นผลชัดเจน งานกว่า มีสีอมเหลืองสวย

หากมีผู้ใดสนใจเกี่ยวการปลูกลำไยและวิธีการดูแลให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น คุณศศินกานต์ ราตรี (พี่เอื้อย) บ้านเลขที่ 322 หมู่ 2 บ้านป่าถ่อน ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย เบอร์โทรศัพท์ 093-035-9679 หรือต้องการคำแนะนำสำหรับการใช้ปุ๋ยยาราสามารถติดต่อ คุณภูมิพีรพงค์ พาหิรัญ นักวิชาการเกษตรกรอาวุโส บริษัท ยารา (ประเทศไทย) จำกัด เบอร์โทรศัพท์ 095-525-4238








Advertisement

ติดตามข่าวสด

ข่าวเด่นประจำวัน